หน้าแรก บทความสาระ
กิจการตำรวจของรัฐ New South Wales ประเทศออสเตรเลีย โดย นายปกรณ์ นิลประพันธ์
นายปกรณ์ นิลประพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
11 ธันวาคม 2549 02:16 น.
 
๑. ความเป็นมาและขอบเขตการศึกษา
       
       [๑] โดยที่ปัจจุบันมีข้อเสนอให้ปฏิรูปกิจการตำรวจไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจการตำรวจไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ โดยข้อเสนอที่สำคัญได้แก่ การแยกตำรวจให้ไปขึ้นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้เขียนจึงได้ตรวจสอบกฎหมายเกี่ยวกับกิจการตำรวจ (Police Service) ของเครือรัฐออสเตรเลีย ทั้งในระดับเครือรัฐ (Commonwealth Level) และระดับรัฐ (State Level) ในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งโครงสร้างองค์กร การบริหารจัดการ ชั้นยศ อำนาจในการจับกุมคุมขังและสถานที่คุมขัง(รวมถึงผู้รับผิดชอบกิจการเรือนจำ) และการปรับ ณ สถานที่กระทำความผิด โดยเน้นการศึกษากฎหมายระดับรัฐ โดยใช้รัฐ New South Wales เป็นกรณีศึกษา
       
       [๒] โครงสร้างของบทความนี้แบ่งออกเป็น ๖ ส่วน ดังนี้
       ส่วนที่หนึ่ง ว่าด้วยความเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองของเครือรัฐออสเตรเลีย เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอันเป็นพื้นฐานสำคัญต่อ การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง “เครือรัฐ-รัฐ-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” และกิจการระดับ “เครือรัฐ-รัฐ-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ในส่วนต่อ ๆ ไป
       ส่วนที่สอง ว่าด้วยข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับกิจการตำรวจ (Police Service) ตามกฎหมายออสเตรเลีย
       ส่วนที่สาม ว่าด้วยอำนาจในการดำเนินกิจการตำรวจของรัฐ New South Wales
       ส่วนที่สี่ ว่าด้วยโครงสร้างและการบริหารจัดการ NSW Police
       ส่วนที่ห้า ว่าด้วยอำนาจของ NSW Police ในการจับกุมคุมขังและสถานที่คุมขัง
       ส่วนที่หก ว่าด้วยอำนาจของ NSW Police ในการปรับ
       
       ๒. ความเบื้องต้น
       
       [๓] เครือรัฐออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia) เป็นประเทศในเครือ จักรภพอังกฤษ ประกอบด้วย ๖ รัฐ คือ New South Wales, Victoria, Queensland, South Australia, Western Australia และ Tasmania กับอีก ๓ เขตการปกครองตนเองที่อยู่บนเกาะออสเตรเลีย คือ Northern Australia, The Australian Capital Territory และ The Jervis Bay Territory รวมทั้ง ๗ เขตปกครองตนเองที่มิได้อยู่บนเกาะออสเตรเลีย คือ Norfolk Island, The Coral Sea Islands, The Cocos Islands, Christmas Island, Ashmore and Cartier Islands, Heard and the McDonald Islands และ Australian Antarctic Territory
       
       [๔] แม้เครือรัฐออสเตรเลียเป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษและใช้ระบบกฎหมายแบบจารีตประเพณี (Common Law Jurisdiction) แบบเดียวกับอังกฤษ แต่มิได้นำรูปแบบ การปกครองแบบอังกฤษมาใช้เต็มอย่างรูปแบบ โดยเครือรัฐออสเตรเลียนำรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขแบบอังกฤษมาผสมผสานกับรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐของสหรัฐอเมริกา โดยตามมาตรา ๒ และมาตรา ๑๑๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย1 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๑๙๐๑ นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของอังกฤษ (ซึ่งปัจจุบันได้แก่สมเด็จพระราชินีอลิซาเบ็ธที่ ๒) ทรงดำรง พระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย และทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการผ่านองค์กรของรัฐใน ๒ ระดับ คือ ระดับเครือรัฐ (Commonwealth Level) และระดับรัฐ (State Level) โดยองค์กรในระดับเครือรัฐจะใช้อำนาจดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับเครือรัฐ ส่วนองค์กรในระดับรัฐจะใช้อำนาจดังกล่าวภายในรัฐของตน
       
       [๕] ในส่วนของการใช้อำนาจนิติบัญญัตินั้น หากเป็นในระดับเครือรัฐ รัฐสภาแห่งเครือรัฐ (Commonwealth Parliament) ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนแต่ละรัฐและเขตปกครองตนเองจะทำหน้าที่ตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับแก่ ทุกรัฐและเขตปกครองตนเองเฉพาะเรื่องที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งเครือรัฐ อันได้แก่เรื่องที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างเครือรัฐกับต่างประเทศและการค้าระหว่างรัฐ การภาษีอากร การผลิตและการส่งออกสินค้า การกู้ยืมเงินของเครือรัฐ การไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์และการให้บริการอื่นในลักษณะเดียวกัน การทหาร การป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นทางทะเล การสำรวจอวกาศและธรณี การป้องกันโรคระบาด การประมง การสำรวจและจัดทำสถิติ การเงิน การธนาคาร การประกันภัย การกำหนดมาตราชั่งตวงวัด ตราสารหนี้ การพิทักษ์ทรัพย์และการล้มละลาย ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร การออกแบบและเครื่องหมายการค้า สัญชาติ การประกอบธุรกิจของบริษัท การสมรส การหย่าและการอนุบาล บำเหน็จบำนาญผู้สูงอายุ เงินช่วยเหลือหญิงมีบุตร หญิงหม้าย เด็ก คนว่างงาน ค่ายารักษาโรค ค่ารักษาพยาบาลและทันตกรรม เงินช่วยเหลือนักเรียนและครอบครัว การให้บริการด้านศาล การออกกฎหมายพิเศษเพื่อใช้บังคับแก่คนเชื้อชาติอื่น การเข้าเมือง การดำเนินคดีอาญา การต่างประเทศ การเวนคืน การรถไฟ การระงับข้อพิพาทโดยการไกล่เกลี่ยและอนุญาโตตุลาการ กิจการต่างประเทศ การป้องกันประเทศ ทั้งนี้ กฎหมาย ที่รัฐสภาแห่งเครือรัฐตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๕๑ ของ รัฐธรรมนูญนั้นเป็นกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติแห่งเครือรัฐ (Commonwealth Act) ซึ่งมีสถานะสูงกว่ากฎหมายภายในของแต่ละรัฐและมีผลใช้บังคับกับประชาชนทุกคนในทุกรัฐ รัฐใดจะออกกฎหมายที่มีข้อความขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติแห่งเครือรัฐมิได้ 2
       

       [๖] ส่วนในระดับรัฐนั้น แต่ละรัฐก็จะมีรัฐธรรมนูญ (State Constitution) เป็นของตนเองและมีรัฐสภา (State Parliament) เป็นของตนเอง 3 เพื่อทำหน้าที่ตรากฎหมายที่รัฐธรรมนูญมิได้กำหนดให้เป็นอำนาจของรัฐสภาแห่งเครือรัฐขึ้นใช้บังคับภายในอาณาเขตของ รัฐนั้น (State Act) 4 ซึ่งได้แก่เรื่องเกี่ยวกับการศึกษา การคมนาคมขนส่ง การสาธารณสุข การเกษตร เป็นต้น ดังนั้น แต่ละรัฐจึงมีหลักเกณฑ์ วิธีการและแนวปฏิบัติในการตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับแตกต่างกัน นอกจากนี้ บทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องที่อยู่ภายในของอำนาจของแต่ละรัฐก็มีเนื้อหาสาระที่แตกต่างกันไปด้วยตามสภาพสังคมของแต่ละรัฐ
       
       ๓. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับกิจการตำรวจ (Police Service) ตามกฎหมายออสเตรเลีย
       

       [๗] กิจการตำรวจ (Police Service) ของออสเตรเลียแบ่งออกเป็น ๒ ระดับ คือ กิจการตำรวจของเครือรัฐ (Australian Federal Police: AFP) กับกิจการตำรวจของแต่ละรัฐ (State Police) โดยตำรวจของเครือรัฐตั้งขึ้นตาม Australian Federal Police Act ๑๙๗๙ (Cth) และมาตรา ๘ 5 ของกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ AFP มีหน้าที่รับผิดชอบในการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายในเขต Australian Capital Territory อันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของออสเตรเลีย (กรุงแคนเบอร์ร่า) และเขต Jervis Bay Territory รับผิดชอบบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายระดับเครือรัฐ (laws of the Commonwealth) การกระทำความผิดที่เกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
        ทรัพย์สินของเครือรัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ของเครือรัฐ
        การคุ้มครองผลประโยชน์ของเครือรัฐ
        การสืบสวนสอบสวนการกระทำความผิดตามกฎหมายของรัฐที่มีผลในระดับเครือรัฐ (State offences that have a federal aspect) 6
       
 หน้าที่ตามกฎหมาย Witness Protection Act ๑๙๑๔ (Cth) และ Proceeds of Crime Act ๒๐๐๒
        หน้าที่ป้องกันและคุมขังบุคคล เรื่องหรือสิ่งของ เกี่ยวกับการใช้อำนาจนิติบัญญัติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
       นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ช่วยเหลือหรือประสานงานกับองค์กรบังคับใช้กฎหมายอื่นของออสเตรเลียและของต่างประเทศ หน่วยงานสืบราชการลับหรือความมั่นคงของออสเตรเลียและของต่างประเทศ องค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลของรัฐบาลออสเตรเลียและของต่างประเทศด้วย
       
       [๘] กล่าวโดยสรุป เขตอำนาจของ AFP นั้นค่อนข้างจำกัด โดยนอกจากกิจการที่เกี่ยวกับตำรวจสากลแล้ว AFP มีเขตอำนาจเต็มเฉพาะในเขต Australian Capital Territory (ACT) และเขต Jervis Bay Territory เท่านั้น ส่วนพื้นที่อื่นของประเทศนั้นเขตอำนาจของ AFP จำกัดเฉพาะเรื่องที่เป็นความผิดที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวางในระดับเครือรัฐหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจนิติบัญญัติหรือทรัพย์สินของเครือรัฐเท่านั้น
       
       [๙] สำหรับกิจการตำรวจของแต่ละรัฐ จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของแต่ละรัฐ เช่น กรณีรัฐ New South Wales นั้น การตำรวจ New South Wales (NSW Police) จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Police Regulation Act ๑๘๖๒ (๒๔๐๕) และมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อปรับปรุงอำนาจหน้าที่ต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยกฎหมายจัดตั้ง NSW Police ฉบับปัจจุบันได้แก่ Police Act ๑๙๙๐ (NSW) กรณีรัฐ Victoria การตำรวจ Victoria (Victoria Police) จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Police Regulation Act ๑๘๕๓ (๒๓๙๖) ส่วนกฎหมายจัดตั้ง Victoria Police ฉบับปัจจุบันได้แก่ Police Regulation Act ๑๙๕๘ (Vic) เป็นต้น ทั้งนี้ เขตอำนาจของกิจการตำรวจของแต่ละรัฐนั้นจำกัดอยู่เฉพาะภายในรัฐของตนตามบทบัญญัติของกฎหมายของแต่ละรัฐ
       
       ๔. อำนาจในการดำเนินกิจการตำรวจของรัฐ New South Wales
       
       [๑๐] รัฐ New South Wales มีพื้นที่ประมาณ ๘๐๑,๖๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณ ๒๘๗,๖๐๐ ตารางกิโลเมตร (ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ ๕๑๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร) 7 โดยรัฐธรรมนูญของรัฐ New South Wales (Constitution Act ๑๙๐๒ (NSW)) ได้แบ่งการปกครองออกเป็น ๒ ระดับ คือ การปกครองระดับรัฐ (State Administration) กับการปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Administration) โดยมาตรา ๕๑ 8 ของรัฐธรรมนูญของรัฐ New South Wales ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ตั้งมาแต่เดิมยังคงมีอยู่ต่อไปและให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่ที่กฎหมายกำหนด โดยกฎหมาย Local Government Act ๑๙๙๓ (NSW) กำหนดให้มี อปท.เพียงรูปแบบเดียว เรียกว่า Council 9 โดยหน้าที่ของ อปท.บ่งออกได้เป็น ๔ ประเภท คือ
        หน้าที่ที่ไม่เกี่ยวกับการใช้อำนาจตามกฎหมาย (Non-regulatory function) ในหมวด ๖ อันได้แก่หน้าที่ในการจัดทำสาธารณูปโภคและบรรดาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนในเขต อปท.นั้น รวมทั้งหน้าที่ดูแลรักษาที่สาธารณะ (Public land)
        หน้าที่ที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจตามกฎหมาย (Regulatory function) ในหมวด ๗ อันได้แก่ อำนาจในการอนุญาตให้ก่อสร้าง ดัดแปลงต่อเติมอาคาร ประปา ท่อน้ำทิ้ง ท่อระบายน้ำ การกำจัดขยะ การใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะ การกีดขวางการใช้ถนนสาธารณะ การให้บริการที่จอดรถสาธารณะ การดำเนินกิจการที่พักชั่วคราวประเภท Caravan Park หรือ Camping Ground การติดตั้งอุปกรณ์เกี่ยวกับการขุดเจาะหรือกลั่นน้ำมันที่ต้องติดตั้งกับพื้นดินโดยเคลื่อนย้ายไม่ได้ การติดตั้งหรือให้บริการเครื่องเล่น (Amusement devices) การจอดรถหรือแผงค้าในสถานที่สาธารณะเพื่อทำการค้า และการอื่นที่กำหนดใน Regulation ที่จะตราขึ้น
        หน้าที่เพื่อเสริมการปฏิบัติหน้าที่อื่น (Ancillary function) ในหมวด ๘ อันได้แก่ หน้าที่ในการจัดหาที่ดิน อำนาจที่จะเข้าไปในที่ดินหรือเคหะสถานของบุคคลใดเพื่อตรวจค้น อำนาจในการยึด หน้าที่ในการจ่ายค่าทดแทนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
        หน้าที่พิเศษอื่น อันได้แก่ หน้าที่เก็บภาษีอากร (Revenues function) ในหมวด ๑๕ หน้าที่ทางบริหาร (Administrative function) ในหมวด ๑๑ (การบรรจุและแต่งตั้งพนักงาน) หมวด ๑๒ (วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และการร่วมทุนกับบุคคลอื่น) และหมวด ๑๓ (การจัดทำและเปิดเผยแผนการบริหารจัดการ แผนการเงิน รายงานประจำปี และการตรวจสอบ) และหน้าที่บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายนี้ ในหมวด ๑๖ และหมวด ๑๗
       
       [๑๑] ปัจจุบัน รัฐบาล New South Wales แบ่งพื้นที่ ๘๐๑,๖๐๐ ตารางกิโลเมตร ของรัฐเพื่อประโยชน์ในการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น ๑๔ เขต (regions) และมี อปท. (Council) จำนวน ๑๕๒ แห่ง 10 โดยแต่ละ อปท.จะมีพื้นที่ครอบคลุมหลายตำบล (Suburb) เช่น Council of the City of Sydney ครอบคลุม ๔๘ ตำบล เป็นต้น
       
       [๑๒] เมื่อพิจารณา Local Government Act ๑๙๙๓ (NSW) ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า อปท.ของรัฐ New South Wales ไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการตำรวจ และเมื่อพิจารณามาตรา ๖ 11 แห่ง Police Act ๑๙๙๐ (NSW) อันเป็นกฎหมายจัดตั้ง NSW Police นั้น จะพบว่ากฎหมายนี้กำหนดให้ NSW Police มีหน้าที่สำคัญ ๓ ประการ คือ
       (๑) ให้บริการ Police Service ภายในรัฐ New South Wales (โดยมาตรา ๖ (๓) 12 นิยาม Police Service ว่าหมายถึง การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ปกป้องคุ้มครองมิให้ประชาชนเสียชีวิตหรือได้รับความเสียหายจากการก่ออาชญากรรมหรือการอื่น การดำเนินการที่จำเป็นในสถานการณ์ฉุกเฉิน (emergencies) และการอื่นที่กำหนดใน regulations)
       (๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ NSW Police และ
       (๓) ปฏิบัติงานอื่นที่จำเป็นต่อหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของ NSW Police
       
       [๑๓] สรุปได้ว่ากิจการตำรวจในรัฐ New South Wales จึงเป็น “กิจการในระดับรัฐ” ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดคลาสสิคของ อดัม สมิธ (Adam Smith) เกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐ (Functions of the State) อันเป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบันซึ่งถือว่าหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรม (Administration of Justice) เป็นหน้าที่ของรัฐโดยแท้และรัฐจะต้องดำเนินการเอง 13 และกิจการตำรวจของ NSW Police นี้อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐมนตรีของรัฐ NSW ผู้รับผิดชอบกิจการตำรวจ (Minister of the State Governor responsible for the policing portfolio or Minister for Police) 14
       

       ๕. โครงสร้างและการบริหารจัดการ NSW Police
       
       [๑๔] ตามมาตรา ๘ 15 ของ Police Act ๑๙๙๐ (NSW) NSW Police มี Commissioner 16 เป็นผู้รับผิดชอบบริหารจัดการ ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีของรัฐ NSW ผู้รับผิดชอบกิจการตำรวจ โดยผู้สำเร็จราชการ (Governor) เป็นผู้แต่งตั้ง Commissioner ตามคำแนะนำของรัฐมนตรีของรัฐ NSW ผู้รับผิดชอบกิจการตำรวจ ทั้งนี้ ผู้ได้รับแต่งตั้งไม่จำเป็นต้องเป็นตำรวจ มาก่อน 17 มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละไม่เกิน ๕ ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ 18 และ Commissioner ผู้ได้รับแต่งตั้งต้องทำสัญญาจ้าง 19 กับรัฐมนตรีของรัฐ NSW ผู้รับผิดชอบกิจการตำรวจ 20
       

       [๑๕] นอกจากการแต่งตั้งและทำสัญญาจ้างกับ Commissioner ดังกล่าวข้างต้นแล้ว การแต่งตั้งและทำสัญญาจ้างตำรวจในตำแหน่งอื่น ปรากฏดังนี้
       
       ตำแหน่ง : ตำรวจระดับสูง (Executive Officers) ซึ่งได้แก่ตำแหน่งดังต่อไปนี้
       -Deputy Commissioner (3 positions)
       -Executive Director, Human Resource Services
       -Region Commander--Assistant Commissioner (5 positions)
       -Executive Director, Corporate Services
       -General Manager, Infrastructure and Processing Services
       -Commander, Communications Group
       -Commander, Education Services
       -General Manager, Financial Services
       -Chief Information Officer and General Manager, Business Technology Services
       -Director, State Crime Command--Assistant Commissioner
       -Commander, Special Crime and Internal Affairs
       -Director, Legal Services
       -Director, Public Affairs
       -Director, Forensic Services Group
       -Commander, Special Services Group
       -Assistant Commissioner, Operational Support
       -Assistant Commissioner, Counter Terrorism
       -Director, Executive Support Group
       -Commander, Special Investigations
       -Director, Special Projects
       -Transitional Manager, Infringement Processing Bureau
       -Assistant Commissioner, Communications
       -Assistant Commissioner, Professional Standards
       -Chief of Staff, Commissioner's Office
       ผู้แต่งตั้ง :
       ๑.ผู้สำเร็จราชการตามคำแนะนำของ Commissioner ในกรณี Deputy Commissioner และ Assistant Commissioner
       ๒. Commissioner ในกรณีอื่นนอกจากกรณีตาม ๑ Commissioner ไม่เกิน ๕ ปี
       
       ตำแหน่ง : ตำรวจอื่น (Non-Executive Officers)
       ผู้แต่งตั้ง : Commissioner
       ผู้ทำสัญญาจ้างในนามNSW Police : Commissioner
       วาระการดำรงตำแหน่ง : ๕ ปี
       
       [๑๖] สำหรับโครงสร้างองค์กรของ NSW Police แยกออกเป็น ๔ สายงานหลัก ดังนี้
       ฝ่ายปฏิบัติการสนาม (Field Operation) อยู่ในความรับผิดชอบของ Deputy Commissioner (Field Operation) ซึ่งแบ่งพื้นที่รับผิดชอบออกเป็น ๖ 21 เขต (regions) คือ North West Metropolitan Region, South West Metropolitan Region, Central Metropolitan Region, Southern Region, Northern Region และ Western Region โดย แต่ละเขตอยู่ในความรับผิดชอบของ Assistant Commissioner คนหนึ่ง นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบอีก ๔ หน่วย คือ State Crime Command, Traffic Service Unit, APEC Police Security Command และ Special Project Unit
       ฝ่ายปฏิบัติการพิเศษ (Specialist Operation) อยู่ในความรับผิดชอบของ Deputy Commissioner (Specialist Operation) ประกอบด้วย ๖ หน่วยงาน คือ Operational Communications & Information Group, Professional Standards Unit, Forensic Services Group, Special Services Group, Public Affaires Unit และ Counter Terrorism & Public Order Management Unit
       
       ฝ่ายบริหาร (Corporate Service) อยู่ในความรับผิดชอบของ Executive Director ประกอบด้วย ๗ หน่วยงาน คือ Investment & Commercial Services, Safety Unit, Business & Technology Services Unit, Human Resources Unit, Education Services Unit, Finance Unit และ Legal Service
       ฝ่ายตรวจสอบ (Inspectorate) อยู่ในความรับผิดชอบของ Assistant Commissioner (Commissioner’s Inspectorate) ประกอบด้วย ๒ หน่วยงาน คือ Executive Support Group และ Organizational Review & Support Team
       แผนภูมิแสดงโครงสร้างองค์กรของ NSW Police ปรากฏตามเอกสารแนบ
       
       [๑๗] ชั้นยศของ NSW Police มี ๖ ชั้นยศ ดังนี้ 22
       (๑) Commissioner
       (๒) Member of NSW Police Senior Executive Service ซึ่งแยกย่อยเป็นยศ Deputy Commissioner, Senior Assistant Commissioner และ Assistant Commissioner (เรียงจากยศสูงลงมายศต่ำ)
       (๓) Superintendent ซึ่งแยกย่อยเป็นยศ Chief Superintendent และ Superintendent (เรียงจากยศสูงลงมายศต่ำ)
       (๔) Inspector ซึ่งแยกย่อยเป็นยศ Chief Inspector และ Inspector (เรียงจากยศสูงลงมายศต่ำ)
       (๕) Sergeant ซึ่งแยกย่อยเป็นยศ Chaplain, Senior Sergeant, Incremental Sergeant ๗th Year และ Sergeant (เรียงจากยศสูงลงมายศต่ำ)
       (๖) Constable ซึ่งแยกย่อยเป็นยศ Leading Senior Constable, Incremental Senior Constable, Senior Constable และ Constable (เรียงจากยศสูงลงมายศต่ำ)
       
       ๖. อำนาจของ NSW Police ในการจับกุมคุมขังและสถานที่คุมขัง
       
       [๑๘] หลัก Common Law (ซึ่งเกิดขึ้นโดยผลของ Petition of Right ๑๖๒๗) ถือว่าบุคคลจะถูกจับกุมหรือลงโทษโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ 23 หลักนี้จึงมีอิทธิพลต่อระบบกฎหมายของออสเตรเลียด้วย โดยกรณีรัฐ New South Wales นั้น มาตรา ๓๕๒ 24 ของ Crime Act ๑๙๐๐ (NSW) บัญญัติให้ตำรวจซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มีอำนาจจับกุม (apprehend) ผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิด ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับหลัก Common Law ที่ว่าตำรวจจะจับกุมบุคคลเพียงเพื่อสอบปากคำ (questioning) ไม่ได้ การจับกุมของตำรวจจึงต้องมีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอที่จะนำตัวผู้ถูกจับกุมไปยังศาลเพื่อดำเนินคดีต่อไปเท่านั้น 25 ส่วนการจับกุมก็มีทั้งการจับกุมโดยต้องมีหมาย (with warrant) และไม่ต้องมีหมาย (without warrant)
       
       [๑๙] อย่างไรก็ดี ในปี ๒๐๐๒ รัฐ New South Wales ได้ปฏิรูปกฎหมายที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตำรวจและพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายเสียใหม่ โดยตรา Law Enforcement (Powers and Responsibilities) Act ๒๐๐๒ (NSW) เรียกโดยย่อว่า “LEPRA” ขึ้นใช้บังคับ โดยบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจจับกุมของตำรวจอยู่ในส่วนที่ ๘ ของกฎหมายดังกล่าว (Part ๘: Powers relating to arrest) ขณะที่บทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจคุมขังของเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในส่วนที่ ๑๐ (Part ๑๐: Other powers relating to person in custody)
       
       [๒๐] กรณีอำนาจจับกุมนั้น มาตรา ๙๙ 26 ของ LEPRA บัญญัติให้ตำรวจมีอำนาจจับกุมบุคคลโดยไม่ต้องมีหมาย (without warrant) หากบุคคลนั้นกำลังกระทำความผิดตามกฎหมายใด ๆ หรือเพิ่งจะกระทำความผิดเช่นนั้น หรือได้กระทำความผิดร้ายแรง (serious indictable offence) หรือมีเหตุอันเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิดตามกฎหมายใด ๆ หรือมีเหตุอันเชื่อได้ว่ามีความจำเป็นต้องจับบุคคลนั้นเพื่อนำไปส่งศาล หรือเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นกระทำความผิดซ้ำอีก หรือเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นปกปิด ทำลายหลักฐานเกี่ยวกับความผิดนั้น หรือเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นไปข่มขู่พยาน เพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นไปแต่งพยานหลักฐาน หรือเพื่อความปลอดภัยของบุคคลนั้นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเหตุผลที่สนับสนุนการจับโดยไม่มีหมายนี้สอดคล้องกับหลัก Common Law ที่กล่าวใน [๑๘] ว่าการจับกุมของตำรวจจึงต้องมีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอที่จะนำตัวผู้ถูกจับกุมไปยังศาลเพื่อดำเนินคดีต่อไปเท่านั้น สำหรับการจับกุมนอกจากกรณีข้างต้น ต้องเป็นการจับโดยมีหมาย (with warrant)
       
       [๒๑] ใน Code of Practice for Custody, Rights, Investigation, Management and Evidence (CRIME) ของ NSW Police 27 กำหนดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องแสดงหรือแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้ต่อผู้ถูกจับกุมก่อนการจับกุมทุกครั้ง (๑) บัตรประจำตัว (กรณีนอกเครื่องแบบ) (๒) ชื่อนามสกุลและสังกัด (๓) เหตุผลในการจับกุม (๔) คำเตือนว่าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ตำรวจระหว่างการจับกุมอาจเป็นความผิด
       
       [๒๒] เมื่อได้ตัวผู้ต้องหามาแล้ว มาตรา ๑๑๔ ของ LEPRA ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมตัว (detention) ผู้ต้องหาเพื่อการสอบสวนได้ แต่ต้องไม่เกิน ๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม 28 หากไม่สามารถสอบสวนให้แล้วเสร็จได้ภายใน ๔ ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถร้องขอต่อ Authorised officer 29 เพื่อขยายเวลาควบคุมตัวเพื่อการสอบสวน แต่ Authorised officer มีอำนาจออกหมายขยายเวลาดังกล่าว (warrant to extend the maximum investigation period) ได้เพียงครั้งเดียวและไม่เกิน ๘ ชั่วโมง และการออกหมายขยายเวลาดังกล่าวต้องไม่เข้าลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๑๘ (๕) 30 ถ้าเกินกว่านี้ต้องขอหมายขัง (detention warrant) และฝากขังต่อศาลตามมาตรา ๑๑๙ 31 สำหรับสถานที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาเพื่อการสอบสวนนั้นได้แก่สถานีตำรวจหรือสถานที่คุมขังอื่น 32
       
[๒๓] สำหรับเรือนจำของรัฐ New South Wales นั้น อยู่ในความรับผิดชอบของ Department of Corrective Services ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกระทรวงของรัฐบาล New South Wales และเมื่อพิจารณาอำนาจหน้าที่ของ อปท.ตาม Local Government Act ๑๙๙๓ (NSW) ดังกล่าวใน [๑๐] ข้างต้นประกอบ จะพบว่า อปท.ไม่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบกิจการเรือนจำ อนึ่ง มีเรือนจำบางแห่งใน New South Wales ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ Department of Corrective Services ร่วมดำเนินกิจการกับเอกชน เช่น Junee Correctional Centre ที่ Department of Corrective Services ร่วมดำเนินกิจการกับ GEO Group Australia Pty. Ltd.
       
       ๗. อำนาจของ NSW Police ในการปรับ
       
       [๒๔] กิจกรรมเกี่ยวกับการปรับ (fine) ตามกฎหมายของรัฐ New South Wales ไม่ว่าจะเป็นการเรียกค่าปรับ การชำระค่าปรับ และการบังคับชำระค่าปรับ อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย Fines Act ๑๙๙๖ (NSW) ซึ่งแบ่งการปรับออกเป็น ๒ ประเภท คือ การปรับโดยศาล (fines imposed by courts) กับการปรับโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง (penalty notices) 33 ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะแต่การปรับโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเท่านั้น
       
       [๒๕] ตาม Schedule ๑ ของ Fines Act ๑๙๙๖ (NSW) ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าการกระทำความผิดตามกฎหมายใดบ้างที่สามารถดำเนินการปรับโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองได้ ซึ่งได้แก่ความผิดตามกฎหมายดังต่อไปนี้
       
       กฎหมาย/ มาตรา
       
Apiaries Act 1985 / section 42A
       Business Names Act 2002 / section 32
       Casino Control Act 1992 / section 168A
       Centennial Park and Moore Park Trust Act 1983 / section 24
       Classification (Publications, Films and Computer Games) Enforcement Act 1995 / section 61A
       Commercial Agents and Private Inquiry Agents Act 2004 / section 28
       Companion Animals Act 1998 / section 92
       Court Security Act 2005 / section 29
       Crimes (Administration of Sentences) Act 1999 / section 97
       Criminal Procedure Act 1986 / section 333
       Crown Lands Act 1989 / section 162
       Electricity (Consumer Safety) Act 2004 / section 47
       Electricity Supply Act 1995 / section 103A
       Energy and Utilities Administration Act 1987 / section 46A
       Environmental Planning and Assessment Act 1979 / section 127A
       Exhibited Animals Protection Act 1986 / section 46A
       Explosives Act 2003 / section 34
       Fair Trading Act 1987 / section 64
       Fisheries Management Act 1994 / section 276
       Fitness Services (Pre-paid Fees) Act 2000 / section 16
       Food Act 2003 / section 120
       Forestry Act 1916 / section 46A
       Futures Industry (New South Wales) Code / section 149
       Game and Feral Animal Control Act 2002 / section 57
       Gaming Machines Act 2001 / section 203
       Gene Technology (GM Crop Moratorium) Act 2003 / section 35
       Home Building Act 1989 / section 138A
       Impounding Act 1993 / section 36
       Inclosed Lands Protection Act 1901 / section 10
       Industrial Relations Act 1996 / section 396
       Jury Act 1977 / section 64
       Jury Act 1977 / section 66
       Landlord and Tenant (Rental Bonds) Act 1977 / section 15A
       Law Enforcement (Powers and Responsibilities) Act 2002 / section 235
       Liquor Act 1982 / section 145A
       Local Government Act 1993 / section 314, 647 or 679
       Lord Howe Island Act 1953 / section 37B
       Marine Safety Act 1998 / section 126
       Maritime Services Act 1935 / section 30D
       Meat Industry Act 1978 / section 76A
       Mining Act 1992 / section 375A
       Motor Dealers Act 1974 / section 53E
       Motor Vehicle Repairs Act 1980 / section 87A
       National Parks and Wildlife Act 1974 / section 160
       Native Vegetation Act 2003 / section 43
       Non-Indigenous Animals Act 1987 / section 27A
       Noxious Weeds Act 1993 / section 63
       Occupational Health and Safety Act 2000 / section 108
       Parliamentary Electorates and Elections Act 1912 / section 120C
       Parramatta Park Trust Act 2001 / section 30
       Passenger Transport Act 1990 / section 59
       Pawnbrokers and Second-hand Dealers Act 1996 / section 26
       Pesticides Act 1999 / section 76
       Petroleum (Onshore) Act 1991 / section 137A
       Photo Card Act 2005 / section 34
       Plant Diseases Act 1924 / section 19
       Plantations and Reafforestation Act 1999 / section 62
       Ports and Maritime Administration Act 1995 / section 100
       Prevention of Cruelty to Animals Act 1979 / section 33E
       Property, Stock and Business Agents Act 2002 / section 216
       Protection of the Environment Operations Act 1997 / section 224
       Radiation Control Act 1990 / section 25A
       Rail Safety Act 2002 / section 105
       Redfern-Waterloo Authority Act 2004 / section 47
       Registered Clubs Act 1976 / section 66
       Registration of Interests in Goods Act 1986 / section 19A
       Residential Parks Act 1998 / section 149
       Retail Leases Act 1994 / section 16P
       Retirement Villages Act 1999 / section 184
       Road and Rail Transport (Dangerous Goods) Act 1997 / section 38
       Road Transport (General) Act 2005 / Part 5.3
       Roads Act 1993 / section 243
       Royal Botanic Gardens and Domain Trust Act 1980 / section 22B
       Rural Fires Act 1997 / section 131
       Rural Lands Protection Act 1998 / section 206
       Security Industry Act 1997 / section 45A
       Sporting Venues (Pitch Invasions) Act 2003 / section 12
       State Sports Centre Trust Act 1984 / section 20B
       Stock (Chemical Residues) Act 1975 / section 15A
       Stock Diseases Act 1923 / section 20O
       Stock Foods Act 1940 / section 32A
       Stock Medicines Act 1989 / section 60A
       Summary Offences Act 1988 / section 29, 29A or 29B
       Swimming Pools Act 1992 / section 35
       Sydney Cricket and Sports Ground Act 1978 / section 30A
       Sydney Harbour Foreshore Authority Act 1998 / section 43A
       Sydney Olympic Park Authority Act 2001 / section 79
       Sydney Water Act 1994 / section 50
       Tow Truck Industry Act 1998 / section 89
       Trade Measurement Administration Act 1989 / section 23
       Transport Administration Act 1988 / section 117
       Unlawful Gambling Act 1998 / section 52
       Valuers Act 2003 / section 42
       Veterinary Practice Act 2003 / section 101
       Vocational Education and Training Act 2005 / section 45
       Water Management Act 2000 / section 365
       Weapons Prohibition Act 1998 / section 42
       Workplace Injury Management and Workers Compensation Act 1998 / section 246
       
       สำหรับความผิดตามกฎหมายที่อยู่นอก Schedule ๑ ของ Fines Act ๑๙๙๖ (NSW) นี้ หากกฎหมายกำหนดให้มีโทษปรับไว้ด้วย ต้องให้ศาลเป็นผู้กำหนดค่าปรับเท่านั้น
       
       [๒๖] ในการปรับโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเมื่อมีผู้กระทำความผิดตาม Schedule ๑ Appropriate Officer (ซึ่งได้แก่ผู้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายให้เป็นผู้ออก penalty notices หรือเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังของรัฐ NSW ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีให้เป็น ผู้ออก penalty notices หรือผู้ได้รับมอบหมายตาม regulation ที่ออกตามความใน Fines Act ๑๙๙๖ (NSW) ให้เป็นผู้ออก penalty notices) 34 จะออก penalty notices ให้แก่ผู้กระทำความผิดเพื่อให้ผู้กระทำความผิดมาชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ในการนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับมอบหมายให้เป็น Appropriate Officer ตามกฎหมายนี้ด้วย
       
       [๒๗] เมื่อได้รับ penalty notices ผู้กระทำความผิดสามารถดำเนินการได้ ๒ ประการ
       (๑) ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด 35 โดยชำระโดยตรงต่อ Infringement Processing Bureau (IPB) อันเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง 36 โดยการจ่ายนั้นผู้กระทำความผิดจะไปจ่ายด้วยตนเองหรือส่งเช็คหรือตั๋วเงินไปให้แก่ IPB ทางไปรษณีย์ก็ได้ และจะจ่ายเป็นเงินสด บัตรเครดิต หรือผ่านเว็บไซต์ www.infringements.nsw.gov.au ก็ได้ (อนึ่ง เดิมหน่วยงานนี้สังกัด NSW Police แต่เนื่องจากแต่ละปีมีการออก penalty notices กว่า ๒.๕ ล้านใบ ซึ่งคิดเป็นค่าปรับจำนวนมากในแต่ละปี จึงมีการปรับปรุงกระบวนการจัดเก็บค่าปรับใหม่เพื่อให้เงินค่าปรับไหลตรงเข้าสู่ระบบการคลังของรัฐ รัฐบาล New South Wales จึงโอน IPB มาสังกัดกระทรวงการคลัง และทำหน้าที่จัดเก็บค่าปรับอย่างเดียว ไม่มีหน้าที่บังคับชำระค่าปรับ โดยหากผู้กระทำความผิดรายใดไม่ชำระค่าปรับ IPB ก็จะส่งเรื่องให้ State Debt Recovery Office (SDRO) สังกัดกระทรวงการคลังเช่นกันเป็นผู้บังคับชำระหนี้ตาม penalty notices โดยแต่ละปี SDRO สามารถบังคับชำระค่าปรับได้มากกว่า ๙๐ ล้านเหรียญออสเตรเลีย) 37
       
(๒) ฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอน penalty notices เนื่องจากตนมิได้กระทำความผิด
       
       [๒๘] ในกรณีผู้กระทำความผิดมิได้ฟ้องศาล และมิได้ชำระค่าปรับภายในระยะเวลา IPB จะมีหนังสือเตือน เรียกว่า penalty reminder notice แจ้งให้ผู้กระทำความผิดมาชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด 38 ซึ่งในชั้นนี้ผู้กระทำความผิดสามารถดำเนินการได้ ๒ กรณี ดังกล่าวไว้ในข้อ [๒๖]
       
       [๒๙] ในกรณีผู้กระทำความผิดมิได้ฟ้องศาล และมิได้ชำระค่าปรับภายในระยะเวลา IPB จะแจ้ง Appropriate Officer ทราบเพื่อขอให้ SDRO ออกคำสั่งบังคับชำระหนี้ค่าปรับ (penalty notice enforcement order) ซึ่งนอกจากผู้กระทำความผิดต้องชำระค่าปรับเต็มจำนวนแล้ว ยังต้องรับผิดชอบค่าบังคับชำระหนี้ (Enforcement fee) เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งค่าธรรมเนียมนี้จะเรียกเก็บสูงสุดไม่เกิน ๕๐ เหรียญออสเตรเลีย ในกรณีนี้ ผู้กระทำความผิดต้องชำระค่าปรับภายใน ๒๘ วัน หากไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว SDRO มีอำนาจบังคับชำระหนี้ได้ ๔ รูปแบบ คือ
       (๑) พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนการจดทะเบียน (มาตรา ๖๕-มาตรา ๗๐)
       (๒) การบังคับชำระหนี้ทางแพ่ง (มาตรา ๗๑-มาตรา ๗๗) ได้แก่ การยึดหรืออายัดทรัพย์สิน และกำหนดให้ค่าปรับเป็นภาระติดพันที่ดิน เพื่อนำมาชำระค่าปรับ
       (๓) ให้ผู้กระทำความผิดทำงานบริการสังคม (Community Service) (มาตรา ๗๘-มาตรา ๘๖)
       (๔) จำคุก (มาตรา ๘๗-มาตรา ๙๗)
       อนึ่ง ในการบังคับชำระหนี้นี้ SDRO อาจขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจให้ความช่วยเหลือตามอำนาจหน้าที่ได้
       
       [๓๐] หากพิจารณาระบบการปรับตาม Fines Act ๑๙๙๖ (NSW) นั้น จะเห็นได้ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องใน ๒ ขั้นตอน คือ การออก penalty notices กับการบังคับชำระหนี้ตามคำสั่งบังคับชำระหนี้ค่าปรับ (penalty notice enforcement order) เท่านั้น ไม่มีอำนาจเรียกเก็บค่าปรับโดยตรงแต่ประการใด ข้อดีของระบบการปรับตาม Fines Act ๑๙๙๖ (NSW) จึงเป็นการแยกผู้มีอำนาจออก “ใบสั่ง” หรือ penalty notices ออกจากผู้มีอำนาจบังคับชำระหนี้ตามใบสั่ง ซึ่งช่วยให้การออกใบสั่งเป็นไปโดยชอบด้วยเหตุผล อีกทั้งการเปิดช่องให้ผู้ถูกใบสั่งสามารถโต้แย้งต่อศาลได้ด้วย ก็ช่วยทำให้การออกใบสั่งชอบด้วยเหตุผลมากขึ้น นอกจากนี้ การให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังรับผิดชอบเรื่องการจัดเก็บค่าปรับโดยตรง ทำให้เงินค่าปรับไหลเข้าสู่ระบบงบประมาณได้โดยตรงอีกด้วย และปิดช่องทางการรั่วไหลได้มาก ขณะที่ระบบการปรับของไทยในปัจจุบันนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจทั้งออกใบสั่งและเปรียบเทียบปรับโดยตรง ไม่มีระบบการคานอำนาจและการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ จึงเป็นช่องทางให้ผู้ทุจริตแสวงหาประโยชน์ได้ง่าย อีกทั้งการมอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้รวบรวมเงินค่าปรับส่งคลัง ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ที่ทุจริตประพฤติมิชอบได้อีกทางหนึ่งด้วย ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือช่องทางการชำระค่าปรับที่ IPB มีช่องทางให้ชำระค่าปรับได้โดยง่าย ซึ่งเป็นการลดภาระให้แก่ผู้ต้องเสียค่าปรับ ขณะที่ระบบการรับจ่ายเงินของราชการไทยยังมีข้อจำกัดอยู่มาก
       
       ๘. สรุป
       
       [๓๑] กล่าวโดยสรุป อำนาจในการดำเนินกิจการตำรวจ (Police service) และเรือนจำ (Corrective Services) ของรัฐ New South Wales เป็นอำนาจในระดับ “รัฐ” และรัฐบาลของรัฐ New South Wales เป็นผู้ทำหน้าที่ดังกล่าวเอง แม้กรณีเรือนจำนั้นจะมีการร่วมดำเนินการกับเอกชนอยู่บ้าง แต่กรณีก็ถือได้ว่ายังอยู่ในความควบคุมของรัฐบาลของรัฐ New South Wales องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของรัฐ New South Wales ไม่มีอำนาจดำเนินกิจการดังกล่าว สำหรับอำนาจในการจับกุมคุมขังของ NSW Police เป็นไปตาม Law Enforcement (Powers and Responsibilities) Act ๒๐๐๒ (NSW) โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจจับกุมและคุมขังผู้ต้องหาไว้ที่สถานีตำรวจระหว่างการสอบสวนโดยไม่จำเป็นต้องมีหมายเป็นเวลาไม่เกิน ๔ ชั่วโมง และอาจขอขยายเวลาดังกล่าวต่อศาลได้ไม่เกิน ๘ ชั่วโมง หลังจากนั้นต้องไปขอหมายขังต่อศาล ส่วนอำนาจในการปรับนั้น เดิมตำรวจมีอำนาจในการปรับ แต่ปัจจุบัน Fines Act ๑๙๙๖ (NSW) ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการออกใบสั่ง การชำระค่าปรับ และการบังคับชำระค่าปรับใหม่แล้ว โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจในการออกใบสั่งและช่วยเหลือองค์กรบังคับชำระค่าปรับ (SDRO) ในการบังคับชำระหนี้ค่าปรับเท่านั้น ไม่มีอำนาจเรียกเก็บค่าปรับอีกต่อไป โดยอำนาจในการเรียกเก็บค่าปรับตกเป็นของ IPB อันเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังเช่นเดียวกับ SDRO
       
       เชิงอรรถ
       
       1.ออสเตรเลียมีรัฐธรรมนูญ ๒ ระดับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งเครือรัฐ (Commonwealth Constitution) กับรัฐธรรมนูญของแต่ละรัฐ (State Constitution)
       
       2.ในบทความทางวิชาการของออสเตรเลีย เมื่ออ้างถึงกฎหมายที่เป็นกฎหมายระดับเครือรัฐมักจะมีการวงเล็บคำว่า (Cth) ไว้ท้ายชื่อกฎหมาย
       
       3.รัฐสภาของแต่ละรัฐและเขตปกครองตนเองประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ยกเว้นรัฐ Queensland ที่ยกเลิกวุฒิสภาไปตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๒๒ จึงทำให้มีสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว
       
       4.ในบทความทางวิชาการของออสเตรเลีย เมื่ออ้างถึงกฎหมายที่เป็นกฎหมายระดับรัฐมักจะมีการวงเล็บชื่อย่อของแต่ละรัฐไว้ท้ายชื่อกฎหมาย เช่น กรณีรัฐ New South Wales จะวงเล็บว่า (NSW) กรณีรัฐ Victoria จะวงเล็บว่า (Vic) เป็นต้น
       
       5. 8 Functions
       (1) The functions of the Australian Federal Police are:
       (a) subject to subsection (1A), the provision of police services in relation to the Australian Capital Territory; and
       (aa) the provision of police services in relation to the Jervis Bay Territory; and
       (b) the provision of police services in relation to:
       (i) laws of the Commonwealth;
       (ii) property of the Commonwealth (including Commonwealth places) and property of authorities of the Commonwealth; and
       (iii) the safeguarding of Commonwealth interests; and
       (baa) the investigation of State offences that have a federal aspect; and
       (ba) the provision of services in accordance with arrangements entered into under subsection (1C) and doing anything else included in the arrangements that is incidental or conducive to the provision of the services; and
       (bb) to perform the functions conferred by the Witness Protection Act 1994; and
       (bc) to perform the functions conferred by a law of a State or Territory that is a complementary witness protection law for the purposes of the Witness Protection Act 1994; and
       (bd) to perform functions under the Proceeds of Crime Act 2002; and
       (be) to perform such protective and custodial functions as the Minister directs by notice in writing in the Gazette, being functions that relate to a person, matter or thing with respect to which the Parliament has legislative power; and
       (bf) the provision of police services and police support services for the purposes of assisting, or cooperating with, an Australian or foreign:
       (i) law enforcement agency; or
       (ii) intelligence or security agency; or
       (iii) government regulatory agency; and
       (bg) the provision of police services and police support services in relation to establishing, developing and monitoring peace, stability and security in foreign countries; and
       (c) to do anything incidental or conducive to the performance of the foregoing functions.
       Note: For State offences that have a federal aspect, see section 4AA.
       
(1A) The Minister and the Australian Capital Territory may enter into arrangements for the provision of the police services in relation to the Australian Capital Territory that are in respect of Territory functions as defined by section 3 of the A.C.T. Self Government (Consequential Provisions) Act 1988, and, where the arrangements have been entered into, the provision of those services shall be in accordance with the arrangements.
       (1B) The Minister shall try to enter into the first such arrangement before 1 July 1990.
       (1C) The Minister and the Administrator of an External Territory may enter into arrangements for the provision of police services and regulatory services in relation to that Territory, and, where the arrangements have been entered into, the provision of those services shall be in accordance with the arrangements.
       (2) The provision of police services in relation to a Commonwealth place in a State, being services by way of the investigation of offences against the laws of that State having application in relation to that place by virtue of the Commonwealth Places (Application of Laws) Act 1970, shall be in accordance with arrangements made between the Commissioner and the Commissioner of Police (however designated) of that State.
       (2B) Arrangements for the provision of services under subsection (1A) or (1C) may include arrangements for the doing of anything incidental or conducive to the provision of the services.
       (3) In this section:
       Commonwealth place has the same meaning as in the Commonwealth Places (Application of Laws) Act 1970.
       
       6.ตามมาตรา ๓AA แห่ง Crime Act ๑๙๑๔ (Cth) “การกระทำความผิดตามกฎหมายของรัฐที่มีผลในระดับเครือรัฐ” (State offences that have a federal aspect) หมายถึงการกระทำความผิดที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของเครือรัฐหรือขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือที่เกี่ยวข้องกับองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือสถานที่ของเครือรัฐ การไปรษณีย์หรือการอื่นใดในทำนองเดียวกัน การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์ระหว่างออสเตรเลียกับต่างประเทศหรือระหว่างรัฐและเขตปกครองตนเองของออสเตรเลียด้วยกัน การธนาคาร เป็นต้น
       
       7.ข้อมูลจาก https://www.cia.gov/cia/publications/factbook/geos/th.html
       
       8. 51 Local government
       (1) There shall continue to be a system of local government for the State under which duly elected or duly appointed local government bodies are constituted with responsibilities for acting for the better government of those parts of the State that are from time to time subject to that system of local government.
       (2) The manner in which local government bodies are constituted and the nature and extent of their powers, authorities, duties and functions shall be as determined by or in accordance with laws of the Legislature.
       (3) The reference in subsection (2) to laws of the Legislature shall be read as a reference to laws that have been enacted by the Legislature, whether before or after the commencement of this section, and that are for the time being in force.
       (4) For the purposes of this section, the Western Lands Commissioner, the Lord Howe Island Board, and an administrator with all or any of the functions of a local government body, shall be deemed to be local government bodies.
       
       9.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ของรัฐ NSW ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. ๑๘๔๒ (๒๓๘๕) และมีเพียงประเภทเดียว แต่เรียกชื่อแตกต่างกันไป ๓ ชื่อ ตามสภาพที่ตั้งของ อปท.แต่ละแห่ง โดย City หมายถึง อปท.ในพื้นที่ชั้นในที่มีความเจริญ (urban or suburban area) ส่วน Municipality หมายถึง อปท.ในพื้นที่ชั้นในสุดของ City (Inner-city) และ Shire ซึ่งหมายถึง อปท.ในพื้นที่ที่อยู่ในชนบทคือ แต่ตาม Local Government Act ๐๙๙๓ (NSW) ใช้คำแทน อปท.ว่า Council (ซึ่งเป็นการใช้ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลียที่ใช้คำว่า Council กับพื้นที่ด้วย) แต่ไม่ห้ามที่ อปท.จะใช้ชื่อดั้งเดิมของตน ดังนั้น ชื่อของ อปท.ใน NSW ปัจจุบันจึงยังคงแตกต่างกันไป แต่ยังคงมีสถานะทางกฎหมายเหมือนกัน
       
       10.ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
       
       11. 6 Mission and functions of NSW Police
       (1) The mission of NSW Police is to have the police and the community working together to establish a safer environment by reducing violence, crime and fear.
       (2) NSW Police has the following functions:
       (a) to provide police services for New South Wales,
       (b) to exercise any other function conferred on it by or under this or any other Act,
       (c) to do anything necessary for, or incidental to, the exercise of its functions.
       (3) In this section: "police services" includes:
       (a) services by way of prevention and detection of crime, and
       (b) the protection of persons from injury or death, and property from damage, whether arising from criminal acts or in any other way, and
       (c) the provision of essential services in emergencies, and
       (d) any other service prescribed by the regulations.
       (4) A reference in this section to the functions of NSW Police includes a reference to the functions of members of NSW Police.
       (5) The provision of police services in emergencies and rescue operations is subject to the State Emergency and Rescue Management Act 1989 and to the Essential Services Act 1988 .
       (6) Nothing in this section confers on NSW Police a power to provide a police service in a way that is inconsistent with any provisions applicable to police officers under the Law Enforcement (Powers and Responsibilities) Act 2002 .
       
       12.Ibid.
       
       13.Charles Guide and Charles Rist, A History of Economic Doctrines, London: G.G.Harrap, ๑๙๐๙, pp.๙๔-๙๕.
       
       14.รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบกิจการตำรวจคนปัจจุบัน (ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙) คือ นาย John Watkins
       
       15. 8 Commissioner to manage and control NSW Police
       (1) The Commissioner is, subject to the direction of the Minister, responsible for the management and control of NSW Police.
       (2) The responsibility of the Commissioner includes the effective, efficient and economical management of the functions and activities of NSW Police.
       (3) The Commissioner may classify the various duties that members of NSW Police are required to perform and allocate the duties to be carried out by each such member.
       (4) The Commissioner may issue (and from time to time amend or revoke) instructions to members of NSW Police with respect to the management and control of NSW Police.
       (5) This section is subject to the other provisions of this Act and the regulations.
       
       16.Commissioner คนปัจจุบัน (ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๙) คือ นาย Ken E Moroney
       
       17.Section ๒๔ ของ Police Act ๑๙๙๐ (NSW)
       
       18.Section ๒๖ ของ Police Act ๑๙๙๐ (NSW)
       
       19.การจ้างงานในระบบราชการของเครือรัฐออสเตรเลียใช้ระบบ Contract base แทนระบบข้าราชการประจำแบบประเทศไทยนับตั้งแต่มีการปฏิรูประบบราชการในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ และเมื่อใช้ระบบนี้ สิ่งที่ตามมาคือ รายละเอียดของงานถือเป็นข้อตกลงสภาพการจ้าง และอยู่ภายใต้บังคับ Industrial Relations Act ๑๙๙๐ (NSW) อย่างไรก็ดี Police Act ๑๙๙๐ (NSW) ยกเว้นไม่ให้ถือว่าการบรรจุแต่งตั้งเป็น Industrial Matter ตามกฎหมาย Industrial Relations Act ๑๙๙๐ (NSW) การโต้แย้งในประเด็นดังกล่าวจึงไม่อยู่ในอำนาจของ Industrial Relations Tribunal
       
       20.Section ๒๗ ของ Police Act ๑๙๙๐ (NSW)
       
       21.เขตพื้นที่รับผิดชอบของ NSW Police ไม่ตรงกับเขตทางการปกครองท้องถิ่นที่กล่าวถึงใน [๑๑] และมีลักษณะที่เทียบได้กับพื้นที่รับผิดชอบของกองบังคับการตำรวจภูธรภาคต่าง ๆ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติของไทย
       
       22.Section ๑๒ ของ Police Act ๑๙๙๐ (NSW)
       
       23.O. Hood Phillips, Constitutional and Administrative Law, Sweet & Maxwell, ๗th ed., ๑๙๘๗, p.๔๙๒
       
       24.ปัจจุบันมาตรานี้ยกเลิกแล้ว และอำนาจของ NSW Police ในการจับกุมคุมขังบุคคลเป็นไปตาม Law Enforcement (Power and Responsibilities) Act ๒๐๐๒ (NSW) ส่วน Crime Act ๑๙๐๐ (NSW) คงมีบทบัญญัติเฉพาะส่วนที่เป็นโทษทางอาญาเช่นเดียวกับประมวลกฎหมายอาญาของไทย
       
       25.Karl Anderson, Powers and Responsibilities Reforming NSW Criminal Investigation Law, Thesis submitted for the Degree of Doctor of Philosophy, Faculty of Law, The University of New South Wales, ๒๐๐๑, pp.๓๒-๓๓.
       
       26. 99 Power of police officers to arrest without warrant
       (cf Crimes Act 1900, s 352, Cth Act, s 3W)
       (1) A police officer may, without a warrant, arrest a person if:
       (a) the person is in the act of committing an offence under any Act or statutory instrument, or
       (b) the person has just committed any such offence, or
       (c) the person has committed a serious indictable offence for which the person has not been tried.
       (2) A police officer may, without a warrant, arrest a person if the police officer suspects on reasonable grounds that the person has committed an offence under any Act or statutory instrument.
       (3) A police officer must not arrest a person for the purpose of taking proceedings for an offence against the person unless the police officer suspects on reasonable grounds that it is necessary to arrest the person to achieve one or more of the following purposes:
       (a) to ensure the appearance of the person before a court in respect of the offence,
       (b) to prevent a repetition or continuation of the offence or the commission of another offence,
       (c) to prevent the concealment, loss or destruction of evidence relating to the offence,
       (d) to prevent harassment of, or interference with, a person who may be required to give evidence in proceedings in respect of the offence,
       (e) to prevent the fabrication of evidence in respect of the offence,
       (f) to preserve the safety or welfare of the person.
       (4) A police officer who arrests a person under this section must, as soon as is reasonably practicable, take the person, and any property found on the person, before an authorised officer to be dealt with according to law.
       
       27.ISBN ๐ ๗๓๐๕๘๘ ๓๙ ๔, February ๑๙๙๘ (last updated: December ๒๐๐๕), p.๕.
       
       28.มาตรา ๑๑๕ ของ Law Enforcement (Powers and Responsibilities) Act ๒๐๐๒ (NSW)
       
       29.ได้แก่ (๑) a Magistrate or a Children’s Magistrate หรือ (๒) a Clerk of a Local Court หรือ (๓) เจ้าหน้าที่ของ Attorney-General Department ที่ Attorney-General มอบหมาย (โปรดดูนิยาม “authorised officer” ในมาตรา ๓ ของ Law Enforcement (Powers and Responsibilities) Act ๒๐๐๒ (NSW))
       
       30. 118 Detention warrant to extend investigation period
       (cf Crimes Act 1900, s 356G)
       (1) A police officer may, before the end of the investigation period, apply to an authorised officer for a warrant to extend the maximum investigation period beyond 4 hours.
       (2) The person to whom an application for a detention warrant relates, or the person's legal representative, may make representations to the authorised officer about the application.
       (3) The authorised officer may issue a warrant that extends the maximum investigation period by up to 8 hours.
       (4) The maximum investigation period cannot be extended more than once.
       (5) An authorised officer must not issue a warrant to extend the maximum investigation period unless satisfied that:
       (a) the investigation is being conducted diligently and without delay, and
       (b) a further period of detention of the person to whom the application relates is reasonably necessary to complete the investigation, and
       (c) there is no reasonable alternative means of completing the investigation otherwise than by the continued detention of the person, and
       (d) circumstances exist in the matter that make it impracticable for the investigation to be completed within the 4-hour period.
       (6) As soon as reasonably practicable after a detention warrant is issued, the custody manager for the person to whom the warrant relates:
       (a) must give the person a copy of the warrant, and
       (b) must orally inform the person of the nature of the warrant and its effect.
       
       31. 119 Detention warrants
       (1) An application for a detention warrant may be made by the applicant in person or by telephone.
       (2) In any criminal proceedings, the burden lies on the prosecution to prove on the balance of probabilities that the warrant was issued.
       (3) In the case of an application made for a detention warrant by telephone, the applicant for the warrant must, within one day after the day on which the warrant is issued, give or transmit to the authorised officer concerned an affidavit setting out the information on which the application was based that was given to the authorised officer when the application was made.
       
       32. 122 Custody manager to caution, and give summary of Part to, detained person
       (cf Crimes Act 1900, s 356M)
       (1) As soon as practicable after a person who is detained under this Part (a "detained person") comes into custody at a police station or other place of detention, the custody manager for the person must orally and in writing:
       (a) caution the person that the person does not have to say or do anything but that anything the person does say or do may be used in evidence, and
       (b) give the person a summary of the provisions of this Part that is to include reference to the fact that the maximum investigation period may be extended beyond 4 hours by application made to an authorised officer and that the person, or the person's legal representative, may make representations to the authorised officer about the application.
       (2) The giving of a caution does not affect a requirement of any law that a person answer questions put by, or do things required by, a police officer.
       (3) After being given the information referred to in subsection (1) orally and in writing, the person is to be requested to sign an acknowledgment that the information has been so given. [emphasis added]
       
       33.หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า Infringement notices หรือ on-the-spot fines (เทียบได้กับ “ใบสั่ง” ของไทย)
       
       34. 22 Persons who may issue and deal with penalty notices (appropriate officers)
       (1) A penalty notice may be issued by a person authorised by the statutory provision providing for the issue of the notice.
       (2) For the purposes of this Part, the following are "appropriate officers" for a penalty notice:
       (a) a person so authorised to issue that kind of penalty notice,
       (b) a person employed in the Office of State Revenue in the Treasury and authorised by the Chief Commissioner of State Revenue for the purposes of this Part,
       (c) a person, or a member of a specified class of persons, specified in the regulations for that kind of penalty notice or for all penalty notices.
       
       35.ทางปฏิบัติถือเวลา ๒๑ วัน
       
       36.ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า การแยกผู้ออก penalty notices จากผู้รับชำระค่าปรับ ช่วยทำให้การออก penalty notices เป็นไปโดยชอบด้วยเหตุผลมากขึ้น เพราะผู้ออก penalty notices ไม่มีส่วนได้เสียกับรายได้ที่เกิดขึ้นจากการออก penalty notices นั้น
       
       37.Find Out: A Joint Community Legal Education Resource by Inner City & Redfern Legal Centres, June ๒๐๐๔, p.๕.
       
       38.ทางปฏิบัติถือเวลา ๒๘ วัน


 
 
หลักความเสมอภาค
องค์กรอิสระ : ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ โดย คุณนพดล เฮงเจริญ
ปัญหาของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในประเทศไทย
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ผลในทางปฏิบัติ เมื่อครบรอบหกปีของการปฏิรูปการเมือง
หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
   
 
 
 
PAYS DE BREST : COOPERER VOLONTAIREMENT AU SERVICE DU TERRITOIRE
La violence internationale : un changement de paradigme
การลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย: มิติด้านกฎหมายและเทคโนโลยี
Tensions dans le cyber espace humanitaire au sujet des logos et des embl?mes
คุณูปการของศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ต่อการพัฒนากฎหมายปกครองและกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง : งานที่ได้ดำเนินการไว้ให้แล้วและงานที่ยังรอการสานต่อ
การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม
ยาแก้โรคคอร์รัปชันยุคใหม่
สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ คืออะไร
มองอินโด มองไทย ในเรื่องการกระจายอำนาจ
การฟ้องปิดปาก
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544