หน้าแรก เวทีทรรศนะ
ความหมายของ "ตุลาการ" และ "ผู้พิพากษา"
นายกล้า สมุทวณิช เจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ 5 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
30 ธันวาคม 2547 10:20 น.
 
คำว่า “ตุลาการ” มีสองความหมายใหญ่ๆ คือ “ตุลาการ” ที่มีความหมายอย่างกว้าง หมายถึงบุคคลผู้ใช้อำนาจตุลาการในการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลทั้งหมด ดังที่ปรากฏในประมวลกฎหมายอาญา จะใช้ถ้อยคำเรียก “เจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ” แทนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อำนาจตุลาการทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งผู้พิพากษา และตุลาการ
       คำว่า “ผู้พิพากษา” นั้นจะใช้กับผู้พิพากษาศาลยุติธรรมเท่านั้น ส่วนของศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญจะใช้คำว่า “ตุลาการ” ซึ่งตุลาการในที่นี้เป็นความหมายอย่างแคบ คือหมายถึง "ผู้พิพากษา" ของสองศาลนี้เท่านั้น
       กฎหมายที่รับรองอำนาจของตุลาการศาลปกครองและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นอกจากรัฐธรรมนูญแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 หมวด 2 ทั้งหมวด โดยเฉพาะมาตรา 34 มาตรา 34 ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ตุลาการศาลปกครองเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการตามประมวลกฎหมายอาญา ส่วนของศาลรัฐธรรมนูญนั้นเนื่องจากไม่มีกฎหมายก่อตั้ง จึงถือตามรัฐธรรมนูญมาตรา 259 วรรค 3 ที่กำหนดให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมตามกฎหมาย
       อนึ่ง ทั้งผู้พิพากษาและตุลาการนั้น จะพิจารณาพิพากษาคดีภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์เหมือนกัน


 
 
ความหมายของการกระทำทางปกครอง
คุณสมบัติของตุลาการศาลปกครอง
ความหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
สิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ
ความหมายของประโยชน์สาธารณะ
   
 
 
 
รัฐธรรมนูญมาตรา 268 (ผลผูกพันของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเอง)
ความแตกต่างระหว่างองค์กรชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลของไทยและฝรั่งเศส
การอายัดเงินประกันค่าก่อสร้าง
การไปเรียนกฎหมายมหาชนที่ประเทศฝรั่งเศส
"สภารัฐธรรมนูญ" ของประเทศฝรั่งเศส
การมีคำสั่งทางปกครองโดยมีเงื่อนไข
ปัญหาในการตอบข้อสอบวิชากฎหมายมหาชน
สิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ
คำแนะนำในการศึกษากฎหมายมหาชน
คำสั่งทางปกครองกับมาตรการภายใน
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544