เอกสารแนบหมายเลข ๕

28 พฤษภาคม 2549 21:53 น.

       ตัวอย่าง
       การปรับ “ โครงสร้างระบบสถาบันการเมือง” ของไทย
       รธน.ฉบับแรกของไทย : พรบ.ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว
       
พุทธศักราช ๒๔๗๕ (ค.ศ. ๑๙๓๒)
       
                                   
        
       พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว
       พุทธศักราช ๒๔๗๕
                                                      
        
                   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ  สั่งว่า
                   โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม เพื่อบ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น และ
                   โดยที่ได้ทรงยอมรับตามคำร้องของคณะราษฎร
                   จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้น ไว้โดยมาตราต่อไปนี้
        
        
       หมวด ๑
       
ข้อความทั่วไป
        
                   มาตรา ๑ อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย
                   มาตรา ๒ ให้มีบุคคลและคณะบุคคลดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ เป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรตามที่จะได้กล่าวต่อไปในธรรมนูญ คือ
                   ๑. กษัตริย์
                   ๒. สภาผู้แทนราษฎร
                   ๓. คณะกรรมการราษฎร
       
            ๔. ศาล
        
        
        
        
        
        
       หมวด ๒
       
กษัตริย์
        
                   มาตรา ๓ กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ  พระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การอื่น ๆ ซึ่งจะมีบทกฎหมายระบุไว้โดยฉะเพาะก็ดี จะต้องกระทำในนามของกษัตริย์
       
            มาตรา ๔ ผู้เป็นกษัตริย์ของประเทศ คือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  การสืบมฤดกให้ให้เป็นไปตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบ
       ราชสันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ และด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร
                   มาตรา ๕ ถ้ากษัตริย์มีเหตุจำเป็นชั่วคราวที่จะทำหน้าที่ไม่ได้หรือไม่อยู่ในพระนคร  ให้คณะกรรมการราษฎร เป็นผู้ใช้สิทธิแทน
                   มาตรา ๖ กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้  เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย
                   มาตรา ๗ การกระทำใด ๆ ของกษัตริย์ ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึ่งจะใช้ได้  มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
        
        
       หมวด ๓
       
สภาผู้แทนราษฎร
       
ส่วนที่
       
อำนาจและหน้าที่
        
                   มาตรา ๘ สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจออกพระราชบัญญัติทั้งหลาย  พระราชบัญญัตินั้นเมื่อกษัตริย์ได้ประกาศให้ใช้ แล้ว ให้เป็นอันใช้บังคับได้
                   ถ้ากษัตริย์มิได้ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัตินั้นภายในกำหนด ๗ วันนับแต่วันที่ได้รับพระราชบัญญัตินั้นจากสภา โดยแสดงเหตุผลที่ไม่ยอมทรงลงพระนาม  ก็มีอำนาจส่ง พระราชบัญญัตินั้นคืนมายังสภาเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง  ถ้าสภาลงมติยืนตามมติเดิม กษัตริย์ไม่เห็นพ้องด้วย สภามีอำนาจออกประกาศพระราชบัญญัตินั้นใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
                   มาตรา สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจดูแลควบคุมกิจการของประเทศ  และมีอำนาจประชุมกันถอดถอนกรรมการราษฎรหรือพนักงานรัฐบาลผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้
        
        
        
        
        
       ส่วนที่ ๒
       
ผู้แทนราษฎร
                   มาตรา ๑๐ สมาชิกในสภาผู้แทนราษฎรจะต้องเป็นไป ตามกาลสมัยดั่งนี้
        
       สมัยที่ ๑
        
                   นับแต่วันใช้ธรรมนูญนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะถึงเวลาที่สมาชิกในสมัยที่ ๒ จะเข้ารับตำแหน่ง  ให้คณะราษฎรซึ่งมีคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจแทน จัดตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้น เป็นจำนวน ๗๐ นายเป็นสมาชิกในสภา
        
       สมัยที่ ๒
        
                   ภายในเวลา ๖ เดือนหรือจนกว่าการจัดประเทศเป็นปกติ เรียบร้อย  สมาชิกในสภาจะต้องมีบุคคล ๒ ประเภททำกิจการ ร่วมกัน คือ
                   ประเภทที่ ๑ ผู้แทนซึ่งราษฎรจะได้เลือกขึ้นจังหวัดละ ๑ นาย  ถ้าจังหวัดใดมีสมาชิกเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน ให้จังหวัดนั้นเลือกผู้แทนเพิ่มขึ้นอีก ๑ นายทุก ๆ ๑๐๐,๐๐๐ นั้น  เศษของ ๑๐๐,๐๐๐ ถ้าเกินกว่าครึ่งให้นับเพิ่มขึ้นอีก ๑
                   ประเภทที่ ๒ ผู้เป็นสมาชิกอยู่แล้วในสมัยที่ ๑  มีจำนวนเท่ากับสมาชิกประเภทที่ ๑  ถ้าจำนวนเกินให้เลือกกันเองว่า ผู้ใดจะคงเป็นสมาชิกต่อไป  ถ้าจำนวนขาดให้ผู้ที่มีตัวอยู่ เลือกบุคคลใด ๆ เข้าแทนจนครบ
        
        
       สมัยที่ ๓
        
                   เมื่อจำนวนราษฎรทั่วพระราชอาณาเขตต์ได้สอบไล่วิชชาปถมศึกษาได้เป็นจำนวนเกินกว่าครึ่ง และอย่างช้าต้องไม่ เกิน ๑๐ ปี นับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้  สมาชิกในสภาผู้แทน ราษฎรจะต้องเป็นผู้ที่ราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นเองทั้งสิ้น  สมาชิกประเภทที่ ๒ เป็นอันไม่มีอีกต่อไป
                   มาตรา ๑๑ คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้แทน ประเภทที่ ๑  (ของสมัยที่
       ๒) คือ
                   ๑. สอบไล่วิชชาการเมืองได้ตามหลักสูตร์ซึ่งสภาจะได้ ตั้งขึ้นไว้
                   ๒. มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์
                   ๓. ไม่เป็นผู้ไร้หรือเสมือนไร้ความสามารถ
                   ๔. ไม่ถูกศาลพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิในการรับเลือก
                   ๕. ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย
                   ๖. ฉะเพาะผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้แทนประเภทที่ ๑ ในสมัยที่ ๒  จะต้องได้รับความเห็นชอบของสมาชิกในสมัยที่ ๑ เสียก่อนว่าเป็นผู้ที่ไม่ควรสงสัยว่าจะนำมาซึ่งความไม่เรียบร้อย
                   มาตรา ๑๒ การเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่ ๑ ที่ ๒ ให้ทำ ดั่งนี้
                   ๑. ราษฎรในหมู่บ้าน เลือกผู้แทนเพื่อออกเสียงตั้งผู้แทนตำบล
                   ๒. ผู้แทนหมู่บ้าน เลือกผู้แทนตำบล
                   ๓. ผู้แทนตำบล เป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎร
                   การเลือกตั้งสมาชิกในสมัยที่ ๓ จะมีกฎหมายบัญญัติภายหลัง โดยจะดำเนินวิธีการที่ให้สมาชิกได้เลือกตั้งผู้แทนในสภา โดยตรง
                   มาตรา ๑๓ ผู้แทนประเภทที่ ๑ จะอยู่ในตำแหน่งได้คราว ละ ๔ ปีนับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง  แต่เมื่อถึงสมัยที่ ๓ แล้ว แม้ผู้แทนในสมัยที่ ๒ จะได้อยู่ในตำแหน่งไม่ถึง ๔ ปีก็ดี
       ต้องออกจากตำแหน่งนับแต่วันที่ผู้แทนในสมัยที่ ๓ ได้เข้ารับ ตำแหน่ง
                   ถ้าตำแหน่งผู้แทนว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามเวร  ให้สมาชิกเลือกผู้อื่นตั้งขึ้นใหม่ให้เต็มที่ว่าง  แต่ผู้แทนใหม่มีเวลาอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่ผู้ออกไปนั้น
       ชอบที่จะอยู่ได้
       --------------------ฯลฯ--------------------
       
       ส่วนที่ ๓
       
ระเบียบการประชุม
        
        
       --------------------ฯลฯ--------------------
        
       หมวดที่ ๔
       
คณะกรรมการราษฎร
       
ส่วนที่
       
อำนาจและหน้าที่
        
                   มาตรา ๒๘ คณะกรรมการราษฎร มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุที่ประสงค์ของสภา
                   มาตรา ๒๙ ถ้ามีการฉุกเฉินเกิดขึ้นซึ่งคณะกรรมการจะเรียกประชุมสภาราษฎรให้ทันท่วงทีมิได้ และคณะกรรมการราษฎรเห็นสมควรจะต้องออกกฎหมาย เพื่อให้เหมาะแก่การฉุกเฉินนั้น ๆ  ก็ทำได้ แต่จะต้องรีบนำกฎหมายนั้นขึ้นให้สภารับรอง
        
                   มาตรา ๓๐ คณะกรรมการราษฎรมีอำนาจให้อภัยโทษ แต่ให้นำความขึ้นขอพระบรมราชานุญาตเสียก่อน
                   มาตรา ๓๑ ให้เสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ เป็นผู้รับผิดชอบต่อคณะกรรมการราษฎรในกิจการทั้งปวง
                   สิ่งใดซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งหรือระเบียบการของคณะกรรมการราษฎร หรือกระทำไปโดยธรรมนูญไม่อนุญาตให้ทำได้  ให้ถือว่าการนั้นเป็นโมฆะ
        
        
       ส่วนที่ ๒
       
กรรมการราษฎรและเจ้าหน้าที่ประจำ
        
                   มาตรา ๓๒ คณะกรรมการราษฎรประกอบด้วยประธานคณะกรรมการราษฎร ๑ นาย และกรรมการราษฎร ๑๔ นาย รวมเป็น ๑๕ นาย
                   มาตรา ๓๓ ให้สภาเลือกตั้งสมาชิกในสภาผู้ ๑ ขึ้นเป็น ประธานกรรมการ  และให้ผู้เป็นประธานนั้นเลือกสมาชิกในสภาอีก ๑๔ นายเพื่อเป็นกรรมการ  การเลือกนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบของสภาแล้ว ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับเลือกนั้น ๆ เป็นกรรมการของสภา  ในเมื่อสภาเห็นว่ากรรมการมิได้ดำเนินกิจการตามรัฐประศาสโนบายของสภา สภามีอำนาจเชิญกรรมการให้ออกจากหน้าที่ แล้วเลือกตั้งใหม่ตามที่กล่าวในตอนนั้น
       --------------------ฯลฯ--------------------
                   มาตรา ๓๕ การตั้งการถอดตำแหน่งเสนาบดี ย่อมเป็นพระราชอำนาจของกษัตริย์  
       พระราชอำนาจจะทรงใช้แต่โดยตามคำแนะนำของคณะกรรมการราษฎร
                   มาตรา ๓๖ การเจรจาการเมืองกับต่างประเทศ เป็นหน้าที่ของกรรมการผู้แทนราษฎร และกรรมการอาจตั้งผู้แทนเพื่อการนี้ได้
                   การเจรจาได้ดำเนินไปประการใด  ให้กรรมการรายงานกราบบังคมทูลกษัตริย์ทรงทราบ
                   การให้สัตยาบันสัญญาทางพระราชไมตรี เป็นพระราชอำนาจของกษัตริย์ แต่จะทรงใช้
       พระราชอำนาจนี้ตามคำแนะนำของกรรมการราษฎร
                   มาตรา ๓๗ การประกาศสงคราม เป็นพระราชอำนาจของกษัตริย์ แต่จะทรงใช้
       พระราชอำนาจนี้ตามคำแนะนำของกรรมการราษฎร
       ส่วนที่ ๓
       
ระเบียบการประชุม
        
                   มาตรา ๓๘ ระเบียบการประชุมของคณะกรรมการราษฎร  ให้อนุโลมตามที่บัญญัติในหมวดที่ ๓
        
        
       หมวดที่ ๕
       
ศาล
        
                   มาตรา ๓๙ การระงับข้อพิพาท  ให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลานี้
        
       
                   ประกาศมา ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕  และให้ใช้บังคับได้แต่บัดนี้เป็นต้นไป
       (พระบรมนามาภิธัย) ประชาธิปก ป.ร.
       เล่ม 49 หน้า 166 วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475


พิมพ์จาก http://www.public-law.net/view.aspx?ID=929
เวลา 20 พฤษภาคม 2567 23:40 น.
Pub Law Net (http://www.pub-law.net)