หน้าแรก บทความสาระ
ข้อเสนอสำหรับกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในประเทศไทย [ตอนที่ 2]
รองศาสตราจารย์ ดร. นันทวัฒน์ บรมานันท์
3 มกราคม 2548 17:27 น.
 
หน้าที่แล้ว
1 | 2 | 3 | 4
หน้าถัดไป

       
ตารางเปรียบเทียบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539
กับร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรับฟัง
       ความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. ….

       

       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์
       พ.ศ. 2539
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. ….

       1. หลักการเหตุผล

                   
       เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังความคิดเห็นในปัญหาสำคัญของชาติ ที่มีข้อโต้เถียงหลายฝ่าย สำหรับเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจของรัฐในการดำเนินงานอันมีผลกระทบต่อประชาชน

       1. หลักการเหตุผล

                   
       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
       

       2. นิยาม

                   
       (1) โครงการของรัฐ หมายความว่า การดำเนินงานไม่ว่าในลักษณะใด ๆ ตามนโยบายหรือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือการบริหารราชการในกิจการของรัฐ หรือโครงการที่จะต้องได้รับสัมปทาน การอนุญาต อนุมัติ หรือความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐ

                   
       (2) ผู้มีส่วนได้เสีย หมายความว่า บุคคล กลุ่มบุคคล นิติบุคคล ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินงานตามโครงการของรัฐ
2. นิยาม

                   
       (1) โครงการของรัฐ หมายความว่า การดำเนินงานไม่ว่าในลักษณะใด ๆ ตามนโยบายหรือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือการบริหารราชการ หรือโครงการที่จะต้องได้รับสัมปทาน การอนุญาต อนุมัติ หรือความเห็นชอบจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น

                   
       (2) ผู้มีสิทธิแสดงความคิดเห็น หมายความว่า บุคคล กลุ่มบุคคล นิติบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานตามโครงการของรัฐ หรือผู้สนใจทั่วไป

                   
       (3) ประชาพิจารณ์ หมายความว่า การที่หน่วยงานของรัฐจัดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการของรัฐก่อนการอนุญาต หรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับประชาชน หรือชุมชนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัตินี้
       

       3. องค์ประกอบ ที่มาของคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์

                   
       คณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ ประกอบด้วย

                   
       (1) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
       ประธานกรรมการ

                   
       (2) ปลัดกระทรวงมหาดไทย

                   
       (3) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

                   
       (4) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ
       เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                   
       (5) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี

                   
       (6) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสี่คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยสองคน และผู้ที่ไม่เป็นข้าราชการ สมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกหรือเจ้าหน้าที่หรือที่ปรึกษาพรรคการเมืองสองคน

                   
       (7) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร
       กรรมการและเลขานุการ

       3. องค์ประกอบ ที่มาของคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

                   
       คณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ประกอบด้วย

                   
       (1) นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ

                   
       (2) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

                   
       (3) ปลัดกระทรวงมหาดไทย

                   
       (2) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

                   
       (5) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ
       เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                   
       (6) เลขาธิการคณะรัฐมนตรี

                   
       (7) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินเจ็ดคน
       ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชน (ไม่น้อยกว่าสามคน) และจากผู้ที่มิได้เป็นข้าราชการ สมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกหรือเจ้าหน้าที่หรือที่ปรึกษาของพรรคการเมือง

                   
       (8) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและเลขานุการ
       

       4. อำนาจหน้าที่คณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์

                   
       (1) กำกับดูแลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย

                   
       (2) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการทำประชา
       พิจารณ์

                   
       (3) วินิจฉัยหรือตอบข้อหารือตามที่กำหนดในระเบียบ

                   
       (4) จัดทำรายงานประจำปีสรุปผลการทำประชาพิจารณ์ตามที่ได้รับรายงานจากคณะกรรมการ
       

       4. อำนาจหน้าที่คณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

                   
       (1) ดูแลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้เป็นไปโดยความเรียบร้อย ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติ

                   
       (2) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

                   
       (3) ให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ

                   
       (4) วินิจฉัยหรือตอบข้อหารือเรื่องการรับฟังความเห็นของประชาชน

                   
       ประชาพิจารณ์ พร้อมข้อสังเกตหรือข้อเสนอแนะ เสนอคณะรัฐมนตรีปีละครั้ง

                   
       (5) วินิจฉัยคำร้องขอให้มีการทำประชาพิจารณ์

                   
       (6) วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ ผลการตัดสินการประชาพิจารณ์

                   
       (7) มีหนังสือเรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความคิดเห็น หรือให้ส่งวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณา

                   
       (8) จัดทำรายงานประจำปีสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี

                   
       (9) เรื่องอื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

       5. การจัดทำประชาพิจารณ์

                   
       การจัดทำประชาพิจารณ์จะเกิดขึ้นได้จาก 3 กรณี คือ

                   
       (1) กรณีที่ผู้มีอำนาจซึ่งได้แก่ รัฐมนตรีสำหรับราชการส่วนกลาง ผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสำหรับราชการของกรุงเทพหานคร เห็นว่า การดำเนินงานตามโครงการของรัฐเรื่องใด ซึ่งหน่วยงานของรัฐในสังกัดจัดให้มีขึ้น อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม อาชีพ ความปลอดภัย วิถีชีวิต หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชุมชนหรือสังคม และอาจนำไปสู่ข้อโต้เถียงหลายฝ่าย สมควรรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย หน่วยงานรัฐและบุคคลอื่นเพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจของรัฐ ผู้มีอำนาจข้างต้นสั่งให้มีการทำประชาพิจารณ์ได้

                   
       (2) กรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียเห็นว่า โครงการของรัฐเรื่องใดอาจมีผลกระทบเช่นเดียวกับ (1) ประสงค์จะให้มีการประชาพิจารณ์เกี่ยวกับโครงการ และมีหนังสือไปยังหน่วยงานของรัฐเพื่อสอบถามหรือขอคำชี้แจง หากหน่วยงานของรัฐมิได้ตอบหรือชี้แจงเป็นหนังสือภายใน 30 วัน หรือตอบชี้แจงแล้วแต่ผู้มีส่วนได้เสียยังไม่พอใจ ผู้มีส่วนได้เสียสามารถยื่นคำร้องเป็นหนังสือ

                   
       (3) กรณีที่หน่วยงานรัฐพิจารณาเห็นว่าการจัดประชาพิจารณ์จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานตามโครงการรัฐจึงเสนอความเห็นต่อผู้มีอำนาจ เมื่อผู้มีอำนาจเห็นสมควรอาจสั่งให้มีประชาพิจารณ์ก็ได้

                   
       การจัดประชาพิจารณ์อาจให้มีขึ้นในระหว่างขั้นตอนใดก็ได้ก่อนที่รัฐจะตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการ โดยต้องไม่กระทบกระเทือนต่อการที่หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการอื่นไปพลางเท่าที่จำเป็น

       5. การจัดทำประชาพิจารณ์

                   
       การจัดทำประชาพิจารณ์จะเกิดขึ้นได้จาก 3 กรณี คือ

                   
       (1) กรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าการดำเนินงานตามโครงการของรัฐเรื่องใดมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับประชาชนหรือชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐอาจจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ในโครงการของรัฐนั้นได้ก่อนที่หน่วยงานของรัฐจะมีคำสั่งทางปกครองให้มีการดำเนินงานตามโครงการของรัฐในเรื่องนั้น ๆ แต่หากหน่วยงานของรัฐเห็นว่าโครงการใดไม่จำเป็นต้องจัดทำประชาพิจารณ์ หน่วยงานของรัฐต้องประกาศให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบโครงการของรัฐนั้น ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุแนวนโยบายของรัฐ สภาพปัญหา ผลกระทบเล็งเห็น การเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น ก่อนที่หน่วยงานของรัฐจะมีคำสั่งทางปกครองไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน

                   
       (2) กรณีที่ผู้มีสิทธิแสดงความคิดเห็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันคน เข้าชื่อร้องขอต่อหน่วยงานของรัฐ ก่อนที่หน่วยงานของรัฐจะมีคำสั่งทางปกครองไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวัน หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ในโครงการของรัฐนั้นต่อผู้มีอำนาจข้างต้น เพื่อขอให้มีการทำประชาพิจารณ์ได้

                   
       เมื่อผู้มีอำนาจได้รับคำร้องอาจสั่งให้มีประชาพิจารณ์ก็ได้ ทั้งนี้คำสั่งที่ดังกล่าวถือเป็นที่สุด และให้แจ้งผู้มีส่วนได้เสียโดยเร็ว

                   
       (3) กรณีผู้มีสิทธิแสดงความคิดเห็นยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ เพื่อวินิจฉัยก่อนที่หน่วยงานของรัฐจะมีคำสั่งทางปกครองไม่น้อยกว่าหกสิบวัน เมื่อคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ แจ้งมติให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการดำเนินการตามมติของคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ มติของคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ เป็นที่สุด

                   
       อนึ่ง การดำเนินการข้างต้นไม่ใช้บังคับต่อกรณีที่ต้องเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือหากล่าช้าจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ

       6. คณะกรรมการประชาพิจารณ์

                   
       คณะกรรมการประชาพิจารณ์ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสามคน ประธานกรรมการและกรรมการต้องไม่มีส่วนได้เสียกับโครงการของรัฐในเรื่องนั้น กรรมการอย่างน้อยหนึ่งในสามให้ตั้งจากผู้ที่มิได้เป็นข้าราชการ สมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น

       6. คณะกรรมการประชาพิจารณ์

                   
       คณะกรรมการประชาพิจารณ์ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอีกไม่น้อยกว่าหกคนแต่ไม่เกินสิบคน ในจำนวนนี้อย่างน้อยสามคนต้องไม่เป็นบุคคลากรของหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการนั้น

       
       7. อำนาจหน้าที่คณะกรรมการประชาพิจารณ์


                   
       (1) กำหนดสถานที่ และเวลาในการทำประชาพิจารณ์

                   
       (2) ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ

                   
       (3) จัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ตามสถานที่
       และเวลาที่ได้กำหนดไว้

                   
       (4) ทำรายงานประชาพิจารณ์เสนอต่อผู้สั่งให้
       มีการประชาพิจารณ์

       
       7. อำนาจหน้าที่คณะกรรมการประชาพิจารณ์


                   
       (1) จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้เป็นไปโดยเรียบร้อย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการที่ปรึกษาฯ กำหนด

                   
       (2) ทำรายงานการประชาพิจารณ์เสนอต่อหน่วยงานของรัฐที่จัดให้มีการประชาพิจารณ์

       8. การดำเนินการประชาพิจารณ์

                   
       (1) ต้องกระทำโดยเปิดเผย

                   
       (2) ประกาศให้ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้แทนหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนผู้ชำนาญการลงทะเบียนภายในเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ในกรณีจำเป็น ให้แต่งตั้งที่ปรึกษาได้

                   
       (3) นัดวันประชุมครั้งแรกโดยแจ้งบรรดาผู้ลงทะเบียนทราบ

                   
       (4) ในวันประชุมครั้งแรกให้กำหนดประเด็นประชาพิจารณ์และปิดประกาศประเด็นดังกล่าว พร้อมทั้งเวลาที่จะประชุมครั้งต่อ ๆ ไปให้ประชาชนทราบ

                   
       (5) ให้ผู้แทนหน่วยงานของรัฐแถลงข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับโครงการของรัฐก่อนแล้วจึงให้ผู้ชำนาญการหรือที่ปรึกษาแถลงต่อด้วยผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อเสร็จสิ้นแล้วคณะกรรมการประชาพิจารณ์จะ
       กำหนดให้ฝ่ายใดแถลงชี้แจงหรือซักถามก่อนหลังก็ได้ และจะเปิดให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นด้วยก็ได้

                   
       (6) หลักเกณฑ์และวิธีการรับฟัง การประชุมปรึกษา การลงมติ และการทำรายงานนอกเหนือจากที่กำหนดในระเบียบให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการที่ปรึกษากำหนด

       8. การดำเนินการประชาพิจารณ์

                   
       (1) ต้องกระทำโดยเปิดเผย

                   
       (2) แจ้งรายละเอียดของโครงการ กำหนดสถานที่และเวลาให้ผู้มีสิทธิแสดงความคิดเห็นหรือผู้แทนทราบไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนถึงวันทำประชาพิจารณ์ โดยติดประกาศไว้ที่หน่วย
       งานของรัฐเจ้าของโครงการนั้น

                   
       (3) ขั้นตอนในการทำประชาพิจารณ์ ให้ผู้แทนหน่วยงานของรัฐแถลงข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับโครงการของรัฐก่อน แล้วจึงให้ผู้ชำนาญการหรือที่ปรึกษาแถลง ต่อจากนั้นจึงให้ผู้มีสิทธิแสดงความคิดเห็นแถลง เมื่อเสร็จสิ้นแล้วคณะกรรมการประชาพิจารณ์จะกำหนดให้ฝ่ายใดแถลงชี้แจงหรือซักถามก่อนหลังก็ได้ รวมทั้งอาจเรียกให้ฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสอง
       ฝ่ายเสนอพยานบุคคล พยานวัตถุ พยานเอกสารเพิ่มเติมก็ได้

       9. ผลการประชาพิจารณ์

                   
       ผลที่ได้จากการทำประชาพิจารณ์ย่อมใช้เป็นแนวทางหรือข้อมูลประกอบการตัดสินใจของรัฐ มิใช่การตัดสินเด็ดขาดที่จะต้องดำเนินการตามนั้น
ฝ่ายเสนอพยานบุคคล พยานวัตถุ พยานเอกสารเพิ่มเติมก็ได้

       9. ผลการประชาพิจารณ์

                   
       ผลที่ได้จากการทำประชาพิจารณ์ ย่อมใช้เป็นแนวทางหรือข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงานตามโครงการของรัฐ

                   
       ในกรณีเห็นสมควร ผู้สั่งทำการประชาพิจารณ์จะเปิดเผยรายงานของคณะกรรมการให้ประชาชนทราบก็ได้

                   
       ให้หน่วยงานของรัฐประกาศผลการตัดสินใจพร้อมด้วยเหตุผล โดยเปิดเผยไว้ที่หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการ และส่งรายงานให้คณะกรรมการที่ปรึกษาทราบด้วย
            
       10. การอุทธรณ์ผลการตัดสินของหน่วยงานของรัฐ

                   
       ผู้มีสิทธิแสดงความคิดเห็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งพันคนอาจเข้าชื่อยื่นอุทธรณ์ผลการตัดสินของหน่วยงานของรัฐต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ ภายในสิบห้าวัน นับแต่หน่วยงานของรัฐประกาศผลการ
       ตัดสินเพื่อให้คณะกรรมการที่ปรึกษาฯ ดำเนินการ
        พิจารณาอุทธรณ์ให้เสร็จโดยเร็ว และอาจมีมติให้หน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของโครงการชะลอการออกคำสั่งทางปกครองไว้ก่อน มติของคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ ที่ออกมาให้เป็นที่สุด
            
       11. บทเฉพาะกาล

                   
       ให้พระราชบัญญัติว่าด้วยการผังเมือง พ.ศ. 2518 ในส่วนที่เกี่ยวกับการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมือง ยังคงใช้บังคับต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัตินี้


       
       



       
       ลงเผยแพร่ครั้งแรกใน Public Law Net วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2546


       



หน้าที่แล้ว
1 | 2 | 3 | 4
หน้าถัดไป

 
 
หลักความเสมอภาค
องค์กรอิสระ : ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ โดย คุณนพดล เฮงเจริญ
ปัญหาของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในประเทศไทย
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ผลในทางปฏิบัติ เมื่อครบรอบหกปีของการปฏิรูปการเมือง
หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
   
 
 
 
PAYS DE BREST : COOPERER VOLONTAIREMENT AU SERVICE DU TERRITOIRE
La violence internationale : un changement de paradigme
การลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย: มิติด้านกฎหมายและเทคโนโลยี
Tensions dans le cyber espace humanitaire au sujet des logos et des embl?mes
คุณูปการของศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ต่อการพัฒนากฎหมายปกครองและกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง : งานที่ได้ดำเนินการไว้ให้แล้วและงานที่ยังรอการสานต่อ
การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม
ยาแก้โรคคอร์รัปชันยุคใหม่
สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ คืออะไร
มองอินโด มองไทย ในเรื่องการกระจายอำนาจ
การฟ้องปิดปาก
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544