หน้าแรก บทความสาระ
ระบบเผด็จการทหาร และ ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ต่างก็ ไม่ใช่ “ระบอบประชาธิปไตย” ด้วยกัน (หน้าที่ 1)
ศาสตราจารย์ ดร. อมร จันทรสมบูรณ์
25 กุมภาพันธ์ 2556 15:02 น.
 
การบรรยายในวันนี้  เป็นการบรรยายครั้งแรก ของ วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ และวิทยาลัย ฯ ได้กำหนดให้ผมพูด ในหัวข้อที่ว่าด้วย  “ กฎหมายมหาชน กับ ทิศทางของประเทศไทย”  
                     แต่ก่อนอื่น  ผมคิดว่า  ก่อนที่เราจะรู้ว่า ”ทิศทาง”ของกฎหมายมหาชนของประเทศไทย จะไปทางใหน    เราคงต้องมาทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่า  เราเข้าใจความหมายของ คำว่า   “กฎหมายมหาชน”  ตรงกันหรือไม่  ไม่ใช่ปล่อยให้ผมพูดกันไปตั้งนานแล้ว  ท่านผู้ฟังการบรรยายอาจสงสัยว่า  สิ่งที่ผมบรรยายนั้น ไม่เห็นว่าจะเป็น “ปัญหาที่เกี่ยวกับกฎหมาย(มหาชน)”  ตรงไหน  หรือ  แม้แต่ท่านผู้ฟังการบรรยาย  จะเห็นว่าสิ่งที่ผมพูดเป็น  “ปัญหากฎหมาย(มหาชน)”  แต่ท่านผู้ฟัง ฯ ก็อาจคิดว่า “ปัญหากฎหมาย”  ก็ดูไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร เพียงแต่ส่ง “ปัญหา” ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครอง  ตีความหรือวินิจฉัย เรื่องก็ยุติได้
                     และ  เพราะว่า  เรา(คนไทย)เข้าใจความหมาย ของ คำว่า “กฎหมายมหาชน”  ง่าย ๆ กัน อย่างนี้ นี่แหละครับ  ที่ทำให้คนไทยและประเทศไทย   ต้องตกอยู่ในสภาพเลวร้าย เช่นในขณะนี้
        
                      เรามีเวลา เพียง ๓ ชั่วโมง   ผมเองก็ไม่แน่ใจว่า ผมจะทำความเข้าใจกับท่านที่มาฟังคำบรรยายในวันนี้  ได้ดีแค่ไหน   เพราะ “ปัญหาการเมืองของประเทศไทย” นั้น ไม่ได้อยู่ในขั้นปกติ  แต่อยู่ในขั้นวิกฤติ  เพราะเราปล่อยปละละเลยในการทำความเข้าใจกับปํญหา(กฎหมายมหาชน)และการแก้ปัญหากันมานาน หรืออาจพูดได้ว่า  เรา (คนไทย)ไม่เคยคิดจะทำความเข้าใจ กับ “ปัญหา” เหล่านี้เลย  ก็ว่าได้ ;   และผมเชื่อว่า  คนไทยจะหา “ทางออก”จากปัญหาการเมืองของเรา ไม่ได้เลย  ถ้าไม่เข้าใจ  คำว่า “กฎหมายมหาชน”  
                แต่อย่างไรก็ตาม  ผมก็จะพยายามอย่างดีที่สุดในการบรรยายในวันนี้ และ เพื่อที่จะเข้าใจความหมายของ คำว่า “กฎหมายมหาชน” ที่แท้จริง  และผมคิดว่า วิธีที่ดีที่สุด  เราคงจะต้องเริ่มศึกษาจากเหตุการณ์จริง ๆ  ให้เป็น “กรณีตัวอย่าง - case study”   ที่มองเห็นได้จริง
        
                  ในเวลาบรรยาย  ๓ ชั่วโมง ผมก็จะแบ่งการบรรยายเป็น ๓ ตอน   ตอนละประมาณ ๑ ชั่วโมง โดยจะพยายามสรุปในแต่ละตอน  ให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
                ตอนแรก  “(ทั้ง) ระบบเผด็จการทหาร  และ  (ทั้ง)ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน”  ต่างก็ไม่ใช่  “ระบอบประชาธิปไตย”  ด้วยกัน
                ตอนที่สอง   การเปรียบเทียบ “การปฏิรูปการเมือง”  ของประเทศไทย  กับ“การปฏิรูปการเมือง”  ประเทศญี่ปุ่น ในยุคเดียวกัน  คือ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ( ค.ศ. ๑๘๖๙ ถึง ค.ศ. ๑๙๑๑) รวมเวลา ๔๒ ปี)
                ตอนที่สาม  (ซึ่งเป็นตอนสำคัญ) คือ   ผมเห็นว่า   ประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่มีทิศทางของกฎหมายมหาชน    และเป็นประเทศที่ไม่มีอนาคต  เพราะประเทศไทย ไม่รู้จัก “กฎหมายมหาขน”  โดยแบ่งเป็น ๓ หัวข้อ ดังนี้
        
                        ๓.๑  “กฎหมายมหาชน” และ”นิติปรัชญา”  คือ  อะไร  
                        ๓.๒  (ทำไม ผมจึงพูดได้  ว่า )   ความรู้ (กฎหมายมหาชน)  ของ  “อาจารย์กฎหมาย ในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐของเรา” ล้าหลังประเทศที่พัฒนาแล้ว   อย่างน้อย  ๑๐๐ (หนึ่งร้อย) ปี  
                                (ก)  วิวัฒนาการ   ของตัวบทรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ ของเรา   ทีแสดงให้เห็นว่า “ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ในระบบรัฐสภา”  (ประเทศเดียวในโลก)  เกิดขึ้นในประเทศไทย  ได้อย่างไร    
                                 (ข)  การเปรียบเทียบพื้นฐาน “ความรู้ (กฎหมายมหาชน)” ระหว่าง  อาจารย์กฎหมาย ในคณะนิติศาสตร์ฯ ของเรา ในปัจจุบัน (ค.ศ. ๒๐๑๓)  กับ    ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของญี่ปุ่น ในสมัยพระเจ้ามัตสุฮิโต  (ค.ศ. ๑๘๘๙)                         
                                   “อาจารย์กฎหมาย ในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐของเรา” ในปัจจุบัน ( ค.ศ. ๒๐๑๓ - พ.ศ. ๒๕๕๖) ไม่มี “ความรู้ “  ในวิวัฒนาการ ของ “กลไก - mechanism” ในระบบสถาบันการเมือง - form of government   แต่นักกฎหมายและนักการเมืองของญี่ปุ่น  เขามี “ความรู้” เรืองนี้กันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้ามัตสุฮิโตในต้นรัชกาลที่ ๕ ของเรา  เป็นเวลา ๑๒๓ ปี มาแล้ว   [หมายเหตุ :    พระเจ้ามัตสุฮิโตพระราชทานรัฐธรรมนูญ แก่คนญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. ๑๘๘๙]
                                 (ค)  การขาด “ความรู้” ของอาจารย์กฎหมาย ในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐของเรา และการขาด “พื้นฐานทางความคิดทางนิติปรัชญาในยุค ศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐”   ทำให้ อาจารย์กฎหมาย ในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐของเรา   ไม่สามารถสังเกตเห็น    “ความเสื่อมของสภาพสังคม”  อันเป็นผลมาจาก  “กลไก ของระบบสถาบันการเมือง” (ในระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน ฯ  ประเทศเดียวในโลก )   ของเรา  
                          และ ทำให้ อาจารย์กฎหมาย ฯ  มองไม่เห็น “ความไร้ประสิทธิของระบบบริหาร”  อันเนื่องมาจากความพิกลพิการของกลไกในกฎหมายปกครอง  (ระบบกระบวนการยุติธรรม - ตำรวจ - อัยการ - ตุลาการ / ระบบการบริหารราชการประจำ / ระบบการกระจายอำนาจ)   ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในขณะนี้   ไม่เกิดขึ้นในประเทศอื่น
        
                             ๓.๓   ทางออกของ “คนไทย” 
                               (ก) สร้าง “ความรู้ (กฎหมายมหาชน) ” ให้คนไทย   โดยเร็วที่สุด    โดยการทำตามอย่างประเทศญี่ปุ่น และ เกาหลีได้   จีน ไต้หวัน  คือ  การแปล “ตำรากฎหมาย” จากประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างกว้างขวาง  (เพราะ “ความรู้” ของอาจารย์กฎหมายในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ของเราในปัจจุบัน    ยังไม่ (สูง) พอที่จะแก้ปัญหาให้เรา)
                           และนำวิธีการวิจัยกฎหมาย (ในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบ  -  comparative law )   เข้ามาใน “กระบวนการตรากฎหมาย ของ สภานิติบัญญัติ” (ตามอย่าง “วิธีการ”ของ ประเทศที่พัฒนาแล้ว)  และยกระดับการวิจัยกฎหมาน  ให้ได้มาตรฐานในกฎหมายเปรียบเทียบ  ที่ใกล้เคียงกับ “มาตฐานของประเทศที่พัฒนาแล้ว”  โดยเร็ว   [หมายเหตุ  ซึ่งไม่ใช่  มาตรฐานการวิจัย ของ “สถาบันพระปกเกล้า”  ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕  เรื่อง  “การสร้างความปรองดองแห่งชาติ” ]
                         ถ้าเราไม่ทำเช่นนี้  เรา(คนไทย) ก็จะออกจาก “กะลา” ไม่ได้
                  
                           (ข) การมี  “Statesman” (ผู้นำที่“ความรู้” / มี “ความเสียสละ” / และ มีอำนาจรัฐ  ประกอบกับ “บารมี” ที่ประชาชนให้ความเชื่อถือศรัทธาอย่างกว้างขวาง)    เป็น “ เงื่อนไข”  ที่จำเป็นอย่างยิ่ง   สำหรับการปฏิรูปการเมือง  ของ  “รัฐสมัยใหม่ - modern state”   ที่เต็มไปด้วย “กลไก(กฎหมาย) ในการบริหารประเทศ”  อันสลับซับซ้อน
                          เพราะ  Statesman  มี “หน้าที่” ที่จะต้องนำการปฏิรูปการเมือง และมี “หน้าที่” ที่จะต้องอธิบายให้แก่คนไทยทั้งประเทศ  เข้าใจ “กลไก -  mechanism  ของระบบการเมืองสถาบันการเมือง ฯลฯ” ว่า  กลไกเหล่านี้  จะก่อให้เกิด “ประโยชน์ส่วนรวม” (คือ  ประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่) ได้อย่างไร  ก่อนที่จะมีการออกเสียงประชามติ -  referendum ( อันเป็น “วิธีการ”อันจำเป็นต้องทำ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย) 
                       การเขียน (ออกแบบ)  รัฐธรรมนูญ สำหรับรัฐสมัยใหม่ - modern state เป็นวิชาการ  ซึ่งไม่ใช่เรื่องของ “การลงมติเป็นรายมาตรา  ด้วยเสียงข้างมากของผู้มีส่วนได้เสีย โดยอ้างว่า  เพื่อความเป็นประชาธิปไตย”   และ แสวงหาประโยชน์จาก “ความไม่รู้” ของคนส่วนใหญ่
                         [หมายเหตุ  โปรดดูประสพการณ์ในการปฏิรูปกฎหมาย ของ สหรัฐอเมริกา โดย ประธานาธิบดี Woodrow Wilson ใน ค.ศ. ๑๙๑๘ ถึง ๑๙๒๔  และ  จากประสพการณ์ในการปฏิรูปการเมืองใน “ระบบรัฐสภา”   ของประเทศฝรั่งเศส หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดย ประธานาธิบดี De Gaulle  ใน ปี ค.ศ. ๑๙๕๘   ได้จากหนังสือ “ผลไม้มีพิษ มาจากต้นไม้ที่มีพิษ จริงหรือ (?)”   สำนักพิมพ์วิญญูชน  พ.ศ. ๒๕๕๕ ]
                         ปัญหาของเรามีว่า  ถ้าเรา (คนไทย)ไม่มี “Statesman”  ที่มี “คุณสมบัติทั้ง ๓ ประการ  ครบถ้วนอยู่ในตัวบุคคลคนเดียวกัน”    เราจะทำอย่างไร  และจะหาอะไร มาแทน
        
                      บทสุดท้าย   นิติปรัชญากฎหมายมหาชน  สอนให้เรารู้ว่า  เราไม่สามารถ”ปฎิรูปการเมือง”ได้  โดยนักการเมืองนายทุน   ที่จะต้องสูญเสีย “อำนาจ”  เพราะการปฏิรูปการเมือง
                        นอกจากนั้น   ท่านทราบหรือไม่ว่า  การทุจริตคอร์รัปชั่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้   ย่อมจะไม่ปรากฎ “ใบเสร็จ”    ถ้าไม่มีบทกฎหมาย  กำหนดให้มี “การทำและออกใบเสร็จ    ;   ประเทศไทยมี “กฎหมายปกครอง” (ระบบพื้นฐานของการบริหารราชการ)ที่พิกลพิการ   เราจึงเต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งทางตรงและทางอ้อม  ;  และถ้าเราไม่ปฏิรูปการเมืองที่ทำให้ “คนดี”ได้มาปกครองบ้านเมือง    เราก็คงจะไม่มี “ผู้ใด”  ที่จะ ออกกฎหมายกำหนดให้มี “การทำและออกใบเสร็จ” ; และดังนั้ร  เราคงไม่ประหลาดใจ  ทำไม นักการเมืองนายทุนในปัจจุบันจึงพูดถึงแต่เรื่องการกู้เงินและการใช้จ่ายเงินงบประมาณ  แต่ไม่มีนักการเมือง  แต่ไม่พูดถึงการออกกฎหมายที่ทำให้การทุจริตคอร์รัปชั่น  ปรากฎ “ใบเสร็จ” 
                 คนไทยทุกคนทราบดีว่า  องค์กรระหว่างประเทศ (องค์กรต่อต้านการคอร์รัปชั่นสากล - GFI) (มกราคม ๒๕๕๖)  เขาจัดให้ “การทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศไทย”  อยู่ในระดับต้น ๆ ของลำดับโลก  และเขาประมาณการว่า  ประเทศไทยมีการลักลอบนำเงินที่ได้มาจากการทุจริตคอร์รัปชั้นออกนอกประเทศ ในช่วง ๑๐ ปีหลังนี้ เฉลี่ยปีละ ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท  และในปีที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๕๕)  จำนวนเงินได้สูงขึ้นถึง ๕๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ;  และ  ในขณะนี้  “ชนชั้นนำ” ที่เป็นเอกชนของเราบางกลุ่ม  ได้ร่วมกันก่อตั้ง “แนวร่วมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (Collective Anti -  Corruption หรือ CAC) ขึ้น   แต่ท่านผู้ที่มาฟังการบรรยายในวันนี้    ท่านเคยแปลกใจบ้างหรือไม่ว่า  ทำไม  ชนชั้นนำ(เอกชน)เหล่านี้  จึงไม่เคยพิจารณา ว่า  “สาเหตุ” ของการการทุจริตคอร์รัปชั่นของเรา อยู่ที่ไหน และเกิดจากอะไร ( และทำไม  จึงไม่คิดแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น  ที่ “เหตุ”ของปัญหา)  ;  คำตอบก็คือ  เพราะชนชั้นนำ (เอกชน)เหล่านี้  ไม่รู้จัก “กฎหมาย (มหาชน)”   และการที่ชนชั้นนำเหล่านี้  ไม่รู้จักกฏหมายมหาชน   ก็เพราะอาจารย์กฎหมายในคณะนิติศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ของเรา  ไม่ได้สอนนั่นเอง
        
       ----------------------------------------------------------------
        
                       โดยในตอนแรก  ผมจะพยายาม  ทำความเข้าใจ กับความหมายของ  คำว่า “กฎหมายมหาชน” โดยใช้ “ตัวอย่าง”จริง  จากบทมาตราของรัฐธรรมนูญต่างประเทศ   เพื่อประเมินว่า   เรามี“ความรู้ (กฎหมายมหาชน)” ในระดับใด  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความรู้(กฎหมายมหาชน)”  ของอาจารย์กฎหมาย ที่สอนกฎหมายอยู่ในคณะนิติศาสตร์  และในคณะรัฐศาสตร์   ในมหาวิทยาลัยของรัฐของเรา   อยู่ในขณะนี้
                      ในตอนที่สอง จะ เป็นการเปรียบเทียบ ผลสำเร็จ (การบรรลุผล)  ของ “การปฏิรูปการเมือง”  ของประเทศไทยกับของประเทศ ญี่ปุ่น  ในสมับรัชกาลที่ ๕   ค.ศ. ๑๘๖๙ - ค.ศ. ๑๙๑๑  (พ.ศ. ๒๔๑๑ - พ.ศ. ๒๔๕๓)  เป็นเวลา ๔๒ ปี  ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมาก    เพื่อตรวจดูว่า  อะไร  คือ  “สาเหตุ” ของความแตกต่างในผลสำเร็จในการปฏิรูปการเมืองของเราทั้ง ๒ ประเทศouh    ซึ่งก็จะเป็น “เหตุการณ์จริง”  เช่นดียวกัน
        
               ตอนที่สาม  เมื่อเราได้รับทราบ  “ข้อเท็จจริง -  facts”  ใน   ๒  ตอนข้างต้น แล้ว  เรา ก็จะลองพิจารณา  ดูว่า จริง ๆ แล้ว  “กฎหมายมหาชน” คือ   อะไรกันแน่ 
       --------------------------------------------------------------------------
        
              อันที่จริงแล้ว   ตามความเห็นของผม  ผมเห็นว่า  สภาพการเมืองและปัญหาความแตกแยกของคนไทย  ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้   คนไทยกำลัง จ่ายราคาของการรักษา “ความเป็นเอกราช” ของเราในสมัยรัชกาลที่ ๕    ซึ่งเพราะการเป็นเอกราชนี้เอง   ทำให้ประเทศไทย “ไม่ได้มีโอกาส”  ได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์ และรูปแบบ  “ระบบกฎหมายมหาชน” (ที่เป็นพื้นฐานของการบริหารประเทศ)  จากประเทศมหาอำนาจที่เข้ามาครอบครอง   
               และในขณะนี้   ผมเห็นว่า  การที่เรา(คนไทย)ไม่มีความรู้กฎหมาย(มหาชน)”   คงไม่ใช่เป็นเพราะความผิดของ “นักกฎหมาย” ทั้งประเทศ   แต่ผมคิดว่า  การที่เรา(คนไทย)ไม่มี “ความรู้ในกฎหมายมหาชน”    เป็นความรับผิดชอบโดยตรง   ของ “อาจารย์กฎหมาย ในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ของเรา”  ที่สอนไม่ดี   และทำให้ “นักกฎหมายของเราทั้งประเทศ”    มี “ความรู้( กฎหมายมหาชน)”  เพียงเทานี้  และเป็นศรีธนญไชยกันทั้งประเทศ
        
                    อาจารย์กฎหมาย ในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของเรา  ไม่มี  “ความรู้” พอที่จะพัฒนา (ออกแบบ)  “กฎหมายมหาชน” (ที่ใช้บังคับในการบริหารประเทศ)  ให้มีประสิทธิภาพได้เหมือนประเทศญี่ปุ่น หรือแม้แต่เหมือนกับ  ประเทศไต้หวัน / เกาหลีไต้ / ประเทศจีน    ซึ่งประเทศเหล่านี้  มีการแปลตำรากฎหมายของประเทศพัฒนาแล้วไว้สอนนักศึกษากฎหมาย   อย่างกว้างขวาง  ; ซึ่งแตกต่างกับ  ตำรากฎหมายของอาจารย์กฎหมายในคณะนิติศาสตร์ของเรา   ซึ่งเป็นตำราที่เขียนขึ้น  เท่าที่ “ตนเอง(อาจารย์)” มีความรู้   และลอกกันไปลอกกันมา  สลับหัวข้อในสารบัญ (และเพิ่มเติมตัวอย่างคำพิพากษาของศาลฎีกาให้มีจำนวนมากขึ้น) เพื่อให้ดูว่าเป็นตำราที่แตกต่างกัน   ;   แต่อันที่จริงแล้ว   สาระในตำราคงเหมือนเดิม และไม่มีความก้าวหน้า  ;   ตำรากฎหมายที่ใช้สอนนักศึกษากฎหมาย ในมหาวิทยาลัย  ของเรา  จึงเป็นตำรา ของ “กบที่อยู่ในกะลา”   
                    
               ผมพบว่า   อาจารย์ที่จบกฎหมายจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศ (บางท่าน)  รู้ภาษาต่างประเทศครึ่ง ๆ กลาง ๆ    แปลผิดบ้างถูกบ้าง และ  บางท่านก็ลอกตำราต่างประเทศ มาขึยนเป็น “ตำราหรือเอกสารรการบรรยาย”สำหรับสอนนักศึกษา  โดยตัดตอนแปลมา เฉพาะใน “ส่วน” ที่ตนเองอ่านเข้าใจ  ส่วนที่ตนเองอ่านไม่เข้าใจ  ก็ข้ามไป  [หมายเหตุ  โปรดดู “ข้อเท็จจริง” เกี่ยวกับปัญหานี้(บางส่วน)  จาก หนังสือ (รวมบทความของอาจารย์กฎหมาย กรณีคำสั่งของศาลปกครองกลางเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรีเรื่องเขาพระวิหาร)  เรื่อง  “การกระทำทางรัฐบาล หรือ การกระทำของรัฐบาล”  (act de gouvernement )  รวบรวมโดย ดร.เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล  จัดพิมพ์  โดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน ปี  พ.ศ. ๒๕๕๔  ]      
               และเพราะอาจารย์กฎหมายของเรา  มี “ความรู้”อย่างจำกัดเช่นนี้    เมื่อประเทศไทย  มีปัญหาว่า  “รัฐบาล” (ในการปกครองในระบบรัฐสภา)ของเรา ไม่มีเสถียรภาพ   เพราะ ส.ส.เรียกร้อง “ซอง”จากผู้ที่เป็นรัฐบาล  ก่อนที่จะยกมือสนับสนุนพระราชญัติงบประมาณรายจ่ายฯ / หรือญัติของรัฐบาล    อาจารย์กฎหมายในคณะนิติศาสตร์ ฯ ของเรา  ก็แก้ปัญหาอย่างง่าย ๆ    ด้วยการเขียน(ออกแบบ)รัฐธรรมนูญ บังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง  เพื่อที่จะให้พรรคการเมืองควบคุม ส.ส. ภายในพรรค  และจะได้เจรจากับรัฐบาล อย่าวเป็นกลุ่มเป็นก้อน  (ซึ่งวิธีการนี้ ในที่สุด  ได้นำไปสู่ การผูกขาดอำนาจรัฐ  โดย “นายทุนเจ้าของพรรคการเมือง”)  โดยที่ท่านอาจารย์กฎหมายเหล่านี้   ไม่มี “ความเฉลียว” พอ  ที่จะคิดว่า  เพราะเหตุใด  ประเทศที่พัฒนาแล้ว  เขาจึงไม่ใช้วิธีการนี้  และท่านอาจารย์กฎหมาย ฯ เหล่านี้ ใม่มี “ความสามารถ” พอ   ที่ศึกษาว่า  ประเทศที่พัฒนาแล้ว  เขามีวิธีการอย่างไร  เขาจึงสร้างเสถียรภาพให้แก่ “รัฐบาล”ของเขา  ได้  โดยไม่ต้องบังคับให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง  
        
                 และ เพราะเหตุนี้  ผมจึงสรุปว่า ในตอนที่ ๓   นี้ว่า  “ประเทศไทยเป็นประเทศที่ไร้ทิศทางของกฎหมายมหาชน  และเป็นประเทศที่ไม่มีอนาคต    เพราะเราไม่มี “ความรู้กฎหมาย(มหาชน)”    
        
                                                     ========================================
                                                                   ( ตอนที่ ๑ )
       ระบบเผด็จการทหาร  และ ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนต่างก็ไม่ใช่ “ระบอบประชาธิปไตย” ด้วยกัน  
         ------------------------------------------------------
               ● “ระบอบประชาธิปไตย”  คืออะไร  และ หลักการของ “ความเป็นประชาธิปไตย” อยู่ที่ไหน
                    ทุกวันนี้ หรือ ทุก ๆ เช้า   เราได้ยินแต่ การโฆษณาทางวิทยุ และโทรทัศน์  โดยนักการเมืองบอกกับเราว่า  คนไทยไม่เอา “การปฏิวัติและรัฐประหาร “  เพราะเป็น “เผด็จการ” ;   แต่เราไม่ได้ยิน  ผู้ใดมาบอกกับเราว่า  ในปัจจุบันนี้  เราเป็นเผด็จการเหมือนกัน  และเป็น “เผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน”    และเราไม่มีนักวิชาการท่านใด  มาวิเคราะห์ให้เรา ฟังว่า  ระหว่าง “การเป็นเผด็จการ  โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นทหาร”  กับ  “การเป็นเผด็จการ  โดยมีนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง เป็นนายกรัฐมนตรี”  อย่างไหนจะดีกว่ากัน  และระบบไหน  จะมีการทุจริตคอร์รัปชั่น  มากน้อยกว่ากัน
              แต่อย่างไรก็ตาม   เรื่องเหล่านี้  ผมคิดว่า  เรา (คนไทย โดยทั่ว ๆ ไป)  คิดเอาเองได้ ;  แต่ในที่นี้  เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า  “ระบอบประชาธิปไตย”  คือ  อะไร
         
                 เราทุกคนทราบอยู่แล้วว่า  ระบอบประชาธิปไตย  คือ  ระบอบการปกครอง ที่ต้องมี  “สภาผู้แทนราษฎร”  ที่ให้ประชาชน (ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง)  เลือก “ผู้แทน”  เพื่อให้มาใช้ “อำนาจอธิปไตย” แทนประชาชนทั้งประเทศ
                  ระบอบประชาธิปไตย  เป็น  ระบอบการปกครองที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ  กับ  การมี “รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร - writen constitution “ ;  และ รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโลก  คือ  รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา  ปี ค.ศ. ๑๗๘๗   และหลังจากนั้น ในช่วงเวลา  ๒๐๐ ปีเศษที่ผ่านมา คือ ในปลาย ศตวรรษที่ ๑๘ และ ต้นศตวรรษที่ ๑๙   โลกเราก็มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรของประเทศต่าง ๆ ในทวิปยุโรป  ตามมาอีกมากมาย
                  สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อม  การมี “สภาผู้แทนราษฎร” ในระบอบประชาธิปไตย  ก็คือ   “การเลือกตั้ง” สมาชิกผู้แทนราษฎร  แต่สิ่งที่อาจารย์กฎหมายในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรํฐของเรา ไม่สนใจ และไม่ได้สอนเรา  ก็คือ   “การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร”  มาพร้อมกับ  “สิทธิและเสรีภาพในทางการเมือง”    ซึ่งมีอยู่  ๒ ด้านด้วยกัน  ( ไม่ใช่มีเฉพาะ   “สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร”  เพียงด้านเดียว)
               “สิทธิและเสรีภาพทางการเมือง”   ประกอบด้วยสิทธิ ๒ ด้าน   ”สิทธิ(ในการออกเสียง)เลือกตั้ง (ผู้แทนราษฎร)” ด้านหนึ่ง   และ  “สิทธิ(ในการ)สมัครรับเลือกตั้ง (เป็นผู้แทนราษฎร) ”  อีกด้านหนึ่ง
        
                สำหรับ “สิทธิ (ออกเสียง)  เลือกตั้ง”   ก็จะมีวิวัฒนาการและขยายตัวกว้าง  โดยมีจำนวน “ผู้มีสิทธิออกเสียง(เลือกตั้ง” มากขึ้นตามลำดับ   โดย เริ่มต้นจาก การมีข้อจำกัดคุณสมบัติของ “ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง”  ต่าง ๆ นา ๆ เช่น  ข้อจำกัดในเรื่องเพศ  ( คือ  “สัตรี”  ไม่มีสิทธิออกเสียง)  หรือ  ข้อจำกัดในเรื่องการมีฐานะของความเป็นพลเมือง  (คือ  “ทาษ” ไม่มีสิทธิออกเสียง)  หรือข้อจำกัดในเรื่องต้องมีทรัพย์สินและต้องเป็นผู้ที่เสียภาษีอากรให้แก่รัฐ  (ถ้า “ผู้ใดไม่ได้ทำงานและไม่ได้เสียภาษี”  ผู้นั้นก็ไม่ม่สิทธิออกเสียง  หรือ  ข้อจำกัดในเรื่องระดับการศึกษาหรือการอ่านออกเขียนได้   ฯลฯ  เป็นต้น  จนกระทั่ง  ในที่สุด  สิทธิเลือกตั้ง  ได้กลายมาเป็น  “ universal suffrage “   ตามที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ;   โดยสิทธิเลือกตั้ง  จะมี “ข้อจำกัด” เหลืออยู่เพียงเท่าที่จำเป็น ไม่กี่เรื่อง   เช่น  เรื่อง “อายุ”   “ความรู้สึกรับผิดชอบหรือสติสัมปชัญญะ ของผู้มีสิทธิออกเสียง”  “ สถานภาพของการนับถือศาสนา”  เป็นต้น   ทั้งนี้  โดยคำนึงถึงคุณลักษณะตามธรรมชาติของมนุษย์  เพื่อให้ “ผู้ที่จะใช้สิทธิเลือกตั้ง” มีความสามารถและมีความรับผิดชอบ   พอที่จะรู้ถึง  “ความสำคัญของการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎร” ได้   
        
                      แต่ตรงกันข้าม  สิ่งที่แน่นอน และ ไม่เปลี่ยนแปลงของ “ระบอบประชาธิปไตย “  และเป็น “หลักการ” ที่ทุกประเทศที่เป็น “ประชาธิปไตย”  ได้ยึดถือกันตลอดมา  ก็คือ  “สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง”   ซึ่งเป็น เสรีภาพทางการเมือง อีกด้านหนึ่ง   ซึ่งประกอบด้วย  :    เสรีภาพในการตั้งพรรคการเมือง (หรือสมาคม) เพื่อการเลือกตั้ง   (โดยบางประเทศ ก็มีกฎหมายกำหนดให้ “พรรคการเมือง” ต้องจดทะเบียน   แต่บางประเทศ ก็ไม่บังคับ) ;   เสรีภาพในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคการเมือง (หรือออกจากพรรคการเมือง)  ;  และเสรีภาพในการสมัครรับเลือกตั้งได้โดยอิสระ  คือ  จะสมัครโดยสังกัดพรรคการเมืองก็ได้  หรือไม่สังกัดพรรคการเมือง  ก็ได้  
                       และพร้อม ๆ กัน “เสรีภาพทางการเมือง” นั้น  ก็คือ   หลักการเพื่อคุ้มครอง “ความเป็นประชาธิปไตย”ของระบอบการปกครอง”    อันได้แก่  หลักการว่าด้วย “สถานภาพของผู้แทน”  กล่าวคือ   ความเป็น “ผู้แทน”  ถือว่าเป็นผู้แทนของประชาชนทั้งประเทศ (ไม่ใช่เฉพาะประชาชนในเขตเลือกตั้ง  ที่เลือกตนเองขึ้นมา)   และ  หลักการว่าด้วย “ความเป็นอิสระของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการปฎิบัติหน้าที่ของตนได้ตามมโนธรรมของตน  โดยต้องไม่อยู่ภายได้อาณัติมอบหมายใด ๆ ”
        
                    หลักการ “ความเป็นอิสระของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการปฏิบัติหน้าที่(ได้ตามมโนธรรมของตน) ”  มีมาตั้งแต่ระยะต้น  ของการปกครองระบอบประชาธิปไตย  และไม่มีการเปลี่ยนแปลง ;  หลักการ  “ความเป็นอิสระของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฯ”  เกิดมาจาก “ประสบการณ์ทางการเมือง” ของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ในสมัยเมื่อ ๒๐๐ ปีก่อน  เพราะเขารู้ดีว่า  ถ้า ส.ส. ไม่มีความเป็นอิสระและต้องตกอยู่ได้อาณัติหรือการสั่งการของบุคคลภายนอกแล้ว  อะไรจะเกิดขึ้นกับการบริหารประเทศ   (ที่ต้องมีการเลือกตั้ง)
                   นักการเมืองและนักวิชาการ ของประเทศในยุโรป เมื่อ ๒๐๐ ปีก่อน  ได้กำหนด  “หลักการ ว่าด้วยความเป็นอิสระของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการปฏิบัติหน้าที่”  สำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ขึ้น  โดยอาศัย“ประสบการณ์”  และการเรียนรู้ “ปัญหาตามความเป็นจริง”  ของพฤติกรรมของคน   และเป็นการกำหนดขึ้น  ก่อนที่โลกเรา  จะมี “วิชาสังคมวิทยา- sociology” เขียน เป็นตำราให้เรา ได้เรียนกัน  [หมายเหตุ   วิชาสังคมวิทยา  -  sociology   เพิ่งเริ่มสอนกันเป็น “ศาสตร์ - science“ ว่าด้วย “พฤติกรรมมนุษย์และชุ่มชน”   ในกลางศตวรรษที่ ๑๙  นี้เอง โดย  นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส  ชื่อ   Auguste Comte  ที่ได้เสียชีวิต ใน ปี ค.ศ.๑๘๕๗   เป็นบุคคลแรกที่ได้ตั้งชื่อวิชานี้  ]
                 “นิติปรัชญา”หลังจากนั้น  เป็นยุคของ “วิธีคิด” ใน ศตวรรษ ที่ ๑๘ - ๑๙  ที่เรียกกันว่า  “ sociological approach ”   กล่าวคือ  ถือว่า  “กฎหมาย”   เป็น เครื่องมือของสังคมในการกำหนดวินัยในการอยู่ร่วมกัน ในรัฐสมัยใหม่ - modern state และ “การศึกษาวิจัยกฎหมาย” และ “การออกแบบกฎหมาย (การสร้าง “กลไก” ใน บทกฎหมาย)”  ในยุคศตวรรษ ที่ ๑๘ - ๑๙    จะอยู่บนพื้นฐานของสภาพความเป็นจริง - reality   ของสังคม  ( พฤติกรรมของมนุษย์ และพฤติกรรมของกลุ่มผลประโยขน์   โดยมี “จุดมุ่งหมาย” เพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวม  และไม่อยู่บน “สิ่งสมมติ” อีกต่อไป   ; ซึ่งผมจะมากลับพูด ถึง  เรื่อง นิติปรัชญากับกฎหมายมหาชน  อีกครั้งหนึ่ง  ใน ตอนที่สาม (ข้อ  ๓.๑)    
                   ดูเป็นที่น่าประหลาดใจมาก  ที่ผมพบว่า  อาจารย์กฎหมายในคณะนิติศาสตร์ของเรา   มักจะพูดถึงแต่  สิทธิของประชาชน ในการมี  “สิทธิ (ออกเสียง) เลือกตั้ง”   แต่ผมไม่ได้ยิน   อาจารย์กฎหมายในคณะนิติศาสตร์ของเราท่านใด  พูดถึง “ เสรีถาพทางการเมือง” ของผู้สมัตรรับเลือกตั้ง   / สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งได้โดยอิสระ(ไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง) “  หรือ  พูดถึง  “ความเป็นอิสระในการปฏิบัตหน้าที่ของ ส.ส. โดยไม่อยู่ภายไต้อาณัติมอบหมายใด  ๆ”
                 ซึ่งอันที่จริงแล้ว  “ เสรีถาพทางการเมือง  ของผู้สมัตรรับเลือกตั้ง”   เป็น หลักการพื้นฐานของความเป็นประชาธิปไตย  the principle of democracy   ที่สำคัญมากกว่า  “สิทธิออกเสียงเลือกตั้งของประชาชนทั่วไป”  ด้วยซ้ำ   เพราะเป็นสิทธิของนักการเมือง  ที่ส่งผลโดยตรงต่อการบริหารประเทศในระบอบประชาธิปไตย  
                
                      ประเทศทุกประเทศ  ไม่ว่าจะใช้  กลไก (ระบบสถาบันการบันการเมือง - form of government) ในรูปแบบใด  (ไม่ว่าจะเป็น “ระบบประธานาธิบดี”  หรือ   “ระบบรัฐสภา” ฯลฯ)  จะต้องยึดถือ  “หลักการของความเป็นประชาธิปไตย “ ไว้เสมอ  ประเทศนั้น จึงจะเรียกตนเอง  ได้ว่า  เป็นประเทศประชาธิปไตย  
                  แม้แต่ “ประเทศที่ใช้ระบบพรรคคอมมิวนิสต์”   ก็ยังต้องยอมให้  บุคคลที่มี “คุณสมบัติ” (ตามรัฐธรรมนูญ) ที่ไม่สังกัดพรรคคอมมิวนิสต์”  มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งโดยอิสระได้  ( โดยไม่ต้องสังกัดพรรคคอมมิวนิสต์)
        
                ประเทศไทย ตรงกันข้ามกับ “ประเทศประชาธิปไตย” อื่น ๆ    สิ่งเกิดขึ้น ในประเทศไทยในขณะนี้ ก็คือ  รัฐธรรมนูญของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕ จนถึง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๐)  ได้สร้าง   “ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมืองนายทุน  ในระบบรัฐสภา”   ด้วยการบังคับให้ ส.ส. ทุกคนต้องสังกัดพรรค  และให้พรรคการเมืองมีอำนาจบังคับให้ ส.ส. ต้องทำตามมติพรรค  ( หรือมิฉะนั้น ก็อาจถูกพรรคการเมือง มีมติให้ตนพ้นจาก “การเป็น ส.ส ได้ )  ซึ่งเป็น “รูปแบบของสถาบันการเมือง - form of government ” (ประเทศเดียวในโลก)   ที่ไม่มี “หลักการของความเป็นประชาธิปไตย  -  the principle of democracy “            
                และปรากฎว่า  คณาจารย์สอนกฎหมายในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ  ทุกท่าน   ต่างก็เรียก ระบบการปกครองของประเทศไทยนี้  ว่า เป็น “ระบอบประชาธิปไตย” ;   ผมไม่ทราบว่า  อะไร  เกิดขึ้นกับ “ท่านอาจารย์ที่สอนกฎหมายในคณะนิติศาสตร์” เหล่านี้   ซึ่งจะได้กล่าวถึงปัญหานี้ (ข้อที่  ๓.๒)  ต่อไป  
          
        --------------------------------------------------------------------------
        ต่อไปนี้  เป็น ตัวอย่าง “บทมาตรา  ในรัฐธรรมนูญของต่างประเทศ” (ที่ใช้ “ระบบรัฐสภา(หรือระบบ กึ่งรัฐสภา)  ที่แสดงให้เห็นถึงการยึดถือ  “หลักการของ ความเป็นประชาธิปไตย”   ที่คณาจารย์สอนกฎหมายในคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐของเรา  สังเกตไม่เห็น  (?) (?)
        
       (๑)  รัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมันนื   (the Basic Law  ค.ศ. ๑๙๔๗)
       Article    (political parties)
       (1)The political parties shall participate in the forming of the political will of the people. They  may be freely established. Their internal  organization must conform to democratic  principles. They must publicly account for the assets  and  for the sources and  the  use  of their funds .
       (2) ………..
        
       Article 38 (Election)
       (1) The Member of theGerman Bundestag shall be elected in general, direct, equal and secret election.  They shall be representatives of the whole peopleThey shallnot  be bound by any instructions,  only  by their conscience.
       (2) any body who has reached the age of eight is entitle to vote; anybody of majority age is eligible for election.
       (3) Details shall be the subject  of a federal  law
        
       (๒) รัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส (ค.ศ. ๑๙๕๘)
       Artlcle 4
       Political parties and groups  shall constribute to the exercise of suffrage. They shall be formed freely  and  shall  be carry on their activities  freelyThey shall respect  the principles of national sovereignty and democracy”
        
       Artlcle 27
        Any binding instruction is void
       The right to vote of members of  Parliament is personal
       An organic law can authorize, in exceptional cases, voting by proxy (delegation of power). In such a case, no member  can receive more than one vote
        
       (๓) รัฐธรรมนูญของประเทศอิตาลี (ค.ศ. ๑๙๔๘)
       Article 49   
       All citizens have the right to freely associate in  (political) parties to contribute to the democratic process through which determine national policy
       Article 67
       Each member of  Parliament  represents  the Nation  and carry out  the duties  without restrain of  mandate
        
       (๔) รัฐธรรมนูญของประเทศสเปน (ค.ศ. ๑๙๗๘)
                   Article 6
       Political parties are the expression of political pluralism, they contribute to the formation and expression of the will of the people and are an essential instrument for political participation. Their creation and the exercise of their activities are free in so far as they respect the Constitution and the law. Their internal structure  and their functioning  must be democratic”
                 Article 66
       1. The Cortes  Generales represent the Spanish people and are formed by the Congress  of Deputies  and the Senate
       The Cortes Generales exercise  the legislative power of State. approve its budgets, control the action of Government  and have the other competences granted them by the  Constitution.
       3. The Cortes Generales are inviolable
        
       Article 67
       1. ...........................................................
       2.  The members of the Cortes Generales are not bound  by  imperative mandate.
        
       (๕) รัฐธรรมนูญของประเทศเดนมาร์ก (ค.ศ. ๑๙๕๓)
                 Article 56
       The member of  the Folketing  shall be bound solely  by their own consciences  and not by  any directions   given  by their  electors
       
        
       (๖) รัฐธรรมนูญของประเทศเกาหลีไต้ (ค.ศ. ๑๙๔๘)
               Article 8
       (1)    Theestablishment of the political parties  shall be free , and the plural party system shall be guaranteed
       (2)    Political parties shall be democratic in their objectives , organization and activities,  and shall have the necessary organizational arrangements for the people to  lparticipate in  formation of the  political will
       (3)    …………………………………….
       If the purposes or activities of a political party are contrary to the basic democratic order, the Government may bring an action against it in the Consstitutional Court  for its dissolution , and the political party shall be dissolved in accordance with the decision ot the Consstitutional Court 
       
       Article 46
       (!) Members of the National   Assembly  shall have the duty to maintain high standards of integrity
       (2) Members of the National   Assembly  shall give preference to national interests,  and shall perform their duty in accordance with conscience.
       (4)    (3) ) Members of the National   Assembly  shall not acquire, through abuse of their position, right and interests in property or positions,  or assist others person to acquire the same, by means of contracts with or dispositions by the State, public organizations or industries.
        
       [ หมายเหตุ  และโปรดทราบด้วยว่า  ไม่มี “รัฐธรรมนูญ” ของประเทศใดในโลก  (ไม่ว่าประเทศนั้น  จะใช้  form of government ในรูปแบบ- system  ใด)   ที่มีบทมาตรา  ที่บังคับให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรค  และ ให้อำนาจแก่  “พรรคการเมือง”  มีมติให้ ส.ส. ต้องพ้นจากความเป็น ส.ส. ได้   เหมือนกับ  รัฐธรรมนูญของประเทศไทย ]
        
                            
       ระบอบการปกครองตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทย  ในปัจจุบัน
       ไม่ใช่ การปกครองใน “ระบอบประชาธิปไตย”
       
       ======================================
        ( ตอนที่ ๒ )
       การเปรียบเทียบ
       “การปฏิรูปการเมือง” ของประเทศไทย  กับ “การปฏิรูปการเมือง” ของประเทศญี่ปุ่น
       ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ( ค.ศ. ๑๘๖๙ ถึง ค.ศ. ๑๙๑๑)  รวม ๔๒ ปี
        --------------------------------------------------------------------------
                       ทำไม   “การปฏิรูปการเมือง” ของประเทศไทย  กับ “การปฏิรูปการเมือง” ของประเทศญี่ปุ่น จึงประสพความสำเร็จ  แตกต่างกันอย่างมาก  (?)  (?)  (?)
        
       ส่วนที่ (๑)
       ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น และ ประวัติศาสตร์ ไทย   ในยุคการล่าอาณานิคม - colonialism
       (๑.๑) ประวัติศาสตร์ประเทศญี่ปุ่น  สมัย จักรพรรดิ มัตสุฮิโต (เมจิ  - MEIJI )
                 ประเทศญึ่ปุ่นเริ่มต้นการปฏิรูปประเทศ  ในรัชกาลของ  จักรพรรดิ มัตสุฮิโต  ที่เรียกกันว่า  สมัยเมจิ  - MEIJI  (enlightened government)  ระหว่าง   ค.ศ. ๑๘๖๗  ถึง ค.ศ. ๑๙๑๒  รวมเวลา ๔๔ ปี
                     สภาพการบริหารประเทศญี่ปุ่นก่อนการปฎิรูปประเทศ    ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มี จักรพรรดิ เป็นประมุขของประเทศ  และปกครองด้วย  “ระบบโชกุน - Shogunate “  (ผู้เขียนขอแปล  ระบบโชกุนว่า  เป็น  ”ระบบผู้สำเร็จราชการ  ที่มีอำนาจเต็ม” ) ;  จักรพรรดิญี่ปุ่นประทับอยู่ที่เมืองเกียวโต  และโชกุน  (ซึ่ง  ตระกูลโตกุกาวา - Tokugawa  ได้รับแต่งตั้งให้เป็น “โชกุน”  ติดต่อกันมาเป็นเวลา ๒๕๐ ปี  )  มีเมืองหลวงของตนเอง  อยู่ที่เมือง  Edo  (คือ  กรุงโตเกียวในปัจจุบัน)  
                      การปกครองญี่ปุ่นเป็น  ระบบ  feudalism  แบ่งออกเป็น เขต ๆ   มีหัวหน้าปกครองในแต่ละเขต   เรียกว่า   “daimyo”   (feudal  lords or barons) กระจัดกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ   ใหญ่บ้างเล็กบ้าง  มากกว่า  ๒๐๐ เขต   และในระบบโชกุนนี้  โชกุนเป็น จะ ผู้ใช้อำนาจทางการทหารและการบริหารราชการ   ดูแลควบคุม  daimyo ทั้งหมด  แทนจักรพรรดิ    
                      ในปี ค.ศ. ๑๘๕๓ (พ.ศ. ๒๓๙๖)   สหรัฐส่งกองเรือ ที่มีนายพลเรือจัดวา commodore  Matthew  Calbraith  Perry ไปญี่ปุ่น  และยื่น “ข้อเสนอ”ให้ญี่ปุ่นทำสัญญาเปิดประเทศ   และ ในปีต่อมา (ค.ศ. ๑๘๕๔)  นายพลเรือจัดวา Perry  ก็ได้นำ “กองเรือขนาดใหญ่” ไปแสดงแสนยานุภาพ (a show of force) ให้ญี่ปุ่นเห็น  และ บังคับให้ญี่ปุ่น ลงนามสัญญา ฯ  ;  โชกุน โตกุกาว่า (ในฐานะผู้แทนของจักรพรรดิ) ใด้ทำสัญญาเปิดเมืองท่าให้แก่ สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. ๑๘๕๔   และในเวลาต่อมา  ญี่ปุ่นก็ได้มีการเจรจาทำสัญญากับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆในยุโรป  ; ประเทศญี่ปุ่นส่งทูตไปสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก ใน ปี ค.ศ. ๑๘๖๐
                        หลังจากญี่ปุ่นถูกบังคับให้ลงนามในสัญญาเปิดประเทศ   คนญี่ปุ่นได้มีกระแสต่อต้าน สหรัฐอเมริกา และประเทศตวันตก  อยู่เป็นระยะเวลา ๑๐ ปี จนถึงปี ค.ศ. ๑๘๖๔   คนญี่ปุ่นจึงหันเข้าหา “ความจริง”   หยุดการต่อต้าน  และร่วมกันปฏิรูปประเทศ  เพื่อเอาชนะประเทศมหาอำนาจ  
                         บรรดา daimyo  เห็นว่า  “โชกุน โตกุกาว่า”   ไม่ได้เจรจากับประเทศมหาอำนาจ  เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของคนญี่ปุ่น   แต่เป็นการเจรจา และทำสนธิสัญญา  เพื่อประโยชน์ของตนเอง ;   daimyo  ๔ -๕ ตระกูล ใหญ๋ ๆ จึงรวมตัวกัน ลัมอำนาจของ โชกุน โตกุกาว่า  
                จักรพรรดิ มัตสุฮิโต   ขึ้นครองราชย์ ในปี ค.ศ. ๑๘๖๗   หลังจากที่โชกุนคนสุดท้ายในตระกูลโตกูกา ได้ถูกบรรดา “ไดเมียว daimyo”  ตระกูลใหญ่ ๆ   รวมกำลังกันบีบบังคับให้โชกุนลาออก  และถวายพระราชอำนาจคืนให้แก่ จักรพรรดิ  และร่วมกันปฏิรูปประเทศ 
                   การปฏิรูปประเทศ ในสมัยเมจิ (จักรพรรดิ มัตสุฮิโต)   หลังจากที่ได้ทำการศึกษาระบอบการปกครองและการบริหารประเทศของประเทศมหาอำนาจอย่างรอบคอบแล้ว   ประเทศญี่ปุ่นได้ “ลอกเลียน” วิธีการพัฒนาประเทศจากประเทศมหาอำนาจในทุก ๆ ด้าน   โดยในแต่ละด้าน   ญี่ปุ่นได้เลือกประเทศที่ญึ่ปุ่นเห็นว่า มีประสิทธิภาพสูงสุด   :  คือ  ญี่ปุ่นเลือกผู้เชียวชาญฝรั่งเศส มาพัฒนากองทัพบก  /  เลือก ผู้เชี่ยวชาญอังกฤษ มาพัฒนากรงทัพเรือ /  เลือก ผู้เชี่ยวชาญชาวฮอลแลนด์ มาดูแลการก่อสร้าง  ฯลฯ ;   ประมาณการณ์  ว่า  ประเทศญี่ปุ่นได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศในยูโรป  มาช่วยพัฒนาประเทศ  ประมาณเกือบ  ๒๐๐๐ คน ; และ  ภายไต้ การบริหารประเทศและการเจรจาระหว่างประเทศอย่างชาญฉลาด โดยรัฐบุรุษ ๒ คน ( คือ  Prince Iwakura  Tomomi และ Maquis  Okubo Toshimichi)  ได้ทำให้ประเทศญี่ปุ่นพ้นจากการกดดัน  จากการขยายอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตวันตก  ในระหว่างที่ทำการพัฒนาประเทศ
        
       ประเทศญี่ปุ่น  ได้พัฒนาประเทศในขั้นตอนที่สำคัญ   ดังนี้
        ปีที่ ๑๑  (เมจิ) ;   ค.ศ. ๑๘๗๘   การยกเลิก “ซามูไร”
                      ปีที่ ๙  (เมจิ) ;  ญี่ปุ่นเลิก Samurai  ค.ศ.   ๑๘๗๖
                      ปีที่ ๑๑  (เมจิ) ;  ค.ศ. ๑๘๗๘   ญี่ปุ่นออกกฎหมายห้ามพกดาบ  ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ที่ต่อเนื่องมานานกว่า ๖๐๐ ปี (ศตวรรษ ที่ ๑๒)
                      [หมายเหตุ  ถ้าท่านผู้อ่าน  เคยดู ภาพยนตร์ เรื่อง the last samurai  ท่านผู้อ่านคงพอจำภาพยนตร์เรื่องนี้ที่อิงประวัติศาสตร์จริงได้  เพราะตามประวัติศาสตร์ญึ่ปุ่น  ปรากฎว่า  ได้มี daimyo คนสำคัญคนหนึ่ง  ที่เคยร่วมกันล้ม ระบบโชกุนตระกูลโตกุกาว่า  แต่ไม่เห็นด้วยกับการเลิก ซามูไร ที่เป็นวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของญี่ปุ่น   และได้แยกตัวออกมาจากรัฐบาลญี่ปุ่น  และไม่ยอมเลิกซามูไร  และถูกปราบในที่สุด ]
        
        ปีที่ ๒๒  (เมจิ) ;   ค.ศ. ๑๘๘๙  จักรพรรดิพระราชทานรัฐธรรมนูญ
                        ปีที่ ๑๔  (เมจิ) ;  ค.ศ. ๑๘๘๑ จักรพรรดิ สัญญาจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ  และตั้ง “สภานิติบัญญัติ”
                        ปีที่ ๑๗  (เมจิ) ;  ค.ศ. ๑๘๘๔  ญี่ปุ่นตั้งสภาสูงโดยแบ่งสมาชิกออกเป็น  ๕ กลุ่ม (Five orders of nobility) โดย Daimyo ได้เป็น nobility  เรียกว่า  “ kwazoki”  และซามูไร ได้เป็น “Zhizoku” ฯลฯ ;
                        ปีที่ ๒๑  (เมจิ) ;    ค.ศ. ๑๘๘๘ ตั้งคณะรัฐมนตรี และ คณะองค์มนตรี ;
                        ปีที่  ค.ศ. ๑๘๘๙  จักรพรรดิพระราชทาน   และ  ประกาศการใช้รัฐธรรมนูญ  
                               รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่น ยกร่าง โดย  Maquis  Ito  Hirabumi   หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบ  รัฐธรรมนูญของประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ ในยุโรป (อังกฤษ/  ฝรั่งเศส  / ฮอลแลนด์ ฯลฯ  และ สหรัฐอเมริกา)   
                              จักรพรรดิญี่ปุ่นพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่คนญี่ปุ่น   โดยใช้ระยะเวลา  ๘  ปี  นับตั้งแต่  ปีที่จักรพรรดิ สัญญา จะให้รัฐธรรมนูญ   ใน  ปี ค.ศ. ๑๘๘๑ 
                         ตาม  รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่น (ค.ศ. ๑๘๘๙   )  .................................................................................................
       ........................................................................................................................................................................................    
                         รัฐสภาของญี่ปุ่น มี ๒สภา  โดย “สภาสูง” มาจาก “การแต่งตั้ง” โดยจักรพรรดิ    และ   “สภาผู้เทน”  มาจาก การเลือกตั้ง โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง   ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่เสียภาษี  อย่างน้อย ๑๕ เยน
        
         ปีที่ ๒๔ (เมจิ) ;   ค.ศ. ๑๘๙๑   ญี่ปุ่นเสร็จสิ้น “การปฎิรูปกฎหมาย”  ที่สำคัญ ๆ ทั้งหมด
                     ปีที่ ๑๓  (เมจิ) ; ค.ศ. ๑๘๘๐  ญี่ปุ่นประกาลใช้ประมวลกฎหมายอาญา / ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา ;
                     ปีที่  ๒๔   (เมจิ) ;  ค.ศ. ๑๘๙๑  ญี่ปุ่นมีประมวลกฎหมายแพ่ง / ประมวลกฎหมายพาณิชย์ / ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง / ธรรมนูญศาลยุติธรรม
        
                    [ หมายเหตุ  ในระยะเริ่มแรก   การปฏิรูปกฎหมาย และเขียนประมวลกฎหมายของญี่ปุ่น  ญี่ปุ่นได้ถือตามแนวประมวลกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส ;   แต่ต่อมา  ญี่ปุ่นได้เปลี่ยนมาถือตามแนว “ประมวลกฎหมายของประเทศเยอรมันนี”  ;  เนื่องจากในช่วงปลายศตวรรษที่ ๑๙  (ค.ศ. ๑๘๗๐ - ค.ศ. ๑๘๘๐)    หลังจากที่ประเทศฝรั่งเศสได้ปรับปรุงกฎหมายในสมัย นโปเลียนในปลายศตวรรษที่ ๑๘ และต้นศตวรรษที่ ๑๙ แล้ว  ประเทศเยอรมันนีได้ปรับปรุงระบบประมวลกฎหมายของตนเองขึ้น   และได้รับการยอมรับอย่างมากจากประเทศต่าง ๆ ในยุโรป  เพราะเป็นกฎหมายที่ทันสมัยกว่าประมวลกฎหมายของฝรั่งเศส  
                      ดังนั้น  ประมวลกฎหมายของญี่ปุ่น จึงทันสมัยกว่าประมวลกฎหมายของไทย (แม้ในปัจจุบัน); ที่เห็นได้ชัด ก็คือ  ประเทศญี่ปุ่น   แยก “ประมวลกฎหมายแพ่ง” ออกจาก  “ประมวลกฎหมายพาณิชย์” (เพราะกฎหมายทั้ง ๒ สาขา  มีปรัชญากฎหมายและมี “หลักกฎหมาย” ที่แตกต่างกัน) ;  แต่ประเทศไทย  เรารวมกฎหมายเพ่งและกฎหมายพาณิชน์  เข้าเป็นประมวลเดียวกัน   เรียกว่า  “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” ;   และแม้ในปัจจุบันนี้ (ค.ศ. ๒๐๑๓)   อาจารย์กฎหมาย ในมหาวิทยาลัย และในสถาบันทางกฎหมายของไทย  ก็ยังไม่มี “ความสามารถทางวิชาการ” พอ  ที่จะพัฒนากฎหมายในด้านนี้ ได้ ]
        
        ปีที่ ๓๒  (เมจิ) ;   ค.ศ. ๑๘๙๙   ญี่ปุ่น  เลิก “สัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต  - extraterritoriality”  กับประเทศมหาอำนาจตวันตก
                       ปีที่  ๒๗  (เมจิ) ;  ค.ศ. ๑๘๙๔  สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ยกเลิกสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต - extraterritoriality  กับประเทศญี่ปุ่น
                       ปีที่ ๓๒   (เมจิ) ;   ค.ศ. ๑๘๙๙  ประเทศมหาอำนาจทุกประเทศ   ยกเลิก  สัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกับประเทศญึ่ปุ่น 
        
        ปีที่ ๒๘  (เมจิ) ;  ค.ศ. ๑๘๙๕   การพัฒนากองทัพบก    
                     ปี  ค.ศ. ๑๘๙๔ - ๑๘๙๕   กองทัพบกสมัยใหม่ของญี่ปุ่น  รบชนะจีนอย่างง่ายดาย  และญี่ปุ่นได้เกาะไต้หวันมาจากจีน  พร้อมทั้งค่าปฏิกรรมสงคราม ฯลฯ
                                            
        ปีที่  ๓๘  (เมจิ) ; ค.ศ. ๑๙๐๕  การพัฒนากองทัพเรือ
                      ปี ค.ศ. ๑๘๙๔ - ๑๘๙๕   กองทัพเรือของญี่ปุ่น รบชนะกองเรือของรัสเซีย
                      [ หมายเหตุ   ถ้าจะพิจารณาย้อนลงไป   ก่อนต้นรัชสมัย  จักรพรรดิ เมจิ   นายพลเรือ Perry  ได้นำกองเรือรบสหรัฐ  เข้ามาแสดงแสนยานุภาพ - a show of force ให้ชาวญี่ปุ่นเห็นในอ่าวโตเกียว ในปี ค.ศ. ๑๘๕๔        และทำให้ญึ่ปุ่นต้องทำ “สัญญาเปิดประเทศ” ทำการค้ากับสหรัฐอเมริกา    และในขณะนั้น   เรือรบญี่ปุ่นเป็นเรือไม้   ญี่ปุ่นยังสร้าง “เรือเหล็ก” ไม่เป็น  และ คนญี่ปุ่นเรียก เรือรบอเมริกัน ว่า  “ black ships”   
                    เวลาผ่านไป ๔๐ ปี   ในการรบทางเรือครั้งสำคัญ ระหว่าง  กองเรือรบญี่ปุ่นกับ กองเรือรบรัสเซีย ในปี ค.ศ. ๑๙๐๔ - ๑๙๐๕  (เพื่อแย่งอิทธิพลเหนือ ประเทศเกาหลี);   ผลการรบปรากฎว่า  กองทัพเรือญี่ปุ่นทำลาย “กองทัพเรือของรัสเซีย  - the Baltic fleet”   ที่ประกอบด้วยเรือรบ  ๔๕ ลำ  ได้ทั้งกองทัพ ;   กองทัพเรือญึ่ปุ่มจมและยิดเรือประจันบานของรัสซีย  ๘ ลำ  เรือลาดตระเวน ๙ ลำ  และเรืออื่น ๆ อีกจำนวนมาก    ญี่ปุ่นจับนายพลเรือรัสเซีย  ๓ คน  และทหารเรือรัสเซีย ๗๓๐๐คน เป็นเชลย  (ทหารเรือรัสเซียเสียชีวิตไป ๔๐๐๐คน )  โดยญี่ปุ่น เสียเรือตอร์ปิโด ไป เพียง ๓ ลำ   และเสียชีวิตไปเพียง ๑๑๖ คน
        
       ●●  สิ้นสุด  รัชสมัย จักรพรรดิเมจิ  ในปี  ค.ส. ๑๙๑๒  รวมเวลาครองราชย์ทั้งสิ่น   ๔๔ ปี  
                    ปีที่ ๔๔  (เมจิ) ;   เมื่อสิ้นสุดรัชสมัย จักรพรรดิเมจิ ค.ส. ๑๙๑๒ รวมเวลา ๔๔ปี   ประเทศญี่ปุ่นได้รับการยอมรับ จากประเทศมหาอำนาจตวันตก  ว่า  เป็นประเทศที่เป็น “ประเทศที่พัฒนาแล้ว”  และเป็น “ประเทศมหาอำนาจ” ที่ทัดเทียมกับประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา  ;  และประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในเอเชีย  ที่รบชนะประเทศมหาอำนาจตวันตก
        
       ---------------------------------------------------------------------
        
                                       ต่อไปนี้  เราลองมาดู “ การปฏิรูปประเทศ”  ของประเทศไทย ในรัชกาล ที่ ๕   ดูบ้าง
        
       (๑.๒)   ประวัติศาสตร์ประเทศไทย  สมัยรัชกาล ที่ ๕ (พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า ฯ)
                             ผู้เขียนคงไม่ต้องกล่าวว่า  ก่อนรัชกาลที่ ๕ นั้น  ลัทธิล่าอาณานิคม -  colonialismของประเทศมหาอำนาจเป็นที่ประจักษ์และทราบกันดีอยู่แล้ว   เพราะนอกจากสงครามฝิ่นระหว่างประเทศอังกฤษกับจีน (ค.ศ. ๑๘๕๖ - ๑๘๖๐) และสงครามระหว่างประเทศอังกฤษกับพม่า ( ค.ศ. ๑๘๕๒ ในสมัยรัชกาลที่ ๔) แล้ว  ;   และ ก่อนรัชกาลที่ ๕  ประเทศไทยเองก็ได้เสียดินแดนให้แก่ประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศสมาแล้วหลายครั้ง  ( คือ  ในสมัยรัชกาล ที่ ๑   เราเสียเกาะหมาก ใน ค.ศ. ๑๗๘๖  และ เสีย มะริด ทะวาย ตะนาวศรี ใน ปี ค.ศ. ๑๗๙๓ ; ในรัชกาลที่ ๓   เราเสียแสนหวี  เมืองพล เชียงตุง  ในปี  ค.ศ. ๑๘๒๕  ; และ ในรัชกาลที่ ๔  เราเสียสิบสองปันนา   ในปีค.ศ. ๑๘๕๔    และ ในปีสุดท้ายของ รัชกาลที่ ๔  เรา ใน ค.ศ. ๑๘๖๗ เรา เสียแคว้นเขมร
                          รัชกาลที่ ๕ ของเรา   พระองค์ท่านได้บริหารประเทศอย่างไร
                            รัชกาลที่ ๕ (ค.ศ. ๑๘๕๓  - ค.ศ. ๑๙๑๑)  ครองราชย์   ตั้งแต่พระชนม์มายุ  ๑๕ พรรษา  คือ ตั้งแต่ ปี  ค.ศ. ๑๘๖๘  -  ค.ศ. ๑๙๑๑  (หรือ พ.ศ. ๒๔๑๑  -  พ.ศ. ๒๔๕๓)  รวมเวลาครองราชย์ทั้งสิ้น ๔๒ ปี  คือ  ครองราชย์หลังพะเจ้ามัตสุฮิโตของญี่ปุ่น ๑ ปี และเสด็จสวรรคต ก่อนพะเจ้ามัตสุฮิโตของญี่ปุ่น ๑ ปี  ;  โดยพระองค์ท่านทำ “พิธีเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ “ครั้งแรก ในปีพ.ศ. ๒๔๑๑ (ซึ่งเป็นการบริหารประเทศ  โดยมี “ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน” )   และทำ “พิธีราชาภิเศก”  อีกครั้งหนึ่งในอีก ๕ ปีต่อมา  คือ ในปี  พ.ศ.๒๔๑๖ ;  พระองค์เสด็จประพาสยุโรป  ๒ ครั้ง   ครั้งแรก ในปี  พ.ศ. ๒๔๔๐ ( ค.ศ. ๑๘๙๗)  เป็น ปีที่  ๒๙  ของรัชกาล   และครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ( ค.ศ. ๑๙๐๗)  ซึ่ง เป็น ปีที่ ๓๙ ของรัชกาล
                   เราทราบอยู่แล้วว่า  รัชกาลที่  ๕  พระองค์ท่านได้พัฒนาประเทศให้คนไทยนานาประการ อย่างเหลือที่กล่าวให้ครบถ้วนได้   ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการภาษีอากร   การเงินการคลัง (การตั้งหอรัษฎาพิพัฒน์  ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖  - ปีที่ ๕  ของรัชกาล)  ;  การไปรษณีย์  ในปีพ.ศ.  ๒๔๒๖ - ปีที่ ๑๕ ของรัชกาล ;  การให้ตั้ง “โรงเรียน” ตามวัดทั่วไป  และย้ายโรงเรียนที่พระตำหนักสวนกุหลาม มาไว้ที่วัดมหรรณพาราม ในปี พ.ศ. ๒๔๒๗  - ปีที่ ๑๖ ของรัชกาล ;  การคมนาคม  (โดยเริ่มสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟ  ในปี  พ.ศ. ๒๔๓๑ -  ปีที่ ๒๐ ของรัชกาล   และทำการ เปิดทางรถไฟสายแรก  กรุงเทพ - อยุธยา ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ -  ปีที่ ๒๘  ของรัชกาล) ;  การตั้ง โรงพยาบาลศิริราช และโรงเรียนแพทย์ ในปี  พ.ศ. ๒๔๓๑ และ พ.ศ. ๒๔๓๒   - ปีที่ ๒๐ และ ๒๑  ของรัชกาล   ;  การศาสนา  การตั้งวิทยาลัยสงฆ์ที่วัดมหาธาตุ  ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ - ปีที่ ๒๑ ของรัชกาล   และตรา  พรบ. ลักษณะการปกครองคณะสงฆ์   ร.ศ.๑๒๑  (พ.ศ. ๒๔๔๕)  ปีที่  ๓๔  ของรัชกาล ;  ทรงริเริ่มการไฟฟ้า   ในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ - ปีที่ ๓๓   ของรัชกาล ;   การประปา  ในปี  พ..ศ.  ๒๔๕๒ -  ปีที่  ๔๑  ของรัชกาล  แต่ได้ทรงสวรรคตก่อนที่กิจการประปา จะสำเร็จ  และ  ฯลฯ   ; 
               ในบทความนี้  ผู้เขียนจะขอกล่าวเฉพาะใน “รายการ” ที่มีความสำคัญ   เพื่อประโยชน์ในการศึกษาเปรียบเทียบ  กับการปฏิรูปประเทศ  ของประเทศญี่ปุ่น ในสมัยของพระเจ้ามัตสุฮิโต
        
        การปฏิรูปการบริหารประเทศ  : 
                   ปีที่  ๖ (ร. ๕) ;  พ.ศ. ๒๔๑๗ (ค.ศ. ๑๘๗๔)  (พฤษภาคม)  ทรงเริ่มต้นด้วยการตั้ง  “the council of state - ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ”   (จำนวน ๑๒ คน)  และ ต่อมาในปีเดียวกัน (สิงหาคม)  ทรงตั้ง  “the privy council  - ปรีวิ  เคาน์ซีล ( หรือคณะองค์มนตรี)”   (จำนวน ๔๙ คน ประกอบด้วยเจ้านาย ๑๓ พระองค์ และ ข้าราชการผู้ใหญ่ ๓๖ คน)
        
        การเลิกทาษ 
                       ปีที่  ๖  ถึง ปีที่ ๓๖   (ร. ๕) ;   ปีที่  ๖  (ร. ๕)    ทรงเริ่มการเลิกทาษ   ด้วยการตรากฎหมายเลิกทาษฉบับแรก ( พรบ. พิกัดเกษียณอายุลูกทาษลูกไทฯ) ขึ้น  ใน ปี ค.ศ.  ๑๘๗๔  (พ.ศ. ๒๔๑๗)   และตรากฎหมายเลิกทาษฉบับสุดท้าย (พรบ. ทาษ ร.ศ. ๑๒๔) ให้บรรดาลูกทาษหลุดพ้นเป็นไททั้งหมด ในปี ค.ศ. ๑๙๐๕  (พ.ศ. ๒๔๔๘) 
                        ประเทศไทยใช้เวลาเลิกทาษ    รวมทั้งสิ้น  ๓๑  ปีนับแต่กฎหมายฉบับแรก  หรือ  เป็นเวลา ๓๗ ปี นับแต่วันที่รัชกาล ที่ ๕  ทรงขึ้นครองราชย์
        
        [ ปีที่ ๑๘ (ร.๕)   มีเหตุการณ์สำคัญ   ที่ทำให้ประเทศไทย   ต้อง “เร่ง”  การปฏิรูปประเทศ : คือ   พะม่าเสียดินแดน ให้แก่ประเทศอังกฤษทั้งหมด  ในปี ค.ศ. ๑๘๘๕  (พ.ศ.  ๒๔๒๘ )    และ อังกฤษ  ได้รวมพะม่าเข้ากับประเทศอินเดีย    เป็น  British  India ]
        
       ปีที่  ๑๙   (ร.๕) ;  การพัฒนากองทัพบก  
                     พ.ศ. ๒๔๓๐  (ค.ศ. ๑๘๘๗) ; ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก  (เดิมชื่อ “คะเด็ดสกูล” มีนักเรียนที่คัดมา ๕๐ คน ,  พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๑ เป็น  “โรงเรียนทหารสราญรมย์”  “โรงเรียนสอนวิชาการทหารบก”  และ  “โรงเรียนนายร้อยทหารบก” ตามลำดับ  [หมายเหตุ  ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง  จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า”]
                    พ.ศ. ๒๔๓๐  (ค.ศ. ๑๘๘๗) ; รวมกรมที่เกี่ยวกับทหาร ๙ กรม  เป็น “กรมยุทธนาธิการ” (เมษายน ๒๔๓๐) โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นจอมทัพ ; ต่อมา ในปีพ.ศ. ๒๔๓๓  ยกระดับกรมยุทธนาธิการ   เป็น “กระทรวงยุทธนาธิการ”  และมีการขยายหน่วยทหารและอัตรากำลังในส่วนภูมิภาค ;  และต่อมาเป็น “กระทรวงกลาโหม”  ในปี พ.ศ. ๒๔๓๖
        
       ปีที่ ๒๒   (ร.๕) ; การพัฒนากองทัพเรือ
                 พ.ศ. ๒๔๓๓ (ค.ศ.  ๑๘๙๐)  สร้างอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ และเปิด “กรมอู่ทหารเรือ”   (มีการรวบรวมเรือไม้ / เรือเหล็ก  ทั้งจักรข้างและจักรท้าย   ทั้งเรือเก่าและเรือสั่งต่อใหม่   ให้อยู่ใน “กองทัพเรือ”  โดย รวมเรือได้ประมาณ ๓๐ ลำ   เช่น    เรืออรรถเรศรัตนาสน์   เรือสยามมงกุฎไชลสิทธิ   ฯลฯ  
                พ.ศ. ๒๔๓๕  (ค.ศ. ๑๘๙๒ )  ปีที่ ๒๔   (ร.๕) ,  จัดตั้ง  “โรงเรียนนายเรือ”  โดย มีผู้บังคับการคนแรก  เป็นชาวเดนมาร์ก
        
       ปีที่ ๒๔  (ร.๕)     ; การปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่
                     การจัด “การบริหารส่วนกลาง”   ปีที่  ๒๐   (ร.๕)   พ.ศ. ๒๔๓๑ (ค.ศ. ๑๘๘๘)  ;   แบ่งส่วนราชการ ออกเป็น “กรม”  โดยมี  ๑๒ กรม  
                    ปีที่  ๒๔   (ร.๕)   พ.ศ. ๒๔๓๕  หรือ ร.ศ. ๑๑๑  (ค.ศ. ๑๘๙๒)   ;     ตั้งกระทรวง  ๑๒  กระทรวง   และมี “เสนาบดีประจำกระทรวง”
       
                      การจัด “การบริหารส่วนภูมิภาค”    ปีที่  ๒๔   (ร.๕)  พ.ศ. ๒๔๓๕ - พ.ศ. ๒๔๔๙  (ค.ศ. ๑๘๙๒ - ค.ศ. ๑๙๐๖)  ;   จัดตั้ง  “มณฑลเทศาภิบาล”  ขึ้น   ๑๘ มณฑล ;
                     ปีที่ ๒๙   (ร. ๕)  พ.ศ.๒๔๔๐ ;   แบ่งเขตการปกครองแต่ละ “มณฑล”   ออกเป็น อำเภอ / ตำบล / หมู่บ้าน ;  ตำบลและหมู่บ้าน  ให้มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่ราษฎรเลือกตั้ง  โดยตราเป็น “(พรบ. ปกครองท้องที่  ร.ศ. ๑๑๖ “  (พ.ศ. ๒๔๔๐) ซึ่งหลักการ ของกฎหมายนี้   ยังคงใช้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน 
                     การจัด “การบริหารส่วนท้องถิน”  ปีที่  ๓๗   (ร.๕)  ;   พ.ศ. ๒๔๔๘ (ร.ศ. ๑๒๔)   ตั้ง “สุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม”   มีกรรมการสุขาภิบาลเป็นผู้บริหาร
                     ปีที่  ๓๙  (ร. ๕) ;  พ.ศ. ๒๔๕๐ (ร.ศ. ๑๒๖)   แบ่ง สุขาภิบาล  ออก  เป็น ๒ ขนาด  คือ  สุขาภิบาลตำบล และ สุขาภิบาลเมือง ;  และในตอนปลายรัชกาลที่ ๕  ได้มีการจัดตั้งสุขาภิบาล   ประมาณ  ๘ แห่ง
        
       ปีที่  ๒๗   (ร.๕) ;  การปฏิรูประบบการเมือง  ( การตั้งฝ่ายบริหาร  “คณะรัฐมนตรี” )
                      พ.ศ. ๒๔๓๗ หรือ ร.ศ. ๑๑๓  (ค.ศ. ๑๘๙๔)    ตั้ง “รัฐมนตรีสภา”  (พรบ. รัฐมนตรี รัตนโกสินทร์ศก   ๑๑๓)  ประกอบด้วย    (๑) เสนาบดี (หรือผู้แทนเสนาบดี)  (๑๒ คน)  และ (๒) ผู้ที่ทรงแต่งตั้งเพิ่ม  (ไม่น้อยกว่า ๑๒ นาย)  [หมายเหตุ  “รัฐมนตรีสภา”  น่าจะหมายถึง  “คณะรัฐมนตรี” ]
                    “รัฐมนตรีสภา”  มี “สภานายก (คือ นายกสภาหรือนายกรัฐมนตรี)”   “อุปนายก (หรือ รองนายกรัฐมนตรี)”    และ  “สภาเลขานุการ (คือ  เลขานุการสภา หรือเลขาธิการคณะรัฐมนตรี) ”  มีอำนาจหน้าที่ “ประชุมปรึกษากฎหมายสำหรับแผ่นดิน” ;  สภานายก  / อุปนายก / รัฐมนตรี /  สภาเลขานุการ  ต้องถือน้ำกระทำสัตย์สาบาล
        
       ●●  เมื่อสิ้นสุดรัชสมัย ของรัชกาลที่  ๕  ค.ส. ๑๙๑๑  (พ.ศ. ๒๔๕๓)  รวมเวลา  ๔๒ปี 
                สิ่งที่พระองค์ท่านทรงช่วย “คนไทย” และ “ประเทศไทย”ไว้ได้   คือ    การรักษา “เอกราช” ไว้ให้คนไทย  ในขณะที่ประแทศเพื่อนบ้านรอบ ๆ บ้านเรา   ต้องตกเป็น “เมืองขึ้น” ของประเทศมหาอำนาจในยุโรป
                 ในสมัยรัชกาลที่ ๕   ประเทศไทยเสียดินแดนให้แก่  ประเทศมหาอำนาจตวันตก รวม  ๕ ครั้ง โดย ๔ ครั้งแรก เป็นการเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศส  ซึ่งเป็นการเสียดินแดนต่อเนื่องติดต่อกัน  เป็นเวลา ๑๘ ปี   คือ เริ่ม ตั้งแต่  พ.ศ.  ๒๔๓๑  (ปีที่ ๒๐ ของรัชกาล)   จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๙   และครั้งสุดท้าย   เป็นการเสียดินแดนให้แก่ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. ๒๔๕๑  โดยมีลำดับ ดังนี้
                 (๑)  ปีที่  ๒๐  (ร.๕) ;  พ.ศ. ๒๔๓๑  - ค.ศ. ๑๘๘๘    เสียดินแดนครั้งแรก(ให้แก่ฝรั่งเศส)  แคว้นสิบสองจุไทย        
                 (๒)  ปีที่  ๒๕   (ร.๕) ;  พ.ศ. ๒๔๓๖ - ค.ศ. ๑๘๙๓  (ร.ศ. ๑๑๒)       เสียลาวทั้งหมด และอาณาจักรลานช้าง (ให้แก่ฝรั่งเศส)    ไทยต้องชดใช้ค่าเสียหายอีก  ๒ ล้านฟรัง  และเงินไทยอีก ๓ ล้านบาท  (ใช้เงินถุงแดงที่รัชกาลที่ ๓ ค้าสำเภาและสะสมไว้)  (ฝรั่งเศสยึดจันทบุร เป็นประกัน)      
                  (๓) ปีที่ ๓๔    (ร.๕) ;  พ.ศ ๒๔๔๕ - ค.ศ. ๑๙๐๒  เสีย เมืองมโนไพร และจำปาศักดิ์ ตรงข้ามปากเซ(ให้แก่ฝรั่งเศส) ;  ฝรั่งเศสถอนจาก  จันทบุรี ไปยึดเมืองตราด / ด่านซ้าย / เกาะกง / เกาะกูด แทน)
                   (๔) ปีที่ ๓๘   (ร.๕) ;  พ.ศ.๒๔๔๙ - ค.ศ.  ๑๙๐๖ เสียพระตะบอง  เสียมราฐ ศรีโสภณ (มณฑลบูรพา) (ให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกเปลี่ยนกับการทีฝรั่งเศส ให้ “เอกราชทางศาล” )
                   (๕) ปีที่ ๔๐   (ร.๕) ;  พ.ศ. ๒๔๕๑  (มีนาคม) - ค.ศ. ๑๙๐๙  เสีย กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิส (ให้แก่อังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่อังกฤษให้ “เอกราชทางศาล” )
        
                  [หมายเหตุ  โปรดสังเกตว่า   การเสียดินแคนของรัชกาลที่ ๕  มีจำนวนรวมทั้งสิ้น  ๕ ครั้ง :  โดยการเสียดินแดน ๔ ครั้งแรก  เป็นการเสียดินแดน ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส  และ การเสียเดินแดนครั้งสุดท้าย  เป็นการเสียดินแดนให้ประเทศอังกฤษ 
                  โดยการเสียดินแดนดังกล่าว  เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน “ช่วงกลาง” ของรัชกาล   คือ   หลังจากที่พระองค์ท่านครองราชย์มาแล้ว   ๒๐   ปี   และเป็นการเสียดินแดน  ที่มีระยะเวลาห่าง จากการเสียดินแดน (ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส) ครั้งสุดท้ายในสมัยรัชกาลที่ ๔ ในปี ค.ศ. ๑๘๖๗  (พ.ศ. ๒๔๑๐) (เสียแคว้นเขมร)   เป็นเวลานานถึง ๒๑ - ๒๒  ปี   
                     ถามว่า   ท่านเคยถามตัวท่านเองหรือไม่ว่า  ทำไม  ประเทศฝรั่งเศสเมื่อได้ดินแดนจากไทยไปแล้วในปลายสมัยรัชกาลที่ ๔  จึงทิ้งเวลาว่างไว้ถึง  ๒๑ปี   คือ  ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๖๗  จนถึง  ค.ศ.๑๘๘๘  ประเทศฝรั่งเศสจึงย้อนกลับมาเอาดินแดนจากไทย อีก  ๔ ครั้ง ในตอนกลางสมัยรัชกาล ที่ ๕  
                    ช่วงระยะนี้ เป็นระยะเวลาที่สำคัญมาก    เพราะในช่วงระยะเวลาของการเว้นว่างนี้เอง  ที่ทำให้รัชกาลที่ ๕ ของเรา  มี “เวลาสำหรับการปฏิรูปประเทศ” เป็นเวลานาน ถึง  ๒๐ ปี 
                    ถ้าท่านไม่ทราบ  ก็ขอให้ท่านถามผม เมื่อจบการบรรยายนี้แล้ว   หรือมิฉะนั้น  ก็คงต้องไปสอบถาม “กระทรวงศึกษาธิการ” ดูว่า  ได้จัดหลักสูตรและตำราการเรียนวิชาประวัติศาสตร์สากล และประวัติศาสตร์ไทย ในชั้นมัธยมศึกษา  ไว้อย่างไร ;  เพราะเหตุใด   ท่านผู้อ่านและคนไทยที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาแล้ว  จึงไม่ทราบถึงสาเหตุของ “ช่วงเวลาว่าง”  อันสำคัญนี้  ]
        
       ส่วนที่ ๒
       
       การเปรียบเทียบ “ ผลสำเร็จ” ของ
       
       “การปฎิรูปการเมือง ของรัชกาลที่ ๕” กับ “การปฏิรูปการเมือง ของ พระเจ้ามัตสุฮิโต”
       
       ดูเหมือนว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงเริ่มต้นใน “การปฏิรูปประเทศไทย” ไว้ จะยังไม่เสร็จสิ้นเมื่อพระองค์ท่านสวรรคต ; โปรดลองพิจารณา ดูใน “ประเด็นสำคัญ” (เฉพาะที่เกี่ยวกับการพัฒนากฎหมาย) ใน ๓ ประเด็น เทียบกับประเทศญี่ปุน ดังต่อไปนี้
       
       (๑) การยกเลิก “สนธิสัญญาสภาพนอกอาณาเขต” กับประเทศมหาอำนาจตวันตก
       
       พ.ศ. ๒๔๖๘ (ค.ศ. ๑๙๒๖) ประเทศไทย ต้องรอถึง รัชกาลที่ ๖ คือในปี ๑๖ ของรัชกาลที่ ๖ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของรัชกาล ประเทศไทยจึงสามารถเจรจาแก้ไข “สนธิสัญญา” เพื่อล้มเลิก “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ได้ทุกประเทศ ; คือ หลังจากประเทศญี่ปุ่น (ค.ศ. ๑๘๙๙ ) เป็นเวลา ๒๗ ปี โดยประเทศญี่ปุ่นสามารถยกเลิก “สนธิสัญญาสภาพนอกอาณาเขต” กับประเทศมหาอำนาจตวันตก ได้ในปีที่ ๓๓ ของจักรพรรดิมัตสุฮิโต (เมจิ)
       
       และ เหตุที่ทำให้ประเทศไทยสามารถยกเลิก “สนธิสัญญาสภาพนอกอาณาเขต” ได้ ก็มิได้เป็นเพราะ ความสำเร็จใน “การพัฒนาประเทศ”ของเรา แต่ เป็นเพราะประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับประเทศเยอรมันนี(กลุ่มอักษะ) ในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ และในการประชุมทำสนธิสัญญาสันติภาพ ณ พระราชวังแวร์ซายส์ ที่ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ (เดือนมกราคม) ผู้แทนประเทศไทยได้เรียกร้องขอให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการผูกมัดด้วยสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๘ (รัชกาลที่ ๔) ; และ ผู้แทนของประเทศมหาอำนาจ ที่เป็นบุคคลแรกที่แสดงความเห็นสนับสนุนประเทศไทยในที่ประชุม ก็คือ ประธานาธิบดี Woodrow Wilson ซึ่งกล่าวว่า “สหรัฐอเมริกาจะให้สัญญาใหม่แก่ไทย ...โดยปราศจากราคาค่างวดใด ๆ “ ; และประเทศไทยได้แก้ไขสัญญาสภาพนอกอาณาเขต กับสหรัฐอเมริกา ในอีก ๒ ปีต่อมา คือในปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๓ (ค.ศ. ๑๙๒๑)
       
       หลังจากนั้น ประเทศไทยจึงประสพความสำเร็จในการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต กับ ประเทศญี่ปุ่น / ฝรั่งเศส / อังกฤษ / เนเธอร์แลนด์ / สเปน / โปรตุเกส / เดนมาร์ก / สวิเดน / เบลเยี่ยม / และประเทศอิตาลี โดยประเทศอิตาลี เป็นประเทศสุดท้ายที่ตกลงแก้ไขสนธิสัญญาฯ ให้แก่ประเทศไทย ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ; การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญา ฯ ใช้เวลาประมาณ ๖ ปี และ “คณะทูตพิเศษ”ของไทยในการเจรจา ประกอบด้วยที่ปรึกษาที่มีอำนาจเต็มชาวอเมริกัน คือ ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ จาก รัชกาลที่ ๖ ให้เป็น “พระยากัลยาณไมตรี”
       
       (๒) การปฎิรูปกฎหมาย
       
       ประเทศไทยเสร็จสิ้น “การจัดทำประมวลกฎหมาย” ใน ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ (ค.ศ. ๑๙๓๕) คือ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นเวลา ๓ ปี ; ซึ่งเป็นเวลา หลังประเทศญี่ปุ่น (ค.ศ. ๑๘๙๑) เป็นเวลา ๔๔ ปี [ หมายเหตุ ทั้งนี้ โดยยังไม่พิจารณาถึง “คุณภาพ” ของประมวลกฎหมาย ฯลฯ ของเรา ]
       
       พ.ศ. ๒๔๕๑ เรามี ประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย คือ “กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗” (พ.ศ. ๒๔๕๑ – ค.ศ. ๑๙๐๘) เป็นปีที่ ๔๑ ของรัชกาลที่ ๕ ก่อนเสด็จสวรรคต ๑ ปี และเป็นเวลา หลังประเทศญี่ปุ่น ( ค.ศ. ๑๘๘๐) เป็นเวลา ๒๘ ปี [หมายเหตุ ปัจจุบัน เรามาใช้ “ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๐๐” แทน]
       
       พ.ศ. ๒๔๗๘ (ค.ศ. ๑๙๓๕) เรามี “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” ครบ ๕ บรรพ เมือ่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง( พ.ศ. ๒๔๗๕) ๓ ปี ; หลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นมี ประมวลกฎหมายแพ่ง และ ประมวลกฎหมายพาณิชย์ (ค.ศ. ๑๘๙๑) เป็นเวลา ๔๔ ปี
       
       เราได้เริ่มร่าง “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” ในปลายรัชกาล ที่ ๕ คือ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๕๑ (ปีที่ ๔๑ ร.๕ ซึ่ งเป็นปีก่อนที่พระองค์ท่านจะเสด็จสวรรคต ๑ ปี) ; บรรพ ๑ และ บรรพ ๒ ประกาศใช้บังคับครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ในรัชกาล ที่ ๖ (ปีที่ ๑๔ ของรัชกาลที่ ๖) โดยขะให้มีผลใช้บังคับในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ แต่ปรากฎว่า ประมวลกฎหมายฉบับนี้ ผู้พิพากษาและผู้ใช้กฎหมายอ่านแล้วไม่เข้าใจ และมีข้อบกพร่องมากมาย จึงได้ยกเลิกและประกาศใช้ บรรพ ๑ และ บรรพ ๒ ที่ได้ตรวจชำระใหม่แทน ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ( เป็นปีที่ ๑๖ หรือปิสุดท้ายของรัชกาล ที่ ๖) โดย(ร่างใหม่ ได้ปรับปรุงและลอกเลียนแบบ จากประมวลแพ่งของญี่ปุ่น ที่ ถือตามแนวของประมวลกฎหมายแพ่งของเยอรมันนี) ; บรรพ ๓ และบรรพ ๔ ประกาศใช้บังคับในรัชกาล ที่ ๗ คือ บรรพ ๓ ประกาศใช้บังคับ ในปี พ.ศ.๒๔๗๒ (เป็นปีที่ ๕ ของรัชกาลที่ ๗) และ บรรพ ๔ ประกาศใช้บังคับ ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ (เป็นปีที่ ๘ ของรัชกาลที่ ๗ ) ; ส่วน บรรพ ๕ และ บรรพ ๖ ประกาศใช้บังคับ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ( พ.ศ. ๒๔๗๕) ๓ ปี คือประกาศใช้ ในปี พ.ศ.๒๔๗๘ เพราะรัฐบาลมีเงื่อนไขจะต้องทำประมวลกฎหมายให้เสร็จ ตามที่กำหนดไว้ใน “สนธืสั ญญากับประเทศมหาอำนาจที่ยอมยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ให้ไทย ; รวมเวลาทั้งหมด .นการยกร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเวลาประมาณ เกือบ ๓๐ ปี
       
       พ.ศ. ๒๔๗๘ (ค.ศ. ๑๙๓๕) เราก็มี ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา / ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง / พระธรรมนูญศาลยุติธรรม หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง(พ.ศ. ๒๔๗๕) เป็นเวลา ๓ ปี ; คือ หลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นมีกฎหมายของเขาครบถ้วน ( ค.ศ. ๑๘๙๑) เป็นเวลา ๔๔ ปี
       
       [ หมายเหตุ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เรามี กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณา ที่ใช้ไปพลางก่อนชั่วคราว คือ กฎหมายลักษณะพยาน ร.ศ. ๑๑๓ (พ.ศ. ๒๔๓๗) / พรบ. วิธีพิจารณาความมีโทษ ใช้ไปพลางก่อน ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๔๐ ) / พรบ. วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) และได้มีการตั้ง “คณะกรรมการ” เพื่อจัดทำกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความให้สมบูรณ์ในรูปของประมวลกฎหมาย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๓ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของรัชกาลที่ ๕ และเพิ่งมาสำเร็จเรียบร้อย ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ห่างกัน ๒๕ ปี ]
       
       (๓) การมีรัฐธรรมนูญ
       
       พ.ศ. ๒๔๗๕ - ค.ศ. ๑๙๓๒ ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก ( ปีที่ ๘ ของรัชกาล ที่ ๗ ) ; คือ เป็นเวลาหลังจากที่พระเจ้ามัตสุฮิโต พระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้คนญี่ปุ่น (ค.ศ. ๑๘๘๙) ๔๓ ปี
       
       สรุปสั้น ๆ ง่าย ๆ ก็คือ เมื่อสิ่นสุดรัชกาลที่ ๕ “การปฏิรูปการเมือง” ของประเทศไทย ยังไม่เสร็จสิ้น ; แต่ “การปฏิรูปการเมือง” ของ พระเจ้ามัตสุฮิโตะ ได้เสร็จสิ้นลงก่อนสิ้นสุดรัชกาล ทั้งนี้ โดยยังไม่พูดถึงว่า เมื่อประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้ว อะไรเกิดขึ้นกับประเทศไทยและคนไทย
       
       [หมายเหตุ และการปฏิรูปการเมือง ของเรา ก็ยังไม่เสร็จสิ้นแม้ในปัจจุบันนี้ ค.ศ. ๒๐๑๓ (หรือ พ.ศ. ๒๕๕๖)
       
       -------------------------------------------------------------------------
       
       ขณะนี้ ท่านผู้ฟังการบรรยาย ได้ทราบ “เหตุการณ์” ที่เป็นข้อเท็จจริง ในทางประวัติศาสตร์ ที่เกิดขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ของเรา และ ในสมัยจักรพรรคิ มัตสุฮิโต ของญี่ปุ่น แล้ว
       
       สิ่งที่คนไทยควรจะต้อง “คิด” ก็คือ
       
       ● ประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นในอดีต ต่างก็ประสบกับ ปัญหา การขยายอาณานิคม – colonialism ของประเทศมหาอำนาจตวันตก คล้ายคลึงกัน
       
       ● กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ ต่างก็มีพระชนม์มายุใกล้เคียงกัน : คือ จักรพรรดิ์ญี่ปุ่น ( ค.ศ. ๑๘๕๒ ถึง ค.ศ. ๑๙๑๒ ) และรัชกาลที่ ๕ ของเรา (ค.ศ. ๑๘๕๓ ถึง ค.ศ. ๑๙๑๑ )
       
       ● กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ ต่างขึ้นครองราชย์ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน : จักรพรรดิ์ญี่ปุ่นขึ้นครองราชย์ เมื่อมีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๕๒ ถึง ค.ศ. ๑๙๒๒ รวมเวลา ๔๔ ปี ; และรัชกาลที่ ๕ ของเราขึ้นครองราชย์ เมื่อมีพระชนมายุ ๑๕ พรรษาเช่นเดียวกัน ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๕๓ ถึง ค.ศ. ๑๙๒๑ รวมเวลา ๔๒ ปี
       
       ●กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ ทรงพระราชอัจฉริยะ ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
       
       ปัญหาที่น่าศึกษา ของนักวิชาการไทย ก็คือ แม้ว่า กษัตริย์ (และจักาพรรอิ) ของทั้ง ๒ ประเทศ จะรักษาเอกราชไของประเทศไว้ได้ แต่ เพราะเหตุใด “ผลของการบริหารประเทศ” ของกษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ จึงแตกต่างกันอย่างมากมาย
       
       “อะไร” คือ สาเหตุของความแตกต่างนี้
       
       เราจะไปพิจารณา ดู “สาเหตุของความแตกต่าง” นี้ ใน “ตอนที่ ๓ ข้อ ๓.๒ (ข) “ ซี่งเป็นการเปรียบเทียบ “ความรู้ (กฎหมายมหาชน)“ ระหว่าง ความรู้ของ “อาจารย์กฎหมายในคณะนิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยของรัฐ ของไทย ณ ปัจจุบัน (ค.ศ. ๒๐๑๓) “ กับ ความรู้ของ ผู้ที่ของร่างรัฐูรรมนูญของประเทศญี่ปุ่น ในขณะที่พระเจ้ามัตสุอิโตพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกให้คนญี่ปุ่น ใน ปี ค.ศ. ๑๘๘๙ ซึ่งห่างกัน ๑๒๓ ปี (เท่านั้น )
       
       ======================================
       
       ส่วนที่ ๒
       การเปรียบเทียบ “ ผลสำเร็จ” ของ
       “การปฎิรูปการเมือง ของรัชกาลที่ ๕” กับ “การปฏิรูปการเมือง ของ พระเจ้ามัตสุฮิโต”
       
       ดูเหมือนว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงเริ่มต้นใน “การปฏิรูปประเทศไทย” ไว้ จะยังไม่เสร็จสิ้นเมื่อพระองค์ท่านสวรรคต ; โปรดลองพิจารณา ดูใน “ประเด็นสำคัญ” (เฉพาะที่เกี่ยวกับการพัฒนากฎหมาย) ใน ๓ ประเด็น เทียบกับประเทศญี่ปุน ดังต่อไปนี้
       
       (๑) การยกเลิก “สนธิสัญญาสภาพนอกอาณาเขต” กับประเทศมหาอำนาจตวันตก
       พ.ศ. ๒๔๖๘ (ค.ศ. ๑๙๒๖) ประเทศไทย ต้องรอถึง รัชกาลที่ ๖ คือในปี ๑๖ ของรัชกาลที่ ๖ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของรัชกาล ประเทศไทยจึงสามารถเจรจาแก้ไข “สนธิสัญญา” เพื่อล้มเลิก “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ได้ทุกประเทศ ; คือ หลังจากประเทศญี่ปุ่น (ค.ศ. ๑๘๙๙ ) เป็นเวลา ๒๗ ปี โดยประเทศญี่ปุ่นสามารถยกเลิก “สนธิสัญญาสภาพนอกอาณาเขต” กับประเทศมหาอำนาจตวันตก ได้ในปีที่ ๓๓ ของจักรพรรดิมัตสุฮิโต (เมจิ)
       และ เหตุที่ทำให้ประเทศไทยสามารถยกเลิก “สนธิสัญญาสภาพนอกอาณาเขต” ได้ ก็มิได้เป็นเพราะ ความสำเร็จใน “การพัฒนาประเทศ”ของเรา แต่ เป็นเพราะประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับประเทศเยอรมันนี(กลุ่มอักษะ) ในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ และในการประชุมทำสนธิสัญญาสันติภาพ ณ พระราชวังแวร์ซายส์ ที่ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ (เดือนมกราคม) ผู้แทนประเทศไทยได้เรียกร้องขอให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการผูกมัดด้วยสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๘ (รัชกาลที่ ๔) ; และ ผู้แทนของประเทศมหาอำนาจ ที่เป็นบุคคลแรกที่แสดงความเห็นสนับสนุนประเทศไทยในที่ประชุม ก็คือ ประธานาธิบดี Woodrow Wilson ซึ่งกล่าวว่า “สหรัฐอเมริกาจะให้สัญญาใหม่แก่ไทย ...โดยปราศจากราคาค่างวดใด ๆ “ ; และประเทศไทยได้แก้ไขสัญญาสภาพนอกอาณาเขต กับสหรัฐอเมริกา ในอีก ๒ ปีต่อมา คือในปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๓ (ค.ศ. ๑๙๒๑)
       หลังจากนั้น ประเทศไทยจึงประสพความสำเร็จในการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต กับ ประเทศญี่ปุ่น / ฝรั่งเศส / อังกฤษ / เนเธอร์แลนด์ / สเปน / โปรตุเกส / เดนมาร์ก / สวิเดน / เบลเยี่ยม / และประเทศอิตาลี โดยประเทศอิตาลี เป็นประเทศสุดท้ายที่ตกลงแก้ไขสนธิสัญญาฯ ให้แก่ประเทศไทย ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ ; การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญา ฯ ใช้เวลาประมาณ ๖ ปี และ “คณะทูตพิเศษ”ของไทยในการเจรจา ประกอบด้วยที่ปรึกษาที่มีอำนาจเต็มชาวอเมริกัน คือ ดร.ฟรานซิส บี. แซร์ ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ จาก รัชกาลที่ ๖ ให้เป็น “พระยากัลยาณไมตรี”
       
       (๒) การปฎิรูปกฎหมาย
       ประเทศไทยเสร็จสิ้น “การจัดทำประมวลกฎหมาย” ใน ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ (ค.ศ. ๑๙๓๕) คือ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นเวลา ๓ ปี ; ซึ่งเป็นเวลา หลังประเทศญี่ปุ่น (ค.ศ. ๑๘๙๑) เป็นเวลา ๔๔ ปี [ หมายเหตุ ทั้งนี้ โดยยังไม่พิจารณาถึง “คุณภาพ” ของประมวลกฎหมาย ฯลฯ ของเรา ]
       
       พ.ศ. ๒๔๕๑ เรามี ประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย คือ “กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗” (พ.ศ. ๒๔๕๑ – ค.ศ. ๑๙๐๘) เป็นปีที่ ๔๑ ของรัชกาลที่ ๕ ก่อนเสด็จสวรรคต ๑ ปี และเป็นเวลา หลังประเทศญี่ปุ่น ( ค.ศ. ๑๘๘๐) เป็นเวลา ๒๘ ปี [หมายเหตุ ปัจจุบัน เรามาใช้ “ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๐๐” แทน]
       พ.ศ. ๒๔๗๘ (ค.ศ. ๑๙๓๕) เรามี “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” ครบ ๕ บรรพ เมือ่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง( พ.ศ. ๒๔๗๕) ๓ ปี ; หลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นมี ประมวลกฎหมายแพ่ง และ ประมวลกฎหมายพาณิชย์ (ค.ศ. ๑๘๙๑) เป็นเวลา ๔๔ ปี
       
       เราได้เริ่มร่าง “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” ในปลายรัชกาล ที่ ๕ คือ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๕๑ (ปีที่ ๔๑ ร.๕ ซึ่ งเป็นปีก่อนที่พระองค์ท่านจะเสด็จสวรรคต ๑ ปี) ; บรรพ ๑ และ บรรพ ๒ ประกาศใช้บังคับครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ในรัชกาล ที่ ๖ (ปีที่ ๑๔ ของรัชกาลที่ ๖) โดยขะให้มีผลใช้บังคับในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ แต่ปรากฎว่า ประมวลกฎหมายฉบับนี้ ผู้พิพากษาและผู้ใช้กฎหมายอ่านแล้วไม่เข้าใจ และมีข้อบกพร่องมากมาย จึงได้ยกเลิกและประกาศใช้ บรรพ ๑ และ บรรพ ๒ ที่ได้ตรวจชำระใหม่แทน ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ( เป็นปีที่ ๑๖ หรือปิสุดท้ายของรัชกาล ที่ ๖) โดย(ร่างใหม่ ได้ปรับปรุงและลอกเลียนแบบ จากประมวลแพ่งของญี่ปุ่น ที่ ถือตามแนวของประมวลกฎหมายแพ่งของเยอรมันนี) ; บรรพ ๓ และบรรพ ๔ ประกาศใช้บังคับในรัชกาล ที่ ๗ คือ บรรพ ๓ ประกาศใช้บังคับ ในปี พ.ศ.๒๔๗๒ (เป็นปีที่ ๕ ของรัชกาลที่ ๗) และ บรรพ ๔ ประกาศใช้บังคับ ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ (เป็นปีที่ ๘ ของรัชกาลที่ ๗ ) ; ส่วน บรรพ ๕ และ บรรพ ๖ ประกาศใช้บังคับ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ( พ.ศ. ๒๔๗๕) ๓ ปี คือประกาศใช้ ในปี พ.ศ.๒๔๗๘ เพราะรัฐบาลมีเงื่อนไขจะต้องทำประมวลกฎหมายให้เสร็จ ตามที่กำหนดไว้ใน “สนธืสั ญญากับประเทศมหาอำนาจที่ยอมยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ให้ไทย ; รวมเวลาทั้งหมด .นการยกร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเวลาประมาณ เกือบ ๓๐ ปี
       พ.ศ. ๒๔๗๘ (ค.ศ. ๑๙๓๕) เราก็มี ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา / ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง / พระธรรมนูญศาลยุติธรรม หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง(พ.ศ. ๒๔๗๕) เป็นเวลา ๓ ปี ; คือ หลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นมีกฎหมายของเขาครบถ้วน ( ค.ศ. ๑๘๙๑) เป็นเวลา ๔๔ ปี
       
       [ หมายเหตุ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เรามี กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณา ที่ใช้ไปพลางก่อนชั่วคราว คือ กฎหมายลักษณะพยาน ร.ศ. ๑๑๓ (พ.ศ. ๒๔๓๗) / พรบ. วิธีพิจารณาความมีโทษ ใช้ไปพลางก่อน ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๔๐ ) / พรบ. วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) และได้มีการตั้ง “คณะกรรมการ” เพื่อจัดทำกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความให้สมบูรณ์ในรูปของประมวลกฎหมาย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๓ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของรัชกาลที่ ๕ และเพิ่งมาสำเร็จเรียบร้อย ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ห่างกัน ๒๕ ปี ]
       
       (๓) การมีรัฐธรรมนูญ
       พ.ศ. ๒๔๗๕ - ค.ศ. ๑๙๓๒ ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก ( ปีที่ ๘ ของรัชกาล ที่ ๗ ) ; คือ เป็นเวลาหลังจากที่พระเจ้ามัตสุฮิโต พระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้คนญี่ปุ่น (ค.ศ. ๑๘๘๙) ๔๓ ปี
       
       สรุปสั้น ๆ ง่าย ๆ ก็คือ เมื่อสิ่นสุดรัชกาลที่ ๕ “การปฏิรูปการเมือง” ของประเทศไทย ยังไม่เสร็จสิ้น ; แต่ “การปฏิรูปการเมือง” ของ พระเจ้ามัตสุฮิโตะ ได้เสร็จสิ้นลงก่อนสิ้นสุดรัชกาล ทั้งนี้ โดยยังไม่พูดถึงว่า เมื่อประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้ว อะไรเกิดขึ้นกับประเทศไทยและคนไทย
       
       [หมายเหตุ และการปฏิรูปการเมือง ของเรา ก็ยังไม่เสร็จสิ้นแม้ในปัจจุบันนี้ ค.ศ. ๒๐๑๓ (หรือ พ.ศ. ๒๕๕๖)
       
       -------------------------------------------------------------------------------
       
       ขณะนี้ ท่านผู้ฟังการบรรยาย ได้ทราบ “เหตุการณ์” ที่เป็นข้อเท็จจริง ในทางประวัติศาสตร์ ที่เกิดขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ของเรา และ ในสมัยจักรพรรคิ มัตสุฮิโต ของญี่ปุ่น แล้ว
       
       สิ่งที่คนไทยควรจะต้อง “คิด” ก็คือ
       ● ประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นในอดีต ต่างก็ประสบกับ ปัญหา การขยายอาณานิคม – colonialism ของประเทศมหาอำนาจตวันตก คล้ายคลึงกัน
       ● กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ ต่างก็มีพระชนม์มายุใกล้เคียงกัน : คือ จักรพรรดิ์ญี่ปุ่น ( ค.ศ. ๑๘๕๒ ถึง ค.ศ. ๑๙๑๒ ) และรัชกาลที่ ๕ ของเรา (ค.ศ. ๑๘๕๓ ถึง ค.ศ. ๑๙๑๑ )
       ● กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ ต่างขึ้นครองราชย์ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน : จักรพรรดิ์ญี่ปุ่นขึ้นครองราชย์ เมื่อมีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๕๒ ถึง ค.ศ. ๑๙๒๒ รวมเวลา ๔๔ ปี ; และรัชกาลที่ ๕ ของเราขึ้นครองราชย์ เมื่อมีพระชนมายุ ๑๕ พรรษาเช่นเดียวกัน ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๕๓ ถึง ค.ศ. ๑๙๒๑ รวมเวลา ๔๒ ปี
       ●กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ ทรงพระราชอัจฉริยะ ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
       
       ปัญหาที่น่าศึกษา ของนักวิชาการไทย ก็คือ แม้ว่า กษัตริย์ (และจักาพรรอิ) ของทั้ง ๒ ประเทศ จะรักษาเอกราชไของประเทศไว้ได้ แต่ เพราะเหตุใด “ผลของการบริหารประเทศ” ของกษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ จึงแตกต่างกันอย่างมากมาย
       “อะไร” คือ สาเหตุของความแตกต่างนี้
       
       เราจะไปพิจารณา ดู “สาเหตุของความแตกต่าง” นี้ ใน “ตอนที่ ๓ ข้อ ๓.๒ (ข) “ ซี่งเป็นการเปรียบเทียบ “ความรู้ (กฎหมายมหาชน)“ ระหว่าง ความรู้ของ “อาจารย์กฎหมายในคณะนิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยของรัฐ ของไทย ณ ปัจจุบัน (ค.ศ. ๒๐๑๓) “ กับ ความรู้ของ ผู้ที่ของร่างรัฐูรรมนูญของประเทศญี่ปุ่น ในขณะที่พระเจ้ามัตสุอิโตพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกให้คนญี่ปุ่น ใน ปี ค.ศ. ๑๘๘๙ ซึ่งห่างกัน ๑๒๓ ปี (เท่านั้น )
       
       ======================================
        
        อ่านต่อหน้าที่ 2
        อ่านต่อหน้าที่ 3


 
 
หลักความเสมอภาค
องค์กรอิสระ : ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ โดย คุณนพดล เฮงเจริญ
ปัญหาของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในประเทศไทย
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ผลในทางปฏิบัติ เมื่อครบรอบหกปีของการปฏิรูปการเมือง
หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
   
 
 
 
PAYS DE BREST : COOPERER VOLONTAIREMENT AU SERVICE DU TERRITOIRE
La violence internationale : un changement de paradigme
การลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย: มิติด้านกฎหมายและเทคโนโลยี
Tensions dans le cyber espace humanitaire au sujet des logos et des embl?mes
คุณูปการของศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ต่อการพัฒนากฎหมายปกครองและกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง : งานที่ได้ดำเนินการไว้ให้แล้วและงานที่ยังรอการสานต่อ
การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม
ยาแก้โรคคอร์รัปชันยุคใหม่
สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ คืออะไร
มองอินโด มองไทย ในเรื่องการกระจายอำนาจ
การฟ้องปิดปาก
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544