คิดว่าปัญหาในองค์กรอิสระที่เกิดขึ้นขณะนี้เกิดจากอะไร
เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาเชิงโครงสร้างจะเห็นได้ว่าเดิม
สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มาจากการแต่งตั้ง แต่ปัจจุบันมาจากการเลือกตั้ง
และหน้าที่ของส.ว.ประการหนึ่งคือการแต่งตั้งองค์กรอิสระทั้ง 7 องค์กร ซึ่งได้
แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการ
ศาลปกครอง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(ป.ป.ช.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ค ณะกรรม
การสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ดังนั้นหากเราได้ส.ว.ที่ดี มีคุณภาพ การเลือกสรรผู้ที่มาดำรงตำแหน่ง
ในองค์กรอิสระก็จะได้คนดีและมีคุณภาพด้วย แต่หากส.ว.ที่มาจากการเล ือก
ตั้งนั้นเป็นตัวแทนของพรรคการเมือง เขาก็ต้องเลือกพวกเดียวกันเข้ามา เพื่อ
เอื้อผลประโยชน์ให้พรรคการเมืองที่สนับสนุนเขาให้เข้ามาเป็น ส.ว. และ ส.ว.
ในปัจจุบันก็มีอยู่ไม่น้อยที่เป็นอดีตส.ส. ซึ่งหนี ไม่พ้นที่จะช่วยเหลือพรรค ที่
เคยมีความสัมพันธ์กัน
ถ้าสังเกตดูจะพบว่าคุณภาพและผลงานของบุคลากรในองค์กรอิสระ
ที่ ส.ว.ชุดเก่าเลือกมา กับคนที่ส.ว.ชุดใหม่เลือกนั้นแตกต่างกันมาก เพราะที่
มา ของส .ว.ต่างกัน วันนี้เราประเมินได้แล้วว่า ส.ว.ชุดปัจจุบันที่มาจากการ
เลือก ตั้งเป็นอย่างไร กรรมการป.ป.ช.เป็นอย่างไร ศาลรัฐธรรมนูญนั้น
ประเมิน ง่ายที่สุดเพราะที่ผ่านมามีปัญหาเยอะ ทุกวันนี้เมื่ออ่านคำ วินิจฉัยของ
ศาลรัฐธรรมนูญ เราจะเห็นได้เลยว่าใครเป็นพวกใคร ใครสีอะไร กกต.เอง
เรา ก็รู้ว่าเป็นอย่างไร วิธีคิดของบุคคลในองค์กรเหล่านี้เป็นอย่างไร ใครทำ
ให้เกิด ประโยชน์ต่อประเทศชาติบ้าง
อยากให้ยกตัวอย่างปัญหาในการเลือกสรรผู้มาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
มีการพูดกันว่าการลงคะแนนเลือกองค์กรอิสระ ยังมีการแบ่งโควตากัน
ในกลุ่มของส.ว. คือถ้าจะให้เลือกกลุ่มของตัวเอง ก็จะต้องมีการแลกเปลี่ยน
ด้วยก ารโหวตให้ตัวแทนกลุ่มของอีกฝ่ายด้วย เมื่อที่มาของคนเหล่านี้ไม่โปร่ง
ใส จึงส่งผลให้การบริหารงานที่ผ่านมาขององค์กรอิสระผิดเพี้ยนไปมาก โดย
เฉพาะหากไปดูคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จะเห็นได้ว่าบางเรื ่องคำ
วินิจฉัยส่วนบุคคลยังไม่ทันออกมา แต่คำวินิจฉัยกลางออกมาแล้ว และบาง
เรื่องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนก็ลอกคำวินิจฉัยกลางมาเป็นคำวินิจ
ฉัยส่วนตัวเพราะตนเองไม่มีความเชี่ยวชาญพอ ไม่รู้จะเขียนอะไร
ทั้งนี้เนื่องจาก การเลือกสรรผู้มาดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
นั้น ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรัฐศาสตร์ที่ดูแล้วควรจะได้รับเลือกเป็นตุลาการศาล
รัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้รับเลือกบางคนเป็นนักรัฐศาสตร์ที่มีค ุณสมบัติครบถ้วน
แต่ไม่เก่ง กลับได้รับเลือก ซึ่งนักรัฐศาสตร์ ที่จะเข้ามาทำงานในศาล รัฐธร
รมนูญได้นั้น ต้องเป็นนักรัฐศาสตร์ที่มีความรู้ด้านการเมือง การปกครอง ไม่
ใช่รัฐศาสตร์ที่เป็นรัฐประศาสนศาสตร์ ท ี่รู้เรื่องการเมืองทั่วๆไป เช่น การ
เมืองระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้การใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาวินิจฉัยข้อกฎ
หมายไม่มีความรอบคอบ
ต้องมีการทบทวนและปรับปรุงวิธีการสรรหาคนเหล่านี้ ตั้งแต่การสรร
หา ส.ว. ซึ่งจะมาทำหน้าที่คัดสรรผู้มาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระจน ถึงวิธี
การการคัดเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ เช่น ตุลาการรัฐธร
รมนูญ ก็คงต้องหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้ได้คนที่เหมาะสมกับตำแห น่งนั้น
ซึ่งจะทำให้ตัดสินคดีได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่ใช่ได้คนที่เขียนหนังสือเยอะ
เป็นศาสตราจารย์ เคยเป็นอธิบดีมาแล้ว อายุ 45 ปี ตาม เกณฑ์เท่านั้น แต่
ไม่มีวิธีคิดที่จะสัมพันธ์กับตำแหน่ง
แสดงว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่อยู่ขณะนี้ก็มีปัญหาเช่นกัน
ผมไม่อยากไปลงถึงตัวบุคคล แต่ถ้าไปตรวจดูคำวินิจฉัยส่วนบุคคลแล้ว
จะเห็นได้ว่าตุลาการเหล่านี้ใครมีคุณสมบัติเหมาะสมควรดำรงตำแหน่ง นี้
หรือไม่ เพ ราะในเบื้องต้นแล้วการเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่การ
วินิจฉัยแบบเดียวกับศาลทั่วๆ ไป แต่ต้องเป็นการตอบปัญหาให้ได้ทั้งหมดและ
มองผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย ดังนั้นคนที่จะมาเป็นตุลาการศาลรัฐธร
รม นูญนอกจากจะต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญแบบนักปรัญชาหรือเป็นพวก
สหสาขาวิชา แล้วยังต้องเพิ่มความรู้ในด้านของกฎหมาย รัฐธรรมนูญเข้าไปด้วย
ผมขอพูดในภาพรวม ภายในศาลรัฐธรรมนูญเองก็มีแบ่งเป็นกลุ่ม
เห มือนกัน มีพรรคมีพวกเหมือนกัน อีกทั้งคำวินิจฉัยที่เขียนออกมาบางครั้งก็
สามารถนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานที่ดีได้ แต่สวนใหญ่ศาลรัฐธรรมนูญก็ทำผิด
รัฐธรรมนูญเหมือนกัน แต่ไม่มีใครตรวจสอบได้ ในรัฐธรรมนูญบอกว่า คำ
วินิจฉัยรายบุคคลต้องออกมาก่อน แล้วจึงมาโหวตกัน แพ้ชนะถูกหรือผิด
แล้วทำคำวินิจฉัยกลาง แต่วันนี้คำวินิจฉัยกลางออกมาก่อน
ผมคิดว่าในการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ควรจะมีการจัดตั้ง
เป็นคณะ ทำงานชุดเล็กๆ เข้ามาพิจารณาตัดสินในแต่ละคำร้อง ไม่ใช่มานั่ง
เรียงกันเป็นแถวอย่างทุกวันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญภาระเยอะ แต่คนไม่แข็ง ผม
อ่านคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญเกือบทั้งหมด ผมจะรู้ว่าใครเขียนมีหลัก
หร ือไม่มีหลัก ถ้าจะให้ประเมินจากสิ่งเหล่านี้จะรู้ทันทีว่าใครเป็นตุลาการ
ศาลรัฐธรรมนูญได้ ใครเป็นไม่ได้
โดยส่วนตัว ผมเห็นว่าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญควรจะเข้ม
แข็ง เพราะหากตุลาการไม่มีคว ามรอบรู้มากพอ หน่วยธุรการก็จะช่วยในการ
สนับสนุนด้านข้อมูล ทำให้สามารถแก้ปัญหาหรือจุดอ่อนตรงนี้ได้
ปัญหาในองค์กรอิสระ มีอะไรบ้างที่ควรแก้ไข
สิ่งแรกที่ควรจะแก้ไขคือเรื่องการใช้อำนาจขององค ์กรเหล่านี้ เพราะแต่
ละองค์กรพยายามไปเพิ่มอำนาจให้กับตัวเอง ทั้งกกต.และศาลรัฐ-ธรรมนูญ
โดยเฉพาะกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินประเด็นการเลือกตั้งส.ว.ที่จังหวัดอุดร
ธานีที่ระบุว่ากกต.ไม่มีสิทธิ์ให้ใบแด งแก่นางพรทิพย์ ธนศรีวนิชชัย ผู้สมัค
รส.ว.อุดรธานี ซึ่งเท่ากับว่าศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปทำหน้าที่ตรวจสอบอำนาจ
ขององค์กรอิสระอื่นๆ ถือเป็นการวินิจฉัยด้วยการขยายอำนาจของตนเองไป
เกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำห นด ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญไม่เคยพูดเลยว่าเขา
สามารถตรวจสอบองค์กรอิสระได้ แต่วันนี้ระเบียบเรื่องใบแดงนั้น ศาลรัฐธร
รมนูญให้เหตุผลง่ายมากว่าเมื่อพิจารณา ดูกฎหมายแล้วเห็นว่าศาลปกครองไม่มี
อำนาจตรวจสอบกกต. ด ังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา จึง
เป็นการบอกง่ายเกินไปว่าเพราะเธอ ไม่มีอำนาจฉันจึงต้องเป็นผู้พิจารณา ซึ่ง
ในข้อเท็จจริงแล้วศาลรัฐธรรมนูญต้องดูว่าตัวเองมีอำนาจหรือเปล่าถ้าไม่มีก็
ต้อง ปล่อย ไม่ใช่ไปบอกว่าศาลปกครองไม่มีอำนาจ เพราะฉะนั้นเราต้องมีอำนาจ
ประเด็นที่น่าจะมีการแก้ไขเกี่ยวกับกกต.มีอะไรบ้าง
ประเด็นหนึ่งที่ควรทบทวนคืออำนาจขององค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธร
รมนูญ ห รือกกต. เพราะปัจจุบันกกต.มีอำนาจมาก แต่ถ้าเราดูอำนาจของ
กกต.ที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญจะพบว่า กกต.มีอำนาจหลักๆ ไม่มาก แต่ หลัง
จากที่เขียนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้มีการให้อำนาจ กกต. อย่างมาก
ซึ่งเราต ้องมาดูว่าอำนาจของกกต.ที่เขียนในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
มันมากเกินกว่าที่เจตนาของกฎหมายรัฐธรรมนูญต้องการจะให้มีหรือไม่ เช่น
อำนาจในการถอดถอนส.ส.และส.ว. ซึ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมาย
แม่ไม ่ได้ให้อำนาจไว้ขนาดนั้น
จะเห็นได้ว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 327 ระบุว่ากฎหมาย
ประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง อย่างน้อยต้องมีสาระ ดังต่อไปนี้
(1) อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(2) การดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งอย่างน้อยต้อง
ประกอบด้วย เรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้ง การจัดให้มีบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก
ตั้ง และการนับคะแนนใหม่
(3) การให้การศึกษาแก่ประชาช นเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชา-
ธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
(4) กระบวนการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรม การ
การเลือกตั้ง
(5) การดำเนินคดีในศาลโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งใน ความผิด
เกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือพรรคการเมือง
(6) ความร่วมมือที่ศาล พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวนหรือ หน่วย
งานอื่นของรัฐต้องให้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง
(7) การรับรองและการแต่งตั้ง ผู้แทนอ งค์กรเอกชน เพื่อประโยชน์ใน
การตรวจสอบการเลือกตั้ง
(8) การจัดให้มีหน่วยงานที่เป็นอิสระเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการบริหาร
งานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น โดยมีประธานคณะ
กรรมการการเลือกต ั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
(9) กำหนดเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะเริ่มควบคุม และดำเนิน
การจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่ง
ต้องไม่เกิน 10 ปี นับตั้ง แต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
กฎหมายรัฐธรรมนูญไม่มีข้อใดเลยระบุให้อำนาจกกต.ในการสอย ส.ส.
หรือส.ว. แต่ในกฎหมายลูกหรือพระราชบัญญัติประกอบการเลือกตั้งกลับมี
การระบุตรงนี้ไว้ เช่น การแก้ไขกฎหมายในมาตรา 85/1 เป็นเรื่องการ ให้ใบ
แดงกับผู้ที่ทุจริตการเลือกตั้ง เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้ก็ควรจะได้มีการทบทวน ข้อ
กฎหมายเช่นกัน
ถ้าองค์กรอิสระใช้อำนาจเกินขอบเขต จะเกิดปัญหาอะไรตามมา
หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสิ นผิด ใครจะสามารถตรวจสอบได้บ้าง ดูได้
จากกรณีของนายเนวิน ชิดชอบ ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า แม้นายเนวินจะ
ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือน แต่เป็นการรอลงโทษ จึงให้ถือว่า
นายเนวิน ยังคงสถานภาพเป็น ร มช.เกษตรฯ คำวินิจฉัยนี้หลายฝ่ายมองว่า
เป็นการตัดสินที่ผิด แต่เมื่อผิดไปแล้วรื้อใหม่ได้หรือไม่ ก็บอกกันมาว่าไม่ได้
และคำวินิจฉัยนี้ ก็กลายมาเป็นบรรทัดฐานกรณี คุณโกเมน ภัทรภิรมย์ อดีต
ตุลาการศาลรั ฐธรรมนูญ ต่อมาอีก ซึ่งสังคมก็รู้ว่าผิด แต่ถามว่าถอดถอนได้
หรือไม่ และคำพิพากษาก็อยู่เป็นหลักอยู่ทุกวันนี้
ใจผมแยกเป็น 2 ส่วน คือ หากบุคลากรในองค์กรอิสระมีปัญหา เรามี
กลไกที่สามารถถอดถอนได้ แต่ส ่วนคำตัดสินที่บุคคลเหล่านี้พิจารณา ไป
แล้วใครจะเป็นผู้ควบคุม ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญตัดสินผิด ทบทวนได้ หรือ
ไม่ กกต.ออกคำสั่งผิด ทำให้เขาเดือดร้อนควรจะดำเนินการอย่างไร หรือ
ป.ป.ช.หากมีการวินิจฉัยผิ ดพลาดจะให้หน่วยงานไหนเป็นผู้ตรวจสอบ ส่งเรื่อง
ไปศาลปกครองได้หรือไม่ วันนี้ยังไม่มีคำตอบ
ตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องสังคายนากันแล้ว ว่าองค์กรไหนใครคุมใคร สิ่งที่
เขาทำมันน่ากลัว ทุกวันนี้เรามีศาลปกค รองมาคุมสิ่งที่เป็นคำสั่งกฎระเบียบ
แล้ว แต่ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าองค์กรที่จะถูกศาลปกครองตรวจสอบได้
ต้องเป็นองค์กรฝ่ายบริหารที่อยู่ในกำกับของรัฐบาล แต่กกต.ไม่ได้เป็นฝ่าย
บริหารที่อยู่ในกำกับรัฐบาลก็ห ลุดไปเลย การพูดเช่นนี้ก็เพื่อการขยายอำนาจ
ของตัวเอง ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญระยะหลังขยายอำนาจของตัวเองออกไปมาก
จนไม่มีใครตรวจสอบได้
นอกจากเรื่องอำนาจแล้วควรจะแก้ไขในประเด็นใดอีก
อยากจะให้มีการไปตรว จสอบเรื่องการใช้จ่ายเงินขององค์กรอิสระ
เพราะที่ผ่านมาแต่ละองค์กรมีการใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล และสามารถ
เบิกจ่ายงบประมาณได้โดยไม่มีใครเป็นผู้ตรวจสอบว่า การใช้เงินดังกล่าวมี
การรั่วไหลหรือไม่ ทำงานค ุ้มกับเงินที่เบิกจ่ายไปหรือไม
การทบทวนข้อกฎหมายควรดำเนินการอย่างไร
ต้องเริ่มจากรัฐบาลตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่
ใช้อยู่นั้นมีข้อบกพร่องประการใดบ้าง โดยในระยะเวลาที่เหลืออยู ่ก่อน
ที่จะครบกำหนดการใช้รัฐธรรมนูญซึ่งมีวาระ 5 ปี ซึ่งจะครบในปี 46 จึง จะ
สามารถแก้ไขได้นั้น ในช่วงนี้รัฐบาลควรจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาปรับ
ปรุง พอครบกำหนด 5 ปี จะได้ไม่ต้องเสียเวลาศึก ษาข้อมูลใหม่ โดย
สามารถนำรายละเอียดที่ศึกษามาเข้าสู่กระบวนการแก้ไขตามระบบรัฐสภาได้เลย
ในการศึกษานั้นคณะทำงานจะต้องศึกษาทั้งในด้านนิติบัญญัติและข้อบก
พร่องในการทำงานขององค์กรอิสระ ซึ่งต่างฝ่ายต ่างต้องการขยายอำนาจ
บารมี อีกทั้งการได้มาซึ่งองค์กรอิสระนั้น เป็นไปตามเจตจำนงที่ตั้งไว้หรือไม่
หรือที่เป็นอยู่ทุกวันนี้เป็นองค์กรอิสระที่อิงพรรคการเมือง ทำให้การตัดสิน
หรือการพิจารณาต่างๆ ไม่โปร่ง ใส มีการเล่นพรรคเล่นพวกเข้า ไปเกี่ยวข้อง
เพราะที่มาของคนเหล่านี้ถูกพิจารณาคัดเลือกมาจากวุฒิสภา และวุฒิสภาที่
เคยบอกว่าให้ปลอดการเมือง แต่ปรากฏทุกวันนี้ส.ว.ต่างอิงแอบ พรรคการ
เมืองทั้งสิ้น
หากจะแ ก้ที่มาของส.ว.ควรจะแก้ในประเด็นใด
ต้องเลือกสรรคนที่ดีและมีคุณภาพเข้ามา คงต้องดูในอดีตว่าส.ว. ที่มา
จากการแต่งตั้งว่าเขาเลือกคนมาอย่างไร และดูผลงานของเขา ซึ่งต้องมาดู
คุณภาพของส.ว.ชุดเก่าและชุ ดใหม่มันต่างกันอย่างไร และผลงานมันต่างกัน
อย่างไร เช่น กรณีคุณมีชัย ฤชุพันธุ์ บอกว่าจำเป็นต้องเร่งออกกฎ หมาย
11 ฉบับ โดยบอกว่ารัฐบาลเร่งมา ซึ่งมันไม่ถูก ทำอย่างนี้แปลว่าปล่อยให้
ฝ่ายบริหารแทรกแซ งได้ ทั้งๆ ที่เขาแต่งตั้งคุณเพื่อไปกรองกฎ หมายไม่
ว่าจะวิกฤตอย่างไร ก็ไม่จำเป็นต้องออก ถ้าเป็นผมกฎหมายฉบับนี้ ผมคว่ำ
แน่ เพราะรัฐบาลออกพระราชกำหนดได้อยู่แล้ว และวุฒิก็ไม่เสียชื่อ ไม่ใช่มา
บอกว ่าเพราะอย่างนั้นอย่างนี้
ส.ว.ในอดีตที่มาจากการแต่งตั้งก็มีการจัดสัดส่วนเป็นก๊กเป็นพวก
ผมว่าน่าไปดูการตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฝรั่งเศล ซึ่งมี 9 คน เขา
ให้ประธานาธิบดีตั้งได้ 3 คน ประธานสภาผู ้แทนราษฎรตั้งได้ 3 คน
ประธานวุฒิสภาตั้ง 3 คน ไม่มีการกำหนดคุณสมบัติใดๆ ทั้งสิ้น แต่เกิด
อะไรขึ้นรู้ไหม ประธานนาธิบดีไปดึงเอานักกฎหมายเกรดเอจากมหาวิทยาลัย
ทั้งคณบดี อธิการบดี มาดำรงตำแหน่ง ตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญ ด้าน
ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา ก็ไปดึงเอามือกฎหมายชั้น
เยี่ยมมาทำหน้าที่นี้เหมือนกัน การทำงานที่ผ่านมาของตุลาการศาลรัฐธร
รมนูญฝรั่งเศส จึงไม่เคยมีปัญหา ไม่เคยมีคนด่า เพราะต่างฝ่ายต่างแข่งกัน
คัดเลือกแต่คนที่ดีมีคุณภาพเข้ามาทำงาน เนื่องจากมองว่าผู้ที่จะมาดำรง
ตำแหน่งนี้เป็นหน้าเป็นตา เป็นศักดิ์ศรีให้แก่ตนเอง
ดังนั้นจึงอยู่ที่หนแรกที่เลือกคนเข้ามา ซึ่ งช่วงที่สมาชิกสภาร่างรัฐธร
รมนูญระบุว่าให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งนั้น เพราะมองว่าคนดีมีความสามารถและ
เป็นที่รู้จักของประชาชนจะมาลงสมัครเยอะ แต่ ปรากฏว่าคนเหล่านี้ไม่
ค่อยเข้ามาเพราะมองว่าเปลืองตัว จ ึงทำให้ได้ นายแมว นายหมู เข้ามา
แทน ประชาชนก็ผิดด้วยที่ไปเลือกคนพวกนี้ เข้ามาเป็นส.ว.