หน้าแรก เวทีทรรศนะ
การมีคำสั่งทางปกครองโดยมีเงื่อนไข
คุณ สิริพร มณีภัณฑ์ สำนักงานศาลปกครอง
30 ธันวาคม 2547 11:05 น.
 
1. เงื่อนไขตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ถือเป็นเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญของคำสั่งทางปกครอง ดังนั้น หากเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองประสงค์ที่จะกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวไว้ในคำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวไว้ในคำสั่งทางปกครองในขณะที่มีคำสั่งทางปกครอง
       2. จากเหตุผลในข้อ 1. ปรากฏชัดเจนว่า การกำหนดเงื่อนไขตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ต้องกำหนดและระบุเงื่อนไขดังกล่าวไว้ในคำสั่งทางปกครองในขณะที่มีคำสั่งทางปกครอง ดังนั้น จึงไม่อาจกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวในภายหลังจากที่มีคำสั่งทางปกครองขึ้นมาแล้วได้ การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองในเรื่องหนึ่งเรื่องใดจะกระทำได้ก็แต่โดยการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 เท่านั้น
       หากเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองได้กำหนดเงื่อนไขตามมาตรา 39 แห่งพระราช- บัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ในภายหลังจากที่มีคำสั่งทางปกครองขึ้นมาแล้ว กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าคำสั่งทางปกครองที่มีการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวเป็นคำสั่งใหม่แทนคำสั่งทางปกครองเดิมที่ได้ออกโดยไม่มีการกำหนดเงื่อนไขในครั้งแรก


 
 
ความหมายของการกระทำทางปกครอง
คุณสมบัติของตุลาการศาลปกครอง
ความหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ความหมายของ "ตุลาการ" และ "ผู้พิพากษา"
สิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ
   
 
 
 
รัฐธรรมนูญมาตรา 268 (ผลผูกพันของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเอง)
ความแตกต่างระหว่างองค์กรชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลของไทยและฝรั่งเศส
การอายัดเงินประกันค่าก่อสร้าง
การไปเรียนกฎหมายมหาชนที่ประเทศฝรั่งเศส
"สภารัฐธรรมนูญ" ของประเทศฝรั่งเศส
ปัญหาในการตอบข้อสอบวิชากฎหมายมหาชน
สิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ
คำแนะนำในการศึกษากฎหมายมหาชน
คำสั่งทางปกครองกับมาตรการภายใน
เสรีภาพทางศาสนาในประเทศฝรั่งเศส
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544