หน้าแรก บทความสาระ
แนวคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น “ไม่ผูกพันตนไม่ผูกพันคู่ความ” กระทบคุณภาพ/ความน่าเชื่อถือหรือไม่
31 กรกฎาคม 2554 21:30 น.
 
บริษัท ก. ลงนามข้อตกลงร่วมทุนกับบริษัท ข. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย จัดตั้งบริษัท ค. เพื่อเปิดให้บริการบัตรโทรศัพท์แบบชำระเงินล่วงหน้าและชำระเงินภายหลัง โดยบริษัท ก. และ ข. มีกรรมการฝ่ายละ 1 คน ร่วมลงนามทำนิติกรรมแทนบริษัท ค. และ บริษัท ข. ลงนามสัญญาดำเนินการให้บริการบัตรโทรศัพท์กับบริษัท ค. มีระยะเวลา 10 ปี มีข้อตกลงระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ และสัญญาผู้ถือหุ้นระหว่าง บริษัท ก และบริษัท ข. เป็นเอกสารประกอบสัญญาดำเนินการฯ ก่อนพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 มีผลใช้บังคับ
       บริษัท ค. เปิดให้บริการ ต่อมามีข้อพิพาทระหว่างบริษัท ข. และ บริษัท ค. บริษัท ข. ทำการปิดการให้บริการโทรศัพท์ ส่งเจ้าหน้าที่เข้ายึดเครื่องอุปกรณ์และโครงข่ายการให้บริการ พร้อมกับบอกเลิกสัญญาดำเนินการฯ
       บริษัท ค. ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลแพ่ง ศาลแพ่งวินิจฉัยว่า สัญญาพิพาทไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่ง มีคำสั่งยกคำร้อง
       บริษัท ค. ไม่สามารถยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครองชั้นต้น เนื่องจากกรรมการฝ่ายบริษัท ข. ไม่ยินยอมร่วมลงนามแต่งตั้งทนายความยื่นคำฟ้อง บริษัท ก. ในฐานะผู้ถือหุ้นตามสัญญาผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการในบริษัท ค. จึงได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครองชั้นต้น ศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยว่า บริษัท ก. มิได้เป็นคู่สัญญาพิพาท จึงไม่เป็นผู้เสียหายหรืออาจเสียเสียหายตามมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มีคำสั่งยกคำร้อง
       บริษัท ก. ยื่นอุทธรณ์ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า แม้ผู้ฟ้องคดีจะมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาดำเนินการให้บริการบัตรโทรศัพท์อันเป็นสัญญาพิพาทก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวระบุให้สัญญาผู้ถือหุ้นเป็นสัญญาแนบท้าย จึงถือว่าสัญญาผู้ถือหุ้นเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาดำเนินการฯ ในส่วนว่าด้วยคณะกรรมการของบริษัท ค. กำหนดว่า การลงมติของคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการดำเนินการทั่วไปของบริษํทจะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 เสียงและต้องมีเสียงของคณะกรรมการที่มาจากบริษัท ข. 1 เสียงในมติที่ประชุมคณะกรรมการดังกล่าวด้วยเสมอ และประธานกรรมการซึ่งเป็นบุคคลากรของบริษัท ข. ยังมีสิทธิยับยั้งของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้ด้วย อีกทั้งตามมีข้อกำหนดให้ตัวแทนกรรมการบริษัทของบริษัท ค. และบริษัท ข. ฝ่ายละ 1 คน มีอำนาจลงนามในนิติกรรมสัญญาผูกพันบริษัทได้ จากข้อสัญญาดังกล่าว เห็นได้ว่า เมือ่มีความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ของบริษัท ค. กับบริษัท ข. บริษัท ค. ซึ่งเป็นคู่สัญญาตามสัญญาดำเนินการฯ ไม่สามารถดำเนินการใดๆ อันเป็ฯการรักษาผลประโยชน์ของตนในฐานะคู่สัญญาตามสัญญาผู้ถือหุ้น ได้ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องได้ความว่า บริษัท ค. ไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้ เนื่องจากไม่รับมติเห็นชอบจากกรรมการที่มาจากบริษัท ข. บริษัท ค. ในฐานะผู้ถือหุ้นซึ่งมีอำนาจในการควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการบริษัท จึงเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องจากการกระทำของบริษัท ข. ดังนั้น การที่บริษัท ก. ยื่นฟ้องบริษัท ข. เพื่อให้บริษัท ข. กระทำการหรือละเว้นกระทำการเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายให้แก่บริษัท ก. จึงเป็นการฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการของบริษัท ค. บริษัท ก. จึงเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีแทนบริษัท ค. ได้โดยตรงตามมาตรา 42วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542  กับวินิจฉัยว่า สัญญาผู้ถือหุ้นและสัญญาดำเนินการให้บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง พ.ศ. 2542  คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองและอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วย จึงมีคำสั่งยกคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องไว้พิจารณา ต่อมา ศาลปกครองชั้นต้น มีคำสั่งยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว
       เนื่องจากสัญญาพิพาทมีข้อตกลงสัญญาอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม บริษัท ค. เสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ ข้อให้เพิกถอนหนังสือบอกเลิกสัญญาดำเนินการฯ คืนเครื่องอุปกรณ์และโครงข่ายการให้บริการ และชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย และเสนอคำสั่งศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวเข้าสู่สำนวนความ คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่าสัญญาพิพาทเป็นสัญญาทำการตลาดบัตรโทรศัพท์ให้แก่บริษัท ข. การบอกเลิกสัญญาดำเนินฯ ของบริษัท ข. จึงชอบด้วยกฎหมาย
       บริษัท ค. ยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าวต่อศาลปกครองชั้นต้น ภายหลังจากรับฟ้องและคดีอยู่ระหว่างไต่สวน ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ ไม่รับคำฟ้องโดยวินิจฉัยว่า บริษัท ค. มิใช่เป็นผู้เสียหายหรืออาจเสียหายตามมาตรา 42 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ที่รับฟ้องก่อนหน้านี้ เพราะผิดหลง
       บริษัท ค. ไม่เห็นชอบด้วย เพราะก่อนหน้านั้นศาลปกครองสูงสุดได้เคยมีคำวินิจฉัยเป็นที่ยุติแล้ว จึงยื่นอุทธรณ์ ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำวินิจฉัยว่า ในส่วนว่าด้วยคณะกรรมการของบริษัท ค. กำหนดว่า การลงมติของคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการดำเนินการทั่วไปของบริษํทจะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 เสียงและต้องมีเสียงของคณะกรรมการที่มาจากบริษัท ข. 1 เสียงในมติที่ประชุมคณะกรรมการดังกล่าวด้วยเสมอ และประธานกรรมการซึ่งเป็นบุคคลากรของบริษัท ข. ยังมีสิทธิยับยั้งของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้ด้วย อีกทั้งตามมีข้อกำหนดให้ตัวแทนกรรมการบริษัทของบริษัท ค. และบริษัท ข. ฝ่ายละ 1 คน มีอำนาจลงนามในนิติกรรมสัญญาผูกพันบริษัทได้ จากข้อสัญญาดังกล่าว เห็นได้ว่า เมือ่มีความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ของบริษัท ค. กับบริษัท ข. บริษัท ค. ซึ่งเป็นคู่สัญญาตามสัญญาดำเนินการฯ ไม่สามารถดำเนินการใดๆ อันเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตนในฐานะคู่สัญญาตามสัญญาผู้ถือหุ้น ได้ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องได้ความว่า บริษัท ค. ไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้ เนื่องจากไม่รับมติเห็นชอบจากกรรมการที่มาจากบริษัท ข. บริษัท ค. ในฐานะผู้ถือหุ้นซึ่งมีอำนาจในการควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการบริษัท จึงเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องจากการกระทำของบริษัท ข. ดังนั้น การที่บริษัท ก. ยื่นฟ้องบริษัท ข. เพื่อให้บริษัท ข. กระทำการหรือละเว้นกระทำการเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายให้แก่บริษัท ก. จึงเป็นการฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการของบริษัท ค. บริษัท ก. จึงเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีแทนบริษัท ค. ได้โดยตรงตามมาตรา 42วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542  กับวินิจฉัยว่า สัญญาผู้ถือหุ้นและสัญญาดำเนินการให้บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง พ.ศ. 2542  คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองและอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วย จึงมีคำสั่งยกคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องไว้พิจารณา ต่อมา ศาลปกครองชั้นต้น มีคำสั่งยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว
        ระยะเวลาที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ไม่รับฟ้องคำร้องของบริษัท ก. และคดีอยู่ระหว่างที่บริษัท ก. ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นนั้น บริษัท ข. ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองชั้นต้นให้มีคำบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และภายหลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคำวินิจฉัยและมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น บริษัท ข. ยื่นคำฟ้องต่อศาลล้มละลายมีคำพิพากษาให้บริษัท ค. ล้มละลาย
       ศาลปกครองชั้นต้นร่วมสังฆกรรมโดยยอมรับตามคำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการ โดยวินิจฉัยว่า สัญญาดำเนินการฯ เป็นสัญญาทำการตลาดให้กับบริษัท ข. และมีคำพิพากษายกคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการของบริษัท ก. กับมีคำพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการตามคำร้องของ บริษัท ข. โดยมิได้แสวงหาข้อเท็จจริงตามกระบวนวิธีพิจารณาคดีตามกฎหมายมหาชน คดีปกครองและสัญญาพิพาททางปกครองอันเป็นคดีหลัก
       ข้อสังเกตุ
       1. ในการจัดทำคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น จะต้องผูกพันตนตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แล้ว ในทางธรรมเนียมปฎิบัติอันเป็นกฎเกณฑ์ของฝ่ายตุลาการหรือองค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการนั้น ศาลที่พิจารณาและพิพากษาคดีต่ำกว่า จะต้องผู้พันตนตามแนวคำพิพากษาของศาลที่พิจารณาหรือพิพากษาคดีที่สูงกว่า ทั้งในระบบศาลเดียวกัน เช่น ศาลปกครองกลางยึดถือแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด หรือศาลจังหวัดเชียงใหม่พิจารณาและมีคำพิพากษาคดีตามแนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกา
       คดีดังกล่าวข้างต้น กลับปรากฎว่า ศาลปกครองชั้นต้นมิได้เคารพหลักการของบรรพตุลาการที่ปฎิบัติกันมา กลับทั้งมิได้แสดงเหตุผลโต้แย้งว่า เหตุจึงวินิจฉัยเช่นนั้นและโดยอาศัยหลักกฎหมายหรือกฎหมายใด ด้วยเหตุผลใด คำวินิจฉัยของศาลปกครองชั้นต้น จึงมีความถูกต้อง สมบูรณ์พูนพร้อมในหลักกฎหมายต่างไปจากแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดโดยมีนัยสำคัญ
       ศาลปกครองชั้นต้นในฐานะผู้เชี่ยวชาญในกฎหมายปกครองและกฎหมายมหาชนย่อมต้องรู้อยู่แล้ว นิติวิธีทางกฎหมายมหาชน กับนิติวิธีทางกฎหมายแพ่งนั้นเหมือนและแตกต่างกันอย่างไรและที่สำคัญประด็นข้อพิพาทในคดี คือ ต้องแสวงหาข้อเท็จจริงไปในทิศทางใดบ้าง และผลคดีจะเป็นเช่นใด โดยอาศัยเงื่อนไขใด
       ศาลปกครองชั้นต้นทราบอยู่แล้วว่า ณ วันที่คณะอนุญาโตตุลาการพิจารณาข้อเรียกร้องและมีคำวินิฉัยนั้น ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยในสัญญาพิพาทเดียวกันและอยู่ในสำนวนความแล้วว่า “คดีนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองและอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีทางปกครอง พ.ศ. 2542”
       การที่คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทสำคัญคดีไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยในคดีเดียวกันนั้น ไม่อาจและไม่สามารถทำได้เลยในทางกฎหมายและไม่ควรจะกระทำอย่างยิ่ง เพราะเท่ากับเป็นการปฎิเสธหลักคำพิพากษาผู้พันคู่ความ และมีบทบัญญัติไว้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พศ.ศ 2540 มาตรา 70 เพราะคู่ความในคดีพิพาทที่คณะอนุญาโตตุลาการกำลังพิจารณานั้น ได้ผูกพันตนตามคำสั่งของศาลปกครองแล้ว คำชี้ขาดส่วนนี้ของคณะอนุญาโตตุลาการจึงอาจขัดต่อหลักคำพิพากษาผูกพันคู่ความตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศิลธรรมอันดีของประชาชน
       2. แท้จริงแล้ว คณะอนุญาโตตุลาการแสดงการปฎิเสธกำรดำรงและการมีอยู่ของศาลปกครองสูงสุดใช่หรือไม่ และแสดงการปฎิเสธระบบศาลคู่อยู่ใช่หรือไม่ ทั้งๆที่ฐานะของศาลปกครองนั้น รัฐธรรมนูญซึ่งนักกฎหมายถือว่า เป็นกฎหมายสูงสุด ได้บัญญัติเรื่องการมีอยู่ของศาลปกครองตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (ซึ่งใช้บังคับในขณะอนุญาโตตุลการมีคำวินิจฉัย) ต่อมาจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 อันเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายให้อำนาจกระทำการพิจารณาและพิพากษาคดีในกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง ซึ่งมีนิติฐานะเช่นเดียวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่บังคับใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง
       ดังนั้น การที่ศาลปกครองชั้นต้นไปร่วมสังฆกรรมโดยยอมรับตามคำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการ ซึ่งมีทิศทางการวินิจฉัยคดีตรงข้ามกันกับศาลปกครองสูงสุดโดยสิ้นเชิงเช่นนี้ จึงเท่ากับศาลปกครองชั้นต้นไม่เคารพต่อคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งเป็นสัญญาพิพาทเดียวกัน คู่ความเดียวกัน และในศาลเดียวกัน ใช่หรือไม่
       แนวทางวินิฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการและศาลปกครองชั้นต้นตรงข้ามกับแนววินิฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา สตง. กทช. ศาลแพ่ง และศาลปกครอสูงสุด อาจทำให้บริษัทอเมริกันซึ่งเป็นนักลงทุนต่างชาติถือหุ้นร้อยละ 20 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมดของบริษัท ก. หรือเท่ากับถือหุ้นทางอ้อมคิดเป็นร้อยละ 14.80% ในบริษัท ค. อาจใช้สิทธิและใช้กระบวนยุติธรรมในประเทศสหรัฐอเมริกาตามที่ระบุในข้อตกลงการลงทุนระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย คล้ายกรณีนักลงทุนต่างชาติในกรณีทางด่วนโทลเวย์ จนมีการยึดทรัพย์หรืออายัดเครื่องบินพระที่นั่งเกิดขึ้นในประเทศเยอรมันนี เมือ่เร็วๆนี้ แต่หวังว่า ในสัญญาพิพาทนี้ ซึ่งฝ่ายหนึ่งเป็นเอกชนและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย จะไม่มีการฟ้องร้องต่อองก์กรใช้อำนาจยุติธรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา จนอาจมีการยึดและอายัดทรัพย์สินสถานทูตไทยหรืออายัดหลักทรัพย์พันธบัตรลงทุนของธนาคารแห่งประเทศไทย (สำนักงานสาขานิวยอร์ค) ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง ก็จะเป็นข่าวหน้าหนึ่งในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงในองค์การสหประชาชาติ ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐภาคี และอาจกระทบถึงภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย และการบริหารจัดการของรัฐบาลไทยอย่างแน่นอน
        
       ----------------------------------------------------------------------------------------
       เอกสารอ้างอิง
       

           
  1. คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 610/2546

  2.        
  3. คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 16/25650

  4.        
  5. คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ หมายเลยดำที่ 46/2545 หมายเลขแดงที่ 70/2548

  6.        
  7. คำพิพากษาศาลปกครองกลาง หมายเลยดำที่ 365/2549, 1570/2550 หมายเลขแดงที่ 971/2549, 262/2554

  8.        
  9. ศาลล้มละลาย คดีหมายเลยดำที่ 14798/2550

  10.        

        


 
 
หลักความเสมอภาค
องค์กรอิสระ : ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ โดย คุณนพดล เฮงเจริญ
ปัญหาของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในประเทศไทย
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ผลในทางปฏิบัติ เมื่อครบรอบหกปีของการปฏิรูปการเมือง
หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
   
 
 
 
PAYS DE BREST : COOPERER VOLONTAIREMENT AU SERVICE DU TERRITOIRE
La violence internationale : un changement de paradigme
การลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย: มิติด้านกฎหมายและเทคโนโลยี
Tensions dans le cyber espace humanitaire au sujet des logos et des embl?mes
คุณูปการของศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ต่อการพัฒนากฎหมายปกครองและกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง : งานที่ได้ดำเนินการไว้ให้แล้วและงานที่ยังรอการสานต่อ
การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม
ยาแก้โรคคอร์รัปชันยุคใหม่
สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ คืออะไร
มองอินโด มองไทย ในเรื่องการกระจายอำนาจ
การฟ้องปิดปาก
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544