หน้าแรก เวทีทรรศนะ
ความหมายของการกระทำทางปกครอง
รองศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
28 ธันวาคม 2547 14:37 น.
 
            
       การกระทำทางปกครอง หมายถึง การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือองค์กรของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมาย เช่น การที่ผู้บังคับบัญชาออกคำสั่งแต่งตั้งบุคคล หรือการออกใบอนุญาตให้บุคคลก่อสร้างอาคารเป็นต้น

                   
       การกระทำทางปกครองอาจแยกได้เป็นสองลักษณะคือ นิติกรรมทางปกครอง และปฎิบัติการทางปกครอง

                   
       นิติกรรมทางปกครอง ได้แก่การกระทำทางปกครองที่เป็นนิติกรรมทางปกครองฝ่ายเดียว เช่น การออกกฎ หรือการออกคำสั่ง นิติกรรมทางปกครองสามารถแยกได้เป็นสองประเภทอีกเช่นกัน คือ นิติกรรมทางปกครองที่มีผลเป็นการทั่วไป เช่น บรรดากฎ ระเบียบต่างๆ และนิติกรรมทางปกครองที่มีผลเป็นการเฉพาะตัว เช่น คำสั่งต่างๆเป็นต้น

                   
       ปฏิบัติการทางปกครอง ได้แก่ การกระทำของฝ่ายปกครองที่มิใช่เป็นการออกกฎ ออก คำสั่ง เช่น การเข้ารื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นต้น ปฏิบัติการทางปกครองมักจะเป็นการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของนิติกรรมทางปกครองที่ได้ออกใช้ไปก่อนหน้านี้แล้ว เช่น ฝ่ายปกครองออกคำสั่งให้เจ้าของอาคารฝ่าฝืนกฎหมายรื้อถอนอาคารนั้น หากเจ้าของอาคารไม่รื้อถอน ฝ่ายปกครองก็จะเข้าไปรื้อถอน

                   
       รายละเอียดในเรื่องดังกล่าวมีอยู่มากเกินกว่าจะอธิบาย ณ ที่นี้ได้ หากสนใจที่จะหาความรู้เพิ่มเติม กรุณาอ่านในหนังสือ "คำอธิบายกฎหมายปกครอง" โดย ดร. ชาญชัย แสวงศักดิ์ สำนักพิมพ์วิญญูชนครับ
       




 
 
คุณสมบัติของตุลาการศาลปกครอง
ความหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ความหมายของ "ตุลาการ" และ "ผู้พิพากษา"
สิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ
ความหมายของประโยชน์สาธารณะ
   
 
 
 
รัฐธรรมนูญมาตรา 268 (ผลผูกพันของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเอง)
ความแตกต่างระหว่างองค์กรชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลของไทยและฝรั่งเศส
การอายัดเงินประกันค่าก่อสร้าง
การไปเรียนกฎหมายมหาชนที่ประเทศฝรั่งเศส
"สภารัฐธรรมนูญ" ของประเทศฝรั่งเศส
การมีคำสั่งทางปกครองโดยมีเงื่อนไข
ปัญหาในการตอบข้อสอบวิชากฎหมายมหาชน
สิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ
คำแนะนำในการศึกษากฎหมายมหาชน
คำสั่งทางปกครองกับมาตรการภายใน
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544