หน้าแรก บทความสาระ
สภาพวิชาการทางกฎหมายของประเทศไทย : สาเหตุแห่งความล้มเหลวของการปฏิรูปการเมือง ครั้งที่ ๒ (หน้า๖)
ศ. ดร. อมร จันทรสมบูรณ์
4 สิงหาคม 2550 14:32 น.
 
แนวทางที่ (๑) การขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ คณะกรรมาธิการกล่าวว่า “รัฐธรรมนูญจะต้องไม่ใช่รัฐธรรมนูญของคนเพียงหยิบมือเดียว คือ นักการเมืองเท่านั้น แต่รัฐธรรมนูญต้องเป็นรัฐธรรมนูญของประชาชน รัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีพื้นที่ รัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้” และคณะกรรมาธิการยกร่าง ฯได้แยกรายการในแนวทางที่ (๑)นี้ เป็น ๕ หัวข้อ คือ
       
       (๑.๑) เพิ่ม (จำนวน) สิทธิและเสรีภาพให้มากกว่าเดิม โดยมีสิทธิและเสรีภาพที่เพิ่มขึ้น ๑๔ รายการ (ฉบับแรก มี ๑๒ รายการ) ดังนี้
       - สิทธิและเสรีภาพตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ให้มีผลผูกพันเช่นดียวกันสิทธิและเสรีภาพตาม รธน.(ม.๘๒)
       - คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ม. ๓๕)
       - สิทธิในกระบวนการยุติธรรม (เด็ก เยาวชน สัตรี คนพิการ) (ม.๔๐) และสิทธิของประชาชนในการฟ้องคาลรัฐธรรมนูญด้วยตัวเอง (ม.๒๑๒)
       - สิทธิด้านแรงงาน เมื่อพ้นภาวะการทำงาน (ม. ๔๔)
       - สิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชน(ห้ามแทรกแซงสื่อมวลชนในการเสนอข่าว (ม ๔๕ และ ม.๔๖) ; ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการสื่อสารมวลชน (ม. ๔๘)
       - สิทธิในการศึกษา (นอกจากการศึกษาฟรี ๑๒ ปี) เพิ่มสิทธิของผู้ยากไร้หรือผู้พิการ ฯลฯ ให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกัน ฯลฯ (ม.๔๙)
       - สิทธิเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว ในการได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา (ม. ๕๒ ว. หนึ่ง และ ว.สอง)
       - สิทธิของผู้ที่ไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอ ในการได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ (ม. ๕๕)
       - สิทธิของชุมชนในการรวมตัวกันเป็นชุมชนโดยไม่จำเป็นต้องเป็นการรวมตัวกันเป็นเวลานาน (ม. ๖๖ ) ; กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในโครงการที่มีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ม. ๖๗ ว.
       สอง) ; สิทธิฟ้องคดีของชุมชน ต่อหน่วยงานของรัฐให้ปฏิบัติหน้าที่รับรองสิทธิของชุมชน (ม.๖๗ ว.สาม)
       - สิทธิของประชาชนในการขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ม.๖๒ ว.หนึ่ง) และสิทธิเข้าถึงรายละเอียดของร่าง พรบ.ในรัฐสภา (ม.๑๔๒ ว.หก)
       - กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนทำสนธิสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ ; สิทธิของประชาชนในการเข้าถึงรายละเอียดของสนธิสัญญาฯหลังการลงนามแล้ว และสิทธิการได้รับการแก้ไขหรือ
       เยียวยาของผู้ได้รับผลกระทบจากสนธิสัญญา (ม. ๑๙๐ ว.สอง ถึง ว.สี่ )
       - สิทธิของประชาชน( ๕๐,๐๐๐คน) ในการขอแก้รัฐธรรมนูญ (ม.๒๘๒ (๑)) [ฉบับแรก หนึ่งแสนคน]
       
- สิทธิของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เสรีภาพในการรวมกลุ่ม (มาตรา ๖๔) [ฉบับแรก ไม่มี]
       - สิทธิสตรี มากขึ้น ชายหญิงมีความเท่าเทียมกัน (ม. ๓๐) มีความเสมอภาค (ม. ๘๐(๑)) การทำบัญชีรายชื่อ
       ส.ส. แบบสัดส่วน (ม. ๙๗ (๒)) [ฉบับแรก ไม่มี]
       

       (๑.๒) การใช้สิทธิและเสรีภาพ ทำง่ายกว่าเดิม มี ๔ รายการ คือ
       - แบ่งหมวดหมู่ของสิทธิและเสรีภาพให้ชัดเจนเพื่อให้อ่านง่าย โดยแบ่งเป็นส่วน ๆ เช่น สิทธิและเสรีภาพส่วน
       บุคคล (ม. ๓๒ -๓๘), สิทธิในกระบวนการยุติธรรม (ม. ๓๙ – ๔๐) ฯลฯ
       - ให้สิทธิประชาชนในการร้องขอต่อศาลเพื่อใช้สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ได้ทันที โดยไม่ต้องรอการตรากฎหมายลูก (ม. ๒๘ ว.สอง)
       - ให้รัฐส่งเสริม ฯ ประชาชนในการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ (ม. ๒๘ ว.สาม)
       - สิทธิประชาชนในการเสนอร่างกฎหมาย จำนวน ๑๐๐๐๐ คน (จากเดิม ๕หมื่นคน) และคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายฯต้องมี “ผู้แทนประชาชน” ๑ ใน ๓ (ม. ๑๖๓ ว.หนึ่ง และ ว.สี่) และสิทธิถอดถอนผู้
       ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จำนวน ๒๐๐๐๐ คน (จากเดิม ๕หมื่นคน) (ม. ๑๖๔) [ฉบับแรก กำหนดลดลงเหลือ ๒๐๐๐๐ คน ทั้งสองกรณี]
       

       (๑.๓) การใช้สิทธิและเสรีภาพ ให้มีมาตรการคุ้มครองชัดเจน มี ๖ รายการ (ฉบับแรก มี ๕ รายการ)
       - ตัดคำว่า “ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญติ” ออกจากท้ายบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในหลายมา
       เพื่อให้สิทธิและเสรีภาพเกิดขึ้นทันทีตามรัฐธรรมนูญไม่ใช่ตามกฎหมาย
       - การตรากฎหมาย กำหนดระยะเวลาการตรากฎหมายลูกเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ ต้องกระทำภายในเวลากำหนด ส่วนใหญ่ประมาณหนึ่งปี (ม. ๓๐๓)
       - สิทธิของประชาชนในการฟ้องศาลได้โดยตรง ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ (ม.
       ๒๑๒)
       - สิทธิของชุมชนในการฟ้องศาล ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิของชุมชน(ม. ๖๗ ว.สาม)
       - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อำนาจฟ้องศาลต่อศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง ในกรณีที่มีการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และฟ้องแทนประชาชนในกรณีละเมิดสิทธิมนุษย์ชน (ม. ๒๕๗ (๒)(๓)และ
       (๔))
       - อำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน ตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยไม่ต้องมีการร้องเรียน (ม. ๒๔๔ ว.สอง) [ฉบับแรก ไม่มี]
       

       (๑.๔) แนวนโยบายของรัฐ กำหนดให้ชัดเจนและผูกพันรัฐ มากกว่าเดิม มี ๔ รายการ (ฉบับแรก มี ๓ รายการ )
       คือ
       - แยกหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐให้ครอบคลุมทุกด้าน เช่น ด้านความมั่นคง ด้านศาสนา สังคม ด้านกฎหมายและการยุติธรรม ฯลฯ
       - กำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่สำคัญเพิ่มขึ้น เช่น คุณธรรมและจริบธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฯ (ม. ๗๘(๔)) ; ให้มีการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (ม. ๘๑ (๓)(๔)) ; ส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ม. ¬๘๓) ; ระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้มีความเป็นธรรม (ม.๘๔ (๓)) ; คุ้มครองประโยชน์ของ
       เกษตรกร (ม.๘๔(๘)) ; ระมัดระวังมิให้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานตกอยู่ในความผูกขาดของเอกชน (ม.๘๔ (๑๐)) ฯลฯ
       - จัดตั้งองค์การของรัฐ สภาพัฒนาการเมือง (ม.๗๘(๗); กองทุนพัฒนาการเมือง (ม.๘๗(๔)) ; องค์การเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (ม. ๘๑(๔)) ; สภาเกษตรกร (ม.๘๔ (๘)) ; องค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย (ม. ๘๑ (๓)) ทั้งนี้ ต้องทำภายใน ๑ ปีของรัฐบาลใหม่ (ม. ๓๐๓) [ฉบับแรก ไม่มี]
       
- นโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และต้องระบุให้ชัดเจนว่า
       จะดำเนินการใด ในระยะเวลาใด ฯ และต้องทำรายงานต่อรัฐสภาปีละ ๑ ครั้ง (ม.๗๕ และ ม. ๗๖)
       
       (๑.๕) การปกครองท้องถิ่น ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริงานท้องถิ่นเพิ่มขึ้น มี ๔ รายการ คือ
       - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระอย่างเต็มที่ในทุกด้าน (ม.๒๘๑ ว.หนึ่ง) ให้มีการตรากฎหมายรายได้ท้องถิ่น (ม. ๒๘๓ ว.สี่) มีโครงสร้างที่คล่องตัว (ม.๒๘๔ ว.เก้า) [ฉบับแรก ไม่มีข้อความ ที่พิมพ์ด้วยตัวดำ]
       - บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสถานะเป็นข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนระดับประเทศ; มีคณะกรรมการข้าราชการฯที่อิสระจากส่วนกลาง และมีคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมระดับท้องถิ่น; สามารถโอนย้ายระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ (ม. ๒๘๘)
       - ประชามติในระดับท้องถิ่น (ม.๒๘๗ ว. หนึ่ง และ ว.สอง) ; สิทฺธิของประชาชนในระดับท้องถิ่นในการถอดถอนนักการเมืองท้องถิ่น และเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น ลดจำนวนลง (ม. ๒๘๕ และ ม.๒๘๖) ; องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำรายงานการดำเนินการในรอบปีเสนอต่อประชาชน (ม.๒๘๗ ว.สาม)
       - ระบบกำกับดูแลองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีมาตรฐานกลางฯ รวมทั้งให้มีกลไกตรวจสอบโดยประชาชน(ม. ๒๘๒ ว.สอง)
       
       แนวทางที่ (๒) การลดการผูกขาด”อำนาจรัฐ” และขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม คณะกรรมาธิการยกร่าง ฯ กล่าวว่า “รธน.๒๕๔๐ มุ่งเน้นให้มีรัฐบาลที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพต้องไม่ใช่การผูกขาดอำนาจแต่เพียงผู้เดียว จนนำไปสู่การใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม จำเป็นอย่างยิ่งที่ร่าง รธน.ฉบับใหม่จะต้องลดการผูกขาดอำนาจและสร้างดุลยภาพของอำนาจในทางการเมืองขึ้นมา” โดยมีมาตรการ แยกเป็น ๕ หัวข้อ ดังนี้
       
       (๒.๑) ประชาชน : เสริมสร้างอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนเป็น “ผู้เล่น” มิใช่ “ผู้ดู”ทางการเมืองอีกต่อไป ตามที่กล่าวมาแล้วใน แนวทางที (๑) มี ๓ รายการ เช่น
       - ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกด้าน เช่น การดำเนินงานต่าง ๆ ของภาครัฐ (ม. ๕๘ ม. ๑๖๓ ว.
       ห้า และ ม.๑๙๐ ว.สาม) ; การทำสนธิสัญญา (ม.๑๙๐) , การลงประชามติที่มีผลผูกพันการตัดสินใจ
       ของรัฐบาล (ม.๑๖๕) และการแก้ใขรัฐธรรมนูญ (ม.๒๙๑ ว.หนึ่ง)
       - สิทธิของประชาชนและสิทธิของชุมชนในการฟ้องรัฐ (ม.๒๑๒ และ ม.๖๗ ว.สาม)
       - สิทธิของประชาชน ในการเสนอกฎหมายและในการเข้าชื่อถอดถอนนักการเมือง ทำได้ง่ายขึ้นด้วยการลดจำนวนลง ทั้งในระดับประเทศและในระดับท้องถิ่น (ม. ๑๖๓ และ ม. ๑๖๔ ม.๒๗๑ ม. ๒๘๕ และ ม.๒๘๖)
       
       (๒.๒) รัฐบาล : จำกัด “ การผูกขาดและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐบาล” มี ๗ รายการ
       
       - นายกรัฐมนตรีอยู่ได้ไม่เกิน ๒ สมัย – ๘ ปี (ม.๑๗๑ ว.สาม)
       - การตรากฎหมาย (พระราชกำหนด) ตราได้เฉพาะกรณีฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วน และถูกตรวจสอบโดย
       รัฐสภา (ม. ๑๘๔)
       - การตรากฎหมาย (ของรัฐบาล)ว่าด้วย การเงินการคลังและการงบประมาณ (เป็นหมวดใหม่ ม. ๑๖๖ ถึง ๑๗๐) ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ฯ และรายจ่ายงบกลางต้องมีจำนวนจำกัด (ม. ๑๖๗ ว.หนี่งและ ว.สอง)
       - การตรากฎหมาย ให้รัฐสภา ศาลและองค์การอิสระ แปรญัตติต่อกรรมาธิการของสภาได้โดยตรง (ม.๑๖๘ ว.เก้า) ; ให้ “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ”เสนอแก้ไขกฎหมายของตนไปยังรัฐสภาได้ (ม.๑๔๒ (๓))
       - องค์กรอัยการ เป็นอิสระจากรัฐบาล (ม. ๒๕๕)
       - รัฐบาลรักษาการ กำหนดขอบเขตภาระหน้าที่มิให้แทรกแซงฝ่ายประจำ และมิให้ใช้กลไกของรัฐไปสนับสนุนพรรคการเมืองและผู้สมัคร(มาตรา ๑๘๑)
       - พรรคการเมือง ห้ามควบรวมกันในระหว่างอายุของสภา เพื่อป้องกันเสียงข้างมากที่ผิดปรกติ (มาตรา ๑๐๔ ว.สอง )
       
       (๒.๓) สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการยกร่างฯกล่าวว่า “ เพื่อให้คนดีมีความสามารถ เป็น ส.ส. และเป็นอิสระจากการครอบงำของพรรคการเมือง เพื่อทำหน้าที่ผู้แทนประชาชนได้อย่างเต็มที่” มี ๓ รายการ :
       - ส.ส.เขต ให้มีเขตเลือกตั้งที่ใหญ่ขึ้น (เพื่อให้คนดี สามารถแข่งขันกับคนที่ใช้เงินได้) ; ส.ส.แบบสัดส่วน (เดิมเรียกชื่อว่า “ส.ส.บัญชีรายชื่อ”) ให้แบ่งเป็นกลุ่มจังหวัด ๘ กลุ่ม(๘ เขตเลือกตั้ง) เพื่อมิให้กระจุกตัวแต่ในส่วนกลาง (ม. ๙๖ (๑)) และยกเลิกข้อ จำกัด ๕% เพื่อให้พรรคเล็กได้มีที่นั่งในสภา [ฉบับแรก แบ่งเป็น
       ๔ กลุ่มจังหวัด]
       - ส.ส. ( / พรรรคการเมือง) มีอิสระจากพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการลงมติในการอภิปรายไม่ใว้วางใจ (ม. ๑๖๒ ว. สอง)
       - ส.ส. ( / พรรคการเมือง) เสนอร่างกฎหมายโดยไม่ต้องขออนูญาตจากพรรคการเมือง (ม. ๑๔๒ (๒))
       
       (๒.๔) วุฒิสภา ( / พรรคการเมือง) (มีรายการเดียว) : - ส.ว. มีคุณสมบัติสูงขึ้นและห่างไกลจากการเมืองมากขึ้น แบ่งเป็น ๒ประเภท จำนวน ๑๕๐ คน คือ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง (๗๖คน จังหวัดละหนึ่งคน) และ ส.ว.มาจากการสรรหา (๗๔ คน) (ม. ๑๑๑) ; ส.ว.สรรหา มาจากกลุ่มวิชาชีพ (ภาควิชาการ/ภาครัฐ/ภาคเอกชน/ภาควิชาชีพ/ภาคอื่น) โดยมีคณะกรรมการสรรหา (ม. ๑๑๓ และ ม.๑๑๔) [ฉบับแรก ส.ว. มีจำนวน ๑๖๐ คน มาจากการสรรหาทั้งหมด จากกลุ่มภาควิชาชีพ โดยมีคณะกรรมการสรรหา คณะกรรมาธิการยกร่างฯ กล่าวว่า “ เพื่อให้ปลอดจากอิทธิพลของพรรคการเมืองอย่างแท้จริง” ]
       

       (๒.๕) ข้าราชการประจำ (มีรายการเดียว) : ห้าม ส.ส. และ ส.ว. แทรกแซงข้าราชการประจำ ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งการบรรจุ แต่งตั้ง โอน ย้าย เลื่อนตำแหน่ง ฯลฯ (ม. ๒๖๖)
       
       แนวทางที่ (๓) ให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม คณะกรรมาธิการยกร่างฯ กล่าวว่า
       ตาม รธน. ๒๕๔๐ นักการเมืองจำนวนมากไม่ตระหนักในสิ่งเหล่านี้ อาศัยศรีธนญชัยทางการเมืองหลบเลี่ยงกฎหมาย สร้างผลประโยชน์ทับซ้อน รำรวยบนความทุกข์ยากของชาติบ้านเมืองและประชาชน มาตรการที่จะนำประเทศไทยไปสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงในทางเนื้อหา มิใช่ประชาธิปไตยในทางรูปแบบ จึงได้แก่บทบัญญัติต่าง ๆ ที่แยกเป็น ๕ หัวข้อ ดังต่อไปนี้
       
       (๓.๑) มาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ มี ๓ รายการ (เดิมมี ๒ รายการ)
       - จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องมีมาตรฐานที่ชัดเจน มีกลไก ระบบและขั้นตอนการลงโทษ (ม. ๒๗๙)
       - การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เมื่อฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมที่ร้ายแรง (มาตรา ๒๘๐)
       - อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กำกับดูแลจริยธรรม (ม. ๒๕๐(๕)) [ฉบับแรก ไม่มี]
       

       (๓.๒) ประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง มี ๒ รายการ
       - ห้าม ส.ส. และ ส.ว. : ดำรงตำแหน่งหน้าที่ในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ / รับ หรือแทรกแซงการเข้ารับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ ฯลฯ / เข้าเป็นคุ่สัญญาที่มีลักษณะผูกขาดตัดตอนกับรัฐ หน่วยราชการ ฯลฯ / เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหริอบริษัทที่รับสัมปทานหรือเป็น
       คู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว / ห้ามรับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ ฯลฯ เป็นพิเศษ นอกเหนือจากธุรกิจการงานตามปกติ / เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ดำเนินกิจการสื่อสารมวลชน (ม. ๒๖๕)
       - ห้ามนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี คู่สมรส และบุตรทียังไม่บรรลุนิติภาวะ เป็นหรือคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญติ เว้นแต่จะแจ้งให้ประธาน ป.ป.ช. ทราบและโอนหุ้นให้นิติบุคคลฯเป็นผู้จัดการทรัพย์สิน / รวมทั้งห้ามมิให้นายกรัฐมนตรี และ รมต. กระทำการอันมีลักษณะเป็นการบริหารจัดการหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าว (ม. ๒๖๙)
       
       (๓.๓) การแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (มีรายการเดียว) ให้ขยายไปถึงการแสดง
       ทรัพย์สินที่อยู่ในความดูแลของบุคคลอื่น(นอกจากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คู่สมรส และบุตรทียังไม่
       บรรลุนิติภาวะ) (ม.๒๕๙) / ให้ ส.ส. และ ส.ว.ต้องเปิดเผยการแสดงทรัพย์สินฯ ต่อสาธารณะ เช่นเดียวกับ
       รัฐมนตรี (ม. ๒๖๑)
       
       (๓.๔) การพ้นจากตำแหน่ง ของ ส.ส./ ส.ว./ นายกรํฐมนตรี / และ รมต.ในกรณีที่มีคำพิพากษา มี ๒ รายการ
       - ส.ส. และ ส.ว. พ้นจากตำแหน่งเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดต้องจำคุกแม้รอการลงโทษ เว้นความผิดโดย
       ประมาทหรือลหุโทษ ( ม. ๑๐๖(๑๑) และ ม. ๑๑๙ (๘))
       - นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่งเมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีไม่ถึงที่สุดหรือมีการรอการลงโทษ เว้นความผิดโดยประมาทหรือลหุโทษหรือหมิ่นประมาท (ม. ๑๘๒ (๓))
       
       (๓.๕) ประโยชน์ทับซ้อน ห้ามประธานสภา /รองประธานสภา / นายกรัฐมนตรี / และ รมต.ดำเนินการ มี ๒ รายการ
       - ประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานฯ ( / พรรคการเมือง) ห้ามดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารและตำแหน่งใดในพรรคการเมือง (ม.๑๒๔ ว.ห้า)
       - นายกรัฐมนตรี และ รมต. ห้ามออกเสียงลงคะแนน(ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร)ที่เกี่ยวกับ การดำรง
       ตำแหน่ง / การปฏิบัติหน้าที่ /หรือการมีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น (ม. ๑๗๗ ว.ท้าย )
       
       แนวทางที่ (๔) องค์กรตรวจสอบ มีความอิสระ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมาธิการยกร่างฯ กล่าวว่า องค์กรตรวจสอบและองค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ ถูกแทรกแซงและล้มเหลวในการทำงาน ระบบการตรวจสอบทั้งระบบ ควรปรับปรุง โดยแยกเป็น ๓ หัวข้อ ดังนี้
       
       (๔.๑) การสรรหาบุคคลในองค์การตรวจสอบ ปรับปรุงระบบพื่อให้ได้คนที่มีความเป็นอิสระ (มีรายการเดียว) “คณะบุคคลสรรหาองค์กรอิสระ” ได้แก่ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร รวม ๕ ท่าน
       
       (๔.๒) องค์กรตรวจสอบ ปรับปรุงอำนาจหน้าที่และระบบ มี ๑๐ รายการ (ฉบับแรกมี ๙ รายการ)
       - ศาลรัฐธรรมนูญ อำนาจรับฟ้องจากประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ (ม. ๒๑๒)
       - ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อำนาจพิจารณาคดีนักการเมืองไม่แสดงทรัพย์สิน ฯ
       หรือแสดงเป็นเท็จ( ม. ๒๖๓)
       - ป.ป.ช. ให้ดูแลเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการประจำระดับสูง ( ม. ๒๕๐)
       - ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยกเรื่องที่เป็นความเสียหายต่อประชาชนส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะขึ้นพิจารณาได้เองโดยไม่ต้องมีการร้องเรียน (ม.๒๔๔ ว.ท้าย) ; อำนาจดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่างทางการเมือง / จนท.ของรัฐ (ม. ๒๔๔(๒)) และอำนาจประเมินผลเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและ เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ม. ๒๔๔ (๓)) [ฉบับแรก ไม่มีข้อความที่พิมพ์ด้วยอักษรตัวดำ]
       - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำนาจฟ้องศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองได้ ในกรณีกฎหมาย กฎ ฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และมีอำนาจฟ้องแทนประชาชนในกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชน(ม. ๒๕๗ (๒) และ (๓))
       - สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อำนาจให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมาย ฯ (ม . ๒๕๘)
       - องค์กรอิสระ รัฐสภา และ ศาล สิทธิแปรญัตติงบประมาณกับกรรมาธิการของสภาโดยตรง(ม ๑๖๘ ว.ท้าย.
       - สิทธิของ ส.ส. ในการเปิดอภิปราย เปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรี โดยใช้เสียงเพียง ๑/๕ (ม. ๑๕๘ ว.หนึ่ง) ; เปิดอภิปรายรัฐมนตรีรายบุคคล ใช้เสียง ๑/๖ (ม. ๑๕๙ วรรคหนึ่ง) ; และเปิดอภิปราย รมต.ที่ย้ายตำแหน่งไป แล้วได้ (ม.๑๕๙ ว.สอง ว.สาม) ; และนายกรัฐมนตรีและ รมต. ต้องมาตอบกระทู้ถามหรือ ชี้แจงกับสภาด้วยตนเอง (ม. ๑๖๒) [ ฉบับแรก การเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตรี ใช้เสียง ๑/๔ และการเปิดอภิปรายรัฐมนตรี ใช้เสียง ๑/๕ ]
       
- องค์กรอัยการ เป็นอิสระจากรัฐบาล (ม.๒๕๕)
       - ผู้ไต่สวนอิสระ ให้ “ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา”มีอำนาจแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระเพื่อช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ของ “คาลฎีการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”ได้ (มาตรา ๒๗๖) [ ฉบับแรกไม่มี]
       

       (๔.๓) ระบบการตรวจสอบการทำงาน ขององค์กรอิสระ มี ๓ รายการ
       - ก.ก.ต. ใบเหลือง-ใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้งอุทธรณ์ต่อศาลได้ โดยการเลือกตั้ระดับประเทศ อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา และการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ (มาตรา ๒๓๙)
       - ศาลปกครอง มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบ กฎ คำสั่ง ฯลฯ ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ได้ (ม. ๒๓๓)
       - ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีอำนาจตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ยกเว้นการพจารณาพิพากษาของศาล (ม. ๒๔๔(๑)(ค))
       
       [หมายเหตุ :- เป็นที่สังเกตว่า บทบัญญัติของ(ร่าง)รัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับ “องค์กรแก้วิกฤติแห่งชาติ”ซึ่งอยู่ใน(ร่าง)มาตรา ๖๘ วรรคสอง (ฉบับรับฟังความคิดเห็น)ของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ นั้น คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ไม่ได้มีการกล่าวถึงและมีการอธิบายไว้ใน คำชี้แจง สาระสำคัญฯ (ของคณะกรรมาธิการยกร่างฯเอง)แต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่ ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่เป็น“สาระสำคัญ”เรื่องหนึ่งที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ เพิ่มเติมเข้ามาและปรากฏอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ; ประเด็นนี้เปนประเด็นที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากวงการภายนอกอย่างมาก ซึ่งต่อมา(เดือน พฤษภาคม)เข้าใจว่า กรรมาธิการบางท่านได้ยอมรับที่จะตัดออกจากร่างรัฐธรรมนูญ ; วรรคสองของ(ร่าง)มาตรา ๖๘ มีบทบัญญัติ ดังนี้ “ในกรณีที่ประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤติ เหตุการณ์คับขัน หรือเกิดสถานการณ์จำเป็นอย่างยิ่ง ในทางการเมือง ให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างนายำรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่านค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาหาทางป้องกันหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว” ]
       
       อ่านต่อ
       
       หน้า 7
       หน้า 8
       หน้า 9
       หน้า 10
       หน้า 11
       หน้า 12
       หน้า 13
       หน้า 14
       หน้า 15
       หน้า 16
       หน้า 17
       หน้า 18
        หน้า 19
       หน้า 20
       หน้า 21
       หน้า 22
       หน้า 23
        หน้า24
       หน้า 25
        หน้า26
       หน้า 27
        หน้า28
       หน้า 29


 
 
หลักความเสมอภาค
องค์กรอิสระ : ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ โดย คุณนพดล เฮงเจริญ
ปัญหาของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในประเทศไทย
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ผลในทางปฏิบัติ เมื่อครบรอบหกปีของการปฏิรูปการเมือง
หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
   
 
 
 
PAYS DE BREST : COOPERER VOLONTAIREMENT AU SERVICE DU TERRITOIRE
La violence internationale : un changement de paradigme
การลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย: มิติด้านกฎหมายและเทคโนโลยี
Tensions dans le cyber espace humanitaire au sujet des logos et des embl?mes
คุณูปการของศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ต่อการพัฒนากฎหมายปกครองและกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง : งานที่ได้ดำเนินการไว้ให้แล้วและงานที่ยังรอการสานต่อ
การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม
ยาแก้โรคคอร์รัปชันยุคใหม่
สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ คืออะไร
มองอินโด มองไทย ในเรื่องการกระจายอำนาจ
การฟ้องปิดปาก
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544